ติดตามข่าวสารได้ที่ https://www.springnews.co.th
[KGVID]https://spcdn.springnews.co.th/wp-content/uploads/2017/09/11-แคสสินี.mp4[/KGVID]
วันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา เกิดปรากฏการณ์นอกโลกหลังจากที่องค์การนาซ่าได้ส่งยานแคสสินี-ไฮเกนส์ขึ้นไปสำรวจดาวเสาร์และดวงจันทร์ไททัน ซึ่งรายละเอียดที่ยานแคสสินีส่งมายังโลกจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้จากรายงาน
การทำงานตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีของแคสสินี-ไฮเกนส์ ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่ในความดูแลระหว่างองค์การนาซาและองค์การอวกาศยุโรป (ESA) รวมทั้งรัฐบาลอิตาลี โดยมีมูลค่า 3,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งประสบความสำเร็จในการเป็นยานอวกาศลำแรกของโลกที่เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์ หลังจากใช้เวลาจุดจรวดของยานเป็นเวลานาน 96 นาที
การทำงานของแคสสินี-ไฮเกนส์ เรียกง่ายๆว่ายานแม่และยานลูก ยานแม่อย่างแคสสินีเป็นยานที่สำรวจดาวเสาร์ ส่วนไฮเกนส์เป็นยานลูกจะสำรวจดวงจันทร์ไททัน เหตุที่แคสสินีโคจรอยู่บนระบบสุริยะได้นานเป็นเพราะมีพลังงานนิวเคลียร์ใช้ในการให้กำเนิดกระแสไฟฟ้าเพื่อหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆในยาน ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวเรียกสั้นๆว่า อาร์ทีจี
ด้านนาง ตติยา ใจบุญ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เอกมัยกล่าวว่า จากการสำรวจดาวเสาร์ของแคสสินีได้มีการส่งภาพสวยๆมามากมาย รวมถึงการรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล
ส่วนองค์ประกอบภายในของดาวเสาร์คาดว่า ด้านนอกสุดจะเป็นชั้นบรรยากาศ(atmosphere) ถัดออกมาเป็นไฮเจนเหลวและฮีเรียม(outer layer of liquid hydrogen and helium) ลึกลงมาเป็นโลหะไฮโดเจน(inner layer of liquid metallic hydrogen and helium) ส่วนแกรนกลางคาดว่าน่าจะมีหินหรือน้ำแข็งอยู่ หรืออาจจะไม่มีอะไรอยู่เลยก็ได้(core of rock and ice)
ขณะที่ นายอารี สวัสดี นายกสมาคมดาราศาสตร์ไทย เผยว่า ตนมีความเชื่อว่าที่ใดมีน้ำที่นั้นย่อมมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ และยังมีการค้นพบดาวบริวารของดาวเคราะห์ที่ปรากฎอยู่ในกลุ่มดาวจระเข้
ส่วนสาเหตุที่ต้องให้ยานแคสสินีพุ่งชนดาวเสาร์ นักวิทยาศาสตร์พบว่าดวงจันทร์บริวารบางดวงของดาวเสาร์ มีสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ จึงต้องหาทางกำจัดยานแคสสินีหลังจบภารกิจ เพื่อไม่ให้เกิดสารปนเปื้อน โดยการทำลายยานที่ง่ายที่สุดคือ ให้ยานพุ่งเข้าหาดาวเสาร์ เพื่อให้มอดไหม้ไปในบรรยากาศเหมือนดาวตก