เปิดสูตรคำนวณค่าไฟฟ้า 2566 ขึ้นค่า FT ล่าสุด เช็กค่าไฟแพงขึ้นจากการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านใช่หรือไม่?
ค่าไฟแพงขึ้น จากการใช้งานของเราใช่ไหมนะ? คำถามยอดฮิตหน้าร้อน 2566 นี้ที่หลายครัวเรือนอยากหาสาเหตุ และหนึ่งในปัจจัยค่าไฟฟ้าขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับ ค่า FT ที่คุณควรรู้จัก และนำไปคิดคำนวณการใช้ไฟฟ้าต่อหน่วยเพื่อวางแผนการใช้งาน ช่วยประหยัดเงินในประเป๋าของคุณ
ข่าวที่น่าสนใจ
ค่า ft คืออะไร
ค่า FT (Fuel Adjustment Cost at the given time) คือ อัตราค่าไฟฟ้าผันแปร จะมีการปรับขึ้น-ลง ทุก 4 เดือน ปีละ 3 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม เดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายน เรทล่าสุด ดังนี้
สรุปคือค่า FT งวด พ.ค. - ส.ค. จะมีการเพิ่มอีก 5 สตางค์ จากค่าเดิมเดือน เมษายน 2566 อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 98.27 สตางค์/หน่วย เท่ากับ 4.72 บาท (เดือน เม.ย. 66) ต่อหน่วย จาก 4.77 บาทต่อหน่วย (เดือน พ.ค. 66) และนี่เป็นอีกสาเหตุนอกจากการใช้งานหน้าร้อนที่มากกว่าปกติที่ทำให้หลายคนรู้สึกว่าค่าไฟแพงขึ้นนั่นเอง
ตาราหน่วยการใช้ตค่าไฟบ้าน
เปิดสูตรคำนวณไฟฟ้า 2566 วิธีคิดค่าไฟเครื่องใช้ไฟฟ้า
หน่วยไฟฟ้า = กำลังไฟวัตต์ หาร 1,000 คูณ ชั่วโมงการใช้งาน (1 kwh = 1 หน่วย)
ค่าไฟฟ้าอัตราตามช่วงเวลาการใช้ (TOU)
สำหรับแรงดัน 12-24 กิโลโวลต์ หากใช้ไฟฟ้าช่วง On Peak จะมีราคาหน่วยละ 5.1135 บาท ส่วนในช่วง Off Peak ราคาหน่วยละ 2.6037 บาท
สำหรับแรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ หากใช้ไฟฟ้าช่วง On Peak จะมีราคาหน่วยละ 5.7982 บาท ส่วนในช่วง Off Peak ราคาหน่วยละ 2.6369 บาท
(หมายเหตุ: On Peak คือ 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ ส่วน Off Peak คือ 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์ และ 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ วันหยุดราชการตามปกติ)
วิธีคำนวณค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย
ยกตัวอย่างวิธีการคิดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัย หากใช้ไฟฟ้า 100 หน่วย สามารถคำนวณ และคิดค่าไฟโดยแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
ส่วนที่1 คิดค่าไฟฟ้าฐาน
- 15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-15) หน่วยละ 2.3488 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 15 x 2.3488 = 35.23 บาท
- 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 16-25) หน่วยละ 2.9882 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 10 x 2.9882 = 29.88 บาท
- 10 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 26-35) หน่วยละ 3.2405 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 10 x 3.2405 = 32.41 บาท
- 65 หน่วยถัดไป (หน่วยที่ 36-100) หน่วยละ 3.6237 บาท แปลว่าขั้นนี้มีค่าไฟอยู่ที่ 65 x 3.6237 = 235.54 บาท
รวมทั้งหมด = 333.06
มีค่าค่าบริการอีก 8.19 บาท
ดังนั้นสรุปว่าค่าไฟฟ้าฐาน (ค่าพลังงานไฟฟ้า+ค่าบริการ) จึงอยู่ที่ 341.25 บาท
ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
ค่าภาษี 7% คิดคำนวณจาก [ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft] x [7/100] = 23.08
จากนั้นนำค่าในส่วนที่2 มาบวกกับค่าภาษี ก็จะได้ค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายจริง คือ 329.65 + 23.08 = 352.73 บาท (*หมายเหตุ: จำนวนนี้ยังไม่รวมส่วนลด 3% จากนโยบายรัฐบาล เป็นราคาประมาณการเท่านั้น) หรือถ้าอยากให้ง่ายกว่านี้ ก็สามารถเข้าไปใช้ระบบคำนวณค่าไฟฟ้าแบบออนไลน์ได้ที่ การคิดค่าไฟฟ้าประเภทต่างๆ การไฟฟ้านครหลวง และ ระบบประมาณการค่าไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
คำนวณค่าไฟฟ้า 2566 ผ่านระบบ MEA >>> Click