เรือหลวงลำล่าสุด ของกองทัพเรือไทย ที่สั่งต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นั่นก็คือ “เรือหลวงช้าง” เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกลำใหม่ของไทย กับภารกิจปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งและลำเลียง รวมไปถึงสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ
เรือหลวงช้าง หมายเลข 792 เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่กองทัพเรือได้ว่าจ้าง บริษัท Chaina Shipbuilding Trading จำกัด ให้ต่อขึ้น ณ อู่ต่อเรือหูตงจงหัว เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแบบมาจากเรือ LPD Type 071 ที่ประจำการในกองทัพเรือจีน และมีระยะเวลาในการสร้างเรือ ประมาณ 4 ปี โดยผู้บัญชาการทหารเรือ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีรับมอบ เรือหลวงช้าง ณ อู่ ต่อเรือหูตงจงหัว เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2566 เรือหลวงช้างได้ออกเดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 และเดินทางถึงประเทศไทย ในวันที่ 25 เมษายน 2566
เรือหลวงช้าง จัดสร้างขึ้นภายใต้ โครงการจัดหาเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ตามยุทธศาสตร์กองทัพเรือระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579 ซึ่งกำหนดความต้องการเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ไว้ จำนวน 4 ลำ เพื่อทดแทนเรือยกพลขึ้นบกลำเก่า (เรือหลวงช้างลำที่ 2) ใช้ปฏิบัติภารกิจร่วมกับเรือ อากาศนาวี หน่วยกำลังต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง หน่วยกำลังนาวิกโยธิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง
การตั้งชื่อเรือหลวงช้าง
ตามระเบียบของกองทัพเรือ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การตั้งชื่อเรือรบ ตามประเภทของเรือ โดยในส่วนของเรือยกพลขึ้นบก กำหนดให้ตั้งชื่อตามเกาะต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเรือยกพลขึ้นบกลำใหม่นี้ ได้รับพระราชทานชื่อจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า “เรือหลวงช้าง” (เกาะช้าง จ.ตราด)
เรือหลวงช้าง เป็นเรือประเภทอเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่สนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ มีกำลังพลประจำเรือจำนวนทั้งสิ้น 196 นาย ปัจจุบันมี นาวาเอก ธีรสาร คงมั่น เป็นผู้บังคับการเรือ
คุณลักษณะที่สำคัญเรือหลวงช้าง
ทำความเร็วสูงสุดได้ 25 นอต
ภารกิจเรือหลวงช้าง
เมื่อเข้าประจำการในกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการแล้ว เรือหลวงช้าง จะมีภารกิจหลักในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งและลำเลียง อีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ
โดยมี ภารกิจรองในการสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ อาทิ การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย (HADR) การอพยพประชาชน การสนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเลและท่าเรือ เป็นต้น
ปัจจุบันกองทัพเรือ มีจำนวนเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ไม่เพียงพอตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเพิ่มเติม เพื่อให้มีขีดความสามารถเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนด ตั้งแต่ในภาวะปกติโดยมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงอีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ พร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือ กู้ภัยเรือดำน้ำ และการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล และท่าเรือ
ขอบคุณภาพจาก : เรือหลวงช้าง