พาส่องความเห็นนักธุรกิจภาคเอกชน ว่านายกคนใหม่ ควรสเปกแบบไหน ต้องทำงานเร่งด่วนอะไร ? พามาฟังความเห็นของชัยชาญ เจริญสุข ประธานสรท. และดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลท.
แน่นอนว่าต้องนี้ทุกคนกำลังลุ้นแบบใจหายใจคว่ำว่าพรรคการเมืองในฝันของท่านจะชนะการเลือกตั้ง เพราะนั่นหมายความว่าจะได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามาบริหารประเทศ และทิศทางเศรษฐกิจ ปากท้องของประชาชน วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาส่อง 2 ความคิดเห็นจากเอกชน มาเริ่มกันที่ นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ถึงมุมมอง ทิศทางแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และความคาดหวังของภาคเอกชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หลังปิดหีบเลือกตั้ง 66 ตร.จับซื้อเสียง 8 ราย ฉีกบัตรเลือกตั้ง 23 ราย
เลือกตั้ง 2566 "ชัยวุฒิ" ชี้รอผลเลือกตั้ง จะเห็นเค้าลางดีล "จัดตั้งรัฐบาล"
ทั้งนี้ประธานสรท.กล่าวว่าพรรคเดียวต้องได้คะแนนเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หรือที่เรียกว่า Landslide ซึ่งปัจจุบันจากที่แต่ละพรรคการเมืองมีการแสดงวิสัยทัศน์ต่างก็มีจุดเด่นเฉพาะของตัวเองที่เป็นที่สนใจของประชาชน มองว่าการได้คะแนนเบ็ดเสร็จอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก ดังนั้นโอกาสได้พรรคผสมร่วมจัดตั้งรัฐบาลจึงมีความเป็นไปได้มากเนื่องจากพรรคการเมืองมีความโดดเด่นหลายพรรคและมีโอกาสได้ที่นั่งในสภาฯ จาก สส. แต่ละเขตพื้นที่ ประกอบกับนักการเมืองที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีความสามารถสูง ก็เสนอตัวเข้ามาบริหารประเทศอยู่หลายพรรคและมีฐานเสียงคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย
โดยสรุป การได้พรรคผสมจึงมีความเป็นไปได้สูง ซึ่งต้องทำงานเพื่อประโยชน์ประเทศชาติมากกว่าประโยชน์ส่วนตน และบูรณาการระบอบประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมากขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนที่จะครบรอบ 100 ปีประชาธิปไตยในปี2575 สำหรับนายกรัฐมนตรีคนใหม่ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรนั้น นายชัยชาญ กล่าวว่า ผู้นำที่ดีควรมี "3 เก่ง" ในแต่ละด้าน 1.เก่งคิด เป็นนักคิดกลยุทธ์และพัฒนาตลอดเวลา 2.เก่งทำ เมื่อคิดแล้วต้องมีการขับเคลื่อนในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จ และ 3.เก่งคน จะต้องทำงานร่วมกันกับทุกฝ่ายแบบไร้รอยต่อและขจัดความขัดแย้งต่าง ๆ
ต่อมา คือ ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มองว่า เลือกตั้ง นักลงทุนหวังนโยบายรัฐบาลใหม่ ช่วยภาคธุรกิจทำงานคล่องตัว ลดอุปสรรคเพิ่มคล่องตัว หนุนการเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต โดยมองว่า ทิศทางตลาดหุ้นไทยในช่วงการ "เลือกตั้ง 2566" ว่า จากสถิติย้อนหลังที่ผ่านมานักลงทุนมีความคาดหวัง กับพรรคการเมืองที่จะเข้ามาช่วยผลักดันนโยบายต่างๆให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น
โดยรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามานั้นควรมุ่งเน้นนโยบาย การพัฒนา และปรับปรุงข้อกฏหมาย หรือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจ เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวไม่ติดขัด ซึ่งจะทำให้การขยายตัวของภาคธุรกิจปรับตัวดีขึ้นกว่าในอดีต และเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะข้างหน้า
อย่างไรก็ตามมองว่าการเข้าสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งไม่อยากให้นักลงทุนมองประเด็นว่า เป็นผลดีหรือผลเสีย ต่อดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ แต่ควรมองนโยบายของรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามามากกว่าว่า จะมีส่วนผลักดันให้ภาคธุรกิจเติบโตได้ต่อเนื่องอย่างไรในระยะข้างหน้า