svasdssvasds

เปิดข้อกฎหมาย "แอม ไซยาไนด์" เคยป่วยจิตเวช แบบนี้ต้องรับโทษหรือไม่?

เปิดข้อกฎหมาย "แอม ไซยาไนด์" เคยป่วยจิตเวช แบบนี้ต้องรับโทษหรือไม่?

จากกรณีผู้ต้องหาวางยาชิงทรัพย์ "แอม ไซยาไนด์" ที่มีการเปิดเผยว่า "ป่วยจิตเวช" เคยรับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อ 5 ปีก่อน ทำสังคมสงสัยแบบนี้จะพ้นผิดจากกฎหมายได้หรือไม่?

เปิดข้อกฎหมาย \"แอม ไซยาไนด์\" เคยป่วยจิตเวช แบบนี้ต้องรับโทษหรือไม่?

27 เม.ย. 66 จากกรณี นางสาวแอม ผู้ต้องหาใช้สารไซยาไนด์ฆาตกรรมเหยื่อจนมีผู้เสียหายเข้าร้อนทุกข์ล่าสุดกว่า 13 ราย ทั้งนี้ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เปิดเเผยประวัติผู้ต้องหาพบว่า เคยเข้ารับการรักษาโรคทางจิตเวช ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเมื่อ 5 ปีก่อน แต่ขาดการรักษาอย่างต่อเนื่องมา 2 ปี เบื้องต้นจะส่งจิตแพทย์มาตรวจดูอาการว่าป่วยอยู่ในขั้นไหน เพื่อทำการรักษาต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

จากกรณี "แอม ไซยาไนด์" เคยป่วยจิตเวชทำเอาสังคมตั้งคำถามว่าแบบนี้จะรอดพ้นนบทลงโทษทางกฎหมายหรือไม่? วันนี้ สปริงนิวส์ ขอเปิดข้อกฎหมายผู้ป่วยจิตเวช อ้างเป็นโรคจิต หรือวิกลจริต ซึ่งทั้งหมดจะเป็นตัวบทกฎหมายที่ศาลใช้พิจารณาคดี รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ต้องหาต่อไป

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 ผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรับผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น เพียงใดก็ได้

 

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหา หรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีสั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำ หรือให้การตรวจได้ผลประการใด ในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถต่อสู้คดีได้ และให้ส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิต หรือผู้อื่นที่เต็มใจไปดูแลรักษาก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร
  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 48 ถ้าศาลเห็นว่า การปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนซึ่งไม่ต้องรับโทษ หรือได้รับการลดโทษตามมาตรา 65 จะไม่เป็นการปลอดภัยแก่ประชาชน ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมไว้ในสถานพยาบาลก็ได้ และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้

       

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246 ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อน จนกว่าเหตุอันควรทุเลาะจะหมดไป หากพบว่าจำเลยวิกลจริต ในระหว่างทุเลาการบังคับอยู่นั้น ให้ศาลสั่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจัดให้บุคคลดังกล่าวอยู่ในสถานที่อันควร

       

  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิต เกิดวิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิตให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อน จนกว่าผู้นั้นจะหาย ขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น ศาลมีอำนาจยกมาตรา 46(2) แห่งกฎหมายลักษณะอาญามาบังคับ ถ้าผู้วิกลจริตนั้นหายภายหลังปีหนึ่ง นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต

 

related