svasdssvasds

วิธีคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อสูตรหาร 100 หากใช้คะแนนเลือกตั้ง 62 จะเป็นอย่างไร

วิธีคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อสูตรหาร 100  หากใช้คะแนนเลือกตั้ง 62 จะเป็นอย่างไร

วิธีคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ สูตรหาร 100 : จะเป็นอย่างไรถ้า เอาคะแนนเลือกตั้ง 2562 มาคิดคำนวน พรรคไหนจะได้ ส.ส. เพิ่ม-ลด SPRiNG มีคำตอบ และเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ จะกลับมาใช้สูตรหาร 100 อีกครั้งหนึ่งด้วย

เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในการเลือกตั้ง  2562 นั้น ถือเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย ใช้วิธีการคำนวณส.ส. บัญชีรายชื่อด้วยสูตรหาร 500  คำถามสำคัญคือ  สูตรคำนวณ ส.ส.แบบ หาร 500 คืออะไร?

สูตรคำนวณ ส.ส.แบบ หาร 500 คือ มันคือการย้อนอดีตกลับไปสู่สูตรคำนวณหา ‘ส.ส.พึงมี’ เหมือนตอนเลือกตั้งปี 2562

โดยนำคะแนนดิบเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมดไปหาร 500 แล้วดูว่า แต่ละพรรคควรจะได้ ส.ส.พึงมีกี่คน   แล้วก็นำตัวเลข ส.ส.พึงมีนั้น ไปลบกับ ส.ส.เขตที่ได้ไปแล้ว ส่วนต่างจะถูกแปลงไปเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ   เช่น หากมีผู้มาใช้สิทธิโหวต ส.ส.บัญชีรายชื่อ 38 ล้านคน การจะได้ ส.ส.พึงมี 1 คน จะต้องได้เสียงอย่างน้อย 76,000 เสียง (38,000,000 เสียง หาร 500) สมมุติมีพรรค ก. ได้ 7.6 ล้านเสียง แปลว่าจะต้องได้ ส.ส.พึงมี 100 คน แต่ถ้าพรรคนั้นๆ ชนะเลือกตั้ง ส.ส.เขต ไปแล้ว 80 คน ส่วนต่างคือ 20 คน ก็จะถูกแปลงไปเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ

จุดนี้เอง ทำให้การเลือกตั้ง 2562 แม้ พรรคเพื่อไทย จะได้ ส.ส. แบบแบ่งเขต 136 ที่นั่ง แต่ การหาร 500 นั้น ทำให้เพื่อไทย ไม่ได้ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เลยแม้แต่คนเดียว  และ การมี ส.ส. พึงมี นั้น เอื้อประโยชน์ต่อพรรคเล็กๆ ดังที่ได้เกิดไปใน ปี 2562

วิธีคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ สูตรหาร 100  : จะเป็นอย่างไรถ้า เอาคะแนนเลือกตั้ง 2562 มาคิดคำนวน พรรคไหนจะได้ ส.ส. เพิ่ม-ลด  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง 2566 ครั้งนี้ การเลือก ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ หรือ ส.ส. บัญชีรายชื่อ จะกลับมาใช้ สูตรหาร 100 แล้ว และเป็นการเลือกที่ชัดเจนขึ้น หรือกลับไปสู่สูตรเดิม  

โดยวิธีการคำนวณแบบหาร 100 เอาคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมด มาหารด้วยจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (100 คน)  แล้วถึงคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคตามสัดส่วนคะแนน 


ดังนั้น ข้อเสนอนี้จึงถูกเรียกว่า สูตร ‘หาร 100’ วิธีนี้ทำให้พรรคใหญ่แข็งแกร่ง เพราะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นส่วนเสริมนั่นเอง 

วิธีคำนวณ ส.ส. บัญชีรายชื่อ สูตรหาร 100  : จะเป็นอย่างไรถ้า เอาคะแนนเลือกตั้ง 2562 มาคิดคำนวน พรรคไหนจะได้ ส.ส. เพิ่ม-ลด

• วิธีการคำนวณสัดส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อ แบบ หาร 100 (ที่จะใช้ในการเลือกตั้ง 2566)

อธิบายง่ายๆ สูตรหาร 100 คือ แยกการคำนวณ ส.ส.แบบแบ่งเขต และ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อออกจากกันอย่างชัดเจน โดยให้เอาคะแนนเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองทั้งหมดมาหารด้วยจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ (100 คน) แล้วถึงคำนวณหาจำนวน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองแต่ละพรรคตามสัดส่วนคะแนน ดังนั้น ข้อเสนอนี้จึงถูกเรียกว่า สูตร ‘หาร 100’

โดยวิธีการคำนวณที่นั่ง ส.ส. ตามสูตร 100 มีวิธีการคำนวณอย่างง่าย ดังนี้

1. นำคะแนนเสียงของทุกพรรคการเมืองมาหารจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ (100 คน) เพื่อหา ‘คะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส.หนึ่งคน’

2. นำคะแนนเสียงของแต่ละพรรคการเมืองมาหารด้วยคะแนนเฉลี่ย ต่อ ส.ส.หนึ่งคน เพื่อหา ‘ส.ส.บัญชีรายชื่อ’ ของแต่ละพรรค 


หากลงลึกถึงรายละเอียด  การคำนวณที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ ตามสูตร 100  มีดังนี้ 

1. จำนวนบัตรดีทั้งหมด หาร 100  เท่ากับ คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อหนึ่งคน 

ตัวอย่างเช่น หากนำผลเลือกตั้ง 2562 มาลองคำนวณคิดแบบไวๆ ด้วยสูตรนี้ ผู้มาใช้สิทธิทั้งประเทศคือ 35,561,556 คะแนน จากนั้นหารด้วย 100 ดังนั้น คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อหนึ่งคน จะเท่ากับ 355,561.56 คะแนน

2. คะแนนพรรค หาร คะแนนเฉลี่ยต่อ ส.ส. บัญชีรายชื่อ เท่ากับ จำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองนั้นได้รับ (เฉพาะจำนวนเต็ม) 

ตัวอย่างเช่น  พรรคพลังประชารัฐได้คะแนนบัญชีรายชื่อ 8,441,274 คะแนน นำคะแนนของพรรคไปหาร 355,561.56 ผลคือ พรรคพลังประชารัฐจะได้จำนวน เฉลี่ย 23.7371 ซึ่งเท่ากับว่า ได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อหรือปาร์ตี้ลิสต์ 23 คนแน่นอน

3.  ถ้าจำนวน ส.ส. บัญชีรายชือที่แต่ละพรรคได้รับ รวมกันไม่ครบ 100 คน ให้นำผลลัพธ์ที่เป็นเศษโดยไม่มีจำนวนเต็มของทุกพรรคมาจัดสรรที่นั่ง โดยพรรคที่มีเศษจำนวนมากที่สุด ได้รับจำนวน ส.ส. บัญชีรายชื่ออีก 1 คน เรียงตามลำดับ จนกว่าจะมีครบ 100 คน

ตัวอย่างการคำนวณที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ (หรือปาร์ตี้ลิสต์) จากฐานคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562 
 

พลังประชารัฐ คะแนนรวม 8,441,274  คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 23.7371 นับเฉพาะจำนวนเต็ม พลังประชารัฐ จะได้ 23 ที่นั่ง  , เศษ (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด)  0.7371  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 24 ที่นั่ง


เพื่อไทย คะแนนรวม 7,881,006  คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย  22.1616 นับเฉพาะจำนวนเต็ม เพื่อไทย จะได้ 22 ที่นั่ง  , เศษ (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.1616  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 22 ที่นั่ง


อนาคตใหม่ คะแนนรวม 6,330,617  คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 17.8019 นับเฉพาะจำนวนเต็ม อนาคตใหม่จะได้ 17 ที่นั่ง ,เศษ (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.8019  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 18 ที่นั่ง


ประชาธิปัตย์ คะแนนรวม 3,959,358 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 11.1338 นับเฉพาะจำนวนเต็ม ประชาธิปัตย์จะได้  11 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.1338 รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 11 ที่นั่ง


ภูมิใจไทย คะแนนรวม 3,734,459 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 10.5014 นับเฉพาะจำนวนเต็ม ภูมิใจไทย จะได้  10 ที่นั่ง  (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.5014  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 11 ที่นั่ง


เสรีรวมไทย คะแนนรวม 824,284  คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 2.3179  นับเฉพาะจำนวนเต็ม ภูมิใจไทย จะได้  2 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.3179  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 3 ที่นั่ง


ชาติไทยพัฒนา คะแนนรวม 783,689 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 2.2038 นับเฉพาะจำนวนเต็ม ชาติไทยพัฒนา จะได้  2 ที่นั่ง  (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.2038 รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 2 ที่นั่ง


เศรษฐกิจใหม่ คะแนนรวม 486,273   คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 1.3674 นับเฉพาะจำนวนเต็ม เศรษฐกิจใหม่ จะได้ 1 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.3674  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 2 ที่นั่ง 


ประชาชาติ คะแนนรวม 481,490 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 1.3540 นับเฉพาะจำนวนเต็ม ประชาชาติ จะได้ 1 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.3540  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 2 ที่นั่ง 


เพื่อชาติ คะแนนรวม 421,412 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 1.1850 นับเฉพาะจำนวนเต็ม เพื่อชาติ จะได้ 1 ที่นั่ง  (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.1850  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 1 ที่นั่ง 


รวมพลังประชาชาติไทย คะแนนรวม 415,585 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 1.1686  นับเฉพาะจำนวนเต็ม รวมพลังประชาชาติไทย จะได้ 1 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.1686  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 1 ที่นั่ง 


ชาติพัฒนา คะแนนรวม 244,770 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 0.6883  นับเฉพาะจำนวนเต็ม ชาติพัฒนา จะได้ 0 ที่นั่ง (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.6883  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 1 ที่นั่ง 


พลังท้องถิ่นไทย คะแนนรวม 214,189 คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 0.6023 นับเฉพาะจำนวนเต็ม พลังท้องถิ่นไทย จะได้ 0 ที่นั่ง  (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด) 0.6023  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 1 ที่นั่ง 


รักษ์ผืนป่าประเทศไทย คะแนนรวม 134,816  คะแนนรวม หาร คะแนนเฉลี่ย 0.3791 นับเฉพาะจำนวนเต็ม รักษ์ผืนป่าประเทศไทย จะได้ 0 ที่นั่ง  (ซึ่งจะต้องเลือกจาก 9 อันดับที่มีมากสุด)0.3791  รวม ส.ส. บัญชีรายชื่อ สุดท้ายจะได้ 1 ที่นั่ง  


* พรรคอื่นๆ คะแนนรวม 1,208,334  นับเฉพาะจำนวนเต็ม  0 ที่นั่ง 

* รวมทุกพรรค 35,561,556  นับเฉพาะจำนวนเต็ม จะมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ หรือ บัญชีรายชื่อ 91  ที่นั่ง  
และมารวมกับเศษทศนิยม 9 อันดับที่มีมากที่สุด พรรคละ 1 ที่นั่ง ได้แก่ พลังประชารัฐ,อนาคตใหม่,ภูมิใจไทย,เสรีรวมไทย,เศรษฐกิจใหม่,ประชาชาติ,ชาติพัฒนา,พลังท้องถิ่นไทย และ รักษ์ผืนป่าประเทศไทย  ก็จะได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อเพิ่มมา 9 ที่นั่ง   รวมแล้ว ครบ 100 ที่นั่ง

.

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า โฉมการเมือง หลังจากการเลือกตั้ง 2562 จะเปลี่ยนแปลงไปทันที เพราะจำนวน ส.ส. ของแต่ละพรรคจะเปลี่ยนไป  หาก ณ เวลานั้น ใช้สูตร หาร 100 และนั่นจะทำให้ การจัดตั้งรัฐบาล อาจไม่เหมือนสิ่งที่เป็นมาแน่นอน  ยกตัวอย่างง่ายๆ พรรคเพื่อไทย ที่ได้ ส.ส. แบ่งเขต เดิมมีอยู่แล้ว 136 ที่นั่ง จะได้ ปาร์ตี้ลิสต์มาเพิ่มอีก 22 ที่นั่ง รวมเป็น 158 ที่นั่งทันที  (ซึ่งแต่เดิม เพื่อไทย ไม่ได้ปาร์ตี้ลิสต์เลยแม้แต่ที่เดียว) 

related