อัปเดตสถานการณ์ล่าสุด หลังจากมีการเผยแพร่คลิปการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ที่ข้อมูลขัดแย้งกับรายงานการประชุม โอกาสที่จะได้เป็นายกฯ ของ “พิธา” มีมากน้อยเพียงใด
เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว หลังการเลือกตั้ง แต่ก็ยังคงลุ้นกันต่อไปว่า พรรคที่ได้ ส.ส. จำนวนมากที่สุด อย่าง “พรรคก้าวไกล” จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ ?
ทั้งๆ ที่รวมเสียง ส.ส. ได้เกินครึ่งหนึ่งของสภา ส.ส. แล้ว สามารถเป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพได้ แต่ไฮไลต์สำคัญ ก็ยังอยู่ที่การโหวตเลือกนายกฯ ที่ต้องอาศัยเสียงของทั้ง 2 สภา (ส.ส. + ส.ว.) จะโหวตสนับสนุน “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” ให้ได้เป็นนายกฯ คนที่ 30 หรือไม่ ?
โดยหากเทียบเป็นเกมการต่อสู้ ก็ยังเหลืออีกหลายด่านที่ต้องฟันฝ่า แม้ตอนนี้จะผ่าน 2 ด่านสำคัญได้แล้ว คือ ด่านที่ 1 ชนะเลือกตั้ง ด่านที่ 2 คือ รวมเสียง ส.ส. ได้เกิน 250 เสียง ด่านต่อไปที่ต้องจับตา ก็คือการเลือก “ประธานสภาฯ" ที่ในวันนี้ยังมองไม่ออกว่า ตำแหน่งดังกล่าวจะตกเป็นของพรรคใด
สาเหตุที่ตำแหน่ง “ประธานสภา” มีความสำคัญมากๆ ก็เนื่องจากบทบาทสำคัญในการคุมเกมสภาในวันโหวตเลือกนายกฯ ซึ่งจะเป็นหลักประกันในการได้เป็นรัฐบาลของ “พรรคก้าวไกล” หากมีการหักเหลี่ยมเฉือนคมกัน ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จะดีด “ก้าวไกล” ไปเป็นฝ่ายค้าน
บทความที่น่าสนใจ
ย้อนคดีหุ้นสื่อ ม.151 ของธนาธร สู่คลิปประชุมฯ ไอทีวี พิธามีโอกาสรอดไหม
ย้อนเส้นทาง ITV ยุครุ่งเรือง-เป็นหนี้แสนล้าน หรือจะเป็นเครื่องมือการเมือง
วิโรจน์ จี้ ไอทีวี ชี้แจง กรณีรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ไม่ตรงกับความจริง
ส่วนด่านที่ 4 ก็คือปมหุ้นสื่อไอทีวี แม้หลังจากมีการนำคลิปการประชุม “ผู้ถือหุ้นไอทีวี” มาเผยแพร่ คำตอบของประธานในที่ประชุม ไม่ตรงกับรายงานการประชุม จะทำให้สถานการณ์ของ “พิธา” ดูดีขึ้น เพราะถ้าหากมีการปลอมแปลงเอกสารการประชุมจริง ก็จะทำให้ประชาชนได้เห็นถึงขบวนการสกัดกั้น “พิธา” ที่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนเป็นอย่างยิ่ง
แต่ในการต่อสู้ในด่านนี้ก็ยังต้องลุ้นกันอยู่ เพราะหากไม่มีความชัดเจนว่า “พิธา” จะรอดหรือไม่รอด ความคลุมเครือตรงนี้ก็อาจถูกนำไปใช้เป็นข้ออ้างในสภา ในการโหวตไม่สนับสนุน “พิธา” ให้เป็นนายกฯ
ส่วนด่านที่ 5 อาจจะเป็นทางออก ในกรณีที่ “พิธา” ไม่สามารถฝ่าด่านได้เป็นนายกฯ คนที่ 30 แต่ก็ยังเกาะอยู่ในขบวนร่วมรัฐบาล โดยการสลับให้ “พรรคเพื่อไทย” ขึ้นมาเป็นแกนนำฯ แทน
แต่ก็อาจต้องดึง “พรรคร่วมรัฐบาลเดิม” มาร่วมด้วย ซึ่งถ้าไม่มีการเล่นเกมการเมืองยืดเยื้อ หากได้ “พรรคภูมิใจไทย” เข้ามา ก็จะปิดสวิตช์ ส.ว. ไปโดยปริยาย สามารถตั้ง “รัฐบาลใหม่” ได้เลย โดย “ตำแหน่งนายกฯ เป็นของ “พรรคเพื่อไทย”
แต่ในกรณีที่สมมติว่า เกมการเมืองยืดเยื้อ มีความพยายามจะดีด “พรรคก้าวไกล” ให้ไปเป็นฝ่ายค้าน ก็จะนำไปสู่ด่านที่ 6 และ 7 มีการใช้ปมหุ้นไอทีวี และการแก้ ม.112 มาเป็นข้ออ้าง ในการไม่เข้ามาเติมเสียงให้
หรืออาจมีการดึงบางพรรคที่ “ก้าวไกล” เคยประกาศไม่ร่วมรัฐบาลด้วย เข้ามาแท็กทีม ก็จะเสมือนเป็นการบีบให้ “พรรคก้าวไกล” ต้องถอนตัวออกไปเป็นฝ่ายค้าน
ดังนั้นเส้นทางในการเป็นนายกฯ ของ “พิธา ลิ้มเจริญรัตน์” รวมถึงการเป็นรัฐบาลของ “พรรคก้าวไกล” ในวันนี้ ก็ยังคงต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ยังต้องเหนื่อย ต้องสู้ และยังคงต้องลุ้นกันต่อไป