svasdssvasds

ใครผิด-ใครถูก ไทม์ไลน์จับ "ทุเรียนเถื่อน" 8 ตันมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

ใครผิด-ใครถูก ไทม์ไลน์จับ "ทุเรียนเถื่อน" 8 ตันมูลค่ากว่า 1 ล้านบาท

ทุเรียนเถื่อนอลวน กรมศุลกากรเปิดไทม์ไลน์จับทุเรียนลักลอบนำเข้า 8 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านบาทที่จ.สระแก้ว พร้อมตรวจสอบเส้นทางรถยนต์ไม่ได้เข้าพื้นที่ศรีสะเกษ ขณะที่่เจ้าของทุเรียนต้องการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับของกลาง

จากกรณีข่าว เจ้าหน้าที่ศุลกากร ด่านศุลกากรอรัญประเทศจับกุมทุเรียนลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ ต่อมามีข่าวว่าเจ้าของทุเรียนแจ้งว่าทุเรียนที่ถูกจับไม่ใช่ทุเรียนลักลอบนำเข้า แต่เป็นทุเรียนที่มาจาก จ.ศรีษะเกษ นั้น

กรมศุลกากร

นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เวลา 06.00 น. เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายลับว่าจะมีการนำทุเรียนลักลอบนำเข้าจากแนวชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณ ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศจ.สระแก้ว จึงขอให้เจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจค้นจับกุม โดยสายลับจะเป็นผู้นำชี้ให้ทำการตรวจค้นด้วยตนเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

- เวลา 08.00 น. เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งจากสายลับว่ารถบรรทุกที่ขนทุเรียนลักลอบได้ออกจากพื้นที่แนวชายแดนแล้ว มุ่งหน้าไปทางถนนหมายเลข 317 เจ้าหน้าที่จึงลงพื้นที่บริเวณที่สายลับแจ้ง

- เวลาประมาณ 09.45 น. ได้พบรถบรรทุก 6 ล้อ ยี่ห้ออีซูซุ สีขาว หมายเลขทะ เบียน 68-2537 กทม. มีผ้าใบคลุมทับ ตามที่ได้รับแจ้งที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลวังสมบูรณ์ ต.วังสมบูรณ์ อ.วังสมบูรณ์ จ.สระแก้ว เจ้าหน้าที่จึงให้สัญ ญาณหยุดรถเพื่อขอทำการตรวจค้น และได้พบคนขับรถ เจ้าหน้าที่ได้แสดงตนพร้อมแจ้งเหตุแห่งความสงสัยให้ทราบ

- ผลการตรวจค้นพบทุเรียนสดบรรจุอยู่ภายในกระบะบรรทุก เจ้าหน้าที่ได้สอบถามคนขับรถถึงที่มาซึ่งของที่ตรวจพบ และได้รับคำชี้แจงว่าตนเป็นคนขับรถรับจ้าง โดยได้รับการว่าจ้างให้นำรถบรรทุกมารับทุเรียน น้ำหนัก 8,420 กิโลกรัม ที่บริเวณหลังวัดเขาน้อย ต.คลองน้ำใส อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อไปถึงสถานที่ดังกล่าวมีชาวกัมพูชาเป็นผู้ขนถ่ายทุเรียนขึ้นรถให้ ซึ่งผู้ว่าจ้างได้สั่งให้นำทุเรียนไปส่งที่ล้งใน จ.จันทบุรี โดยได้รับจ้าง 6,000 บาท โดยไม่มีเอกสารการผ่านพิธีการศุลกากรมาแสดงเจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาให้คนขับรถทราบ และนำของกลาง ส่งด่านฯ อรัญประเทศ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

- เวลาประมาณ 15.00 น. ในวันเดียวกันเจ้าของสินค้าได้มาพบเจ้าหน้าที่ โดยแสดงตนเป็นเจ้าของทุเรียนที่ตรวจพบ และได้ให้การรับสารภาพว่าตนได้รับซื้อทุเรียนมาจากชาวกัมพูชา โดยทราบว่าเป็นสินค้าที่ไม่ได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เจ้าหน้าที่จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยเจ้าของสินค้าให้การรับสารภาพตลอด ข้อกล่าวหา เจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวเจ้าของสินค้าส่งงานคดี ด่านศุลกากรอรัญประเทศเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

ส่วนประเด็นเรื่องทุเรียนรับซื้อมาจากจังหวัดศรีสะเกษ กรมศุลกากรได้ตรวจสอบเส้นทางของรถยนต์คันดังกล่าวแล้ว พบว่าในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนา ยน 2566 รถยนต์คันดังกล่าวมิได้มีการเดินทางเข้าไปในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษแต่ได้มีการใช้รถอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและสระแก้วเท่านั้น

สำหรับในกรณีทำการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมได้เข้าจับกุมโดยสุภาพ มิได้มีการขู่เข็ญบังคับแต่อย่างใด และเจ้าของสินค้าก็มาแสดงตนยอมรับด้วยตนเอง และได้มีการบันทึกคำให้การโดยสมัครใจตามหลักเกณฑ์ของทางราชการ

ซึ่งภายหลังจากที่เป็นข่าว ผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าของทุเรียนได้ไปลงบันทึกประจำวันไว้ที่ สภอ.คลองลึก โดยมิได้โต้แย้งการจับกุม หรือการสอบปากคำของเจ้าหน้าที่  เพียงแต่ต้องการตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับของกลางเท่านั้น

 

 

 

 

 

กรมศุลกากรยังคงดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อผลผลิตภายในประเทศ และเป็นการป้องกันการสวมสิทธิผลไม้ไทยที่ส่งออกไปต่างประเทศ เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกษตรกรไทยและผู้ประกอบการที่สุจริต ต่อไป 

ฝั่งผู้เสียหาย

ขณะที่เจ้าของล้งทุเรียน ได้ร้องเรียนกับ นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว ว่า ทุเรียนดังกล่าวซื้อมาอย่างถูกต้อง จากเจ้าของสวนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ เพื่อนำมาส่งขายไปยังต่างประเทศ เนื่องจากทุเรียนใน จ.จันทบุรี มีไม่เพียงพอ

น.ส.อภิชญา ทองหล่อ อายุ 42 ปี เดินทางเข้าพบ พ.ต.ต.กิตติพัศ ขจรพงศ์ชัยกุล สารวัตร(สอบสวน)สภ.คลองลึก เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับ เจ้าหน้าที่ศุลกากรอรัญประเทศ รวม 8 คน ในความผิดฐาน" ซื้อหรือรับไว้ด้วยประการใด ซึ่งตนพึงรู้ว่าเป็นของอันเนื่องด้วยความผิดตาม มาตรา 242 อันเป็นความผิดตาม มาตรา 246 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560" ซึ่งได้ถูกตรวจยึดของกลางเป็นทุเรียน จำนวน 8 ตัน รวมมูลค่า 1,178,800 บาท ต่อมาผู้แจ้งยินยอมทำการระงับคดีในชั้นศุลกากร และผู้แจ้งจึงได้ถูกปล่อยตัวในวันเดียวกัน

ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลาประมาณ 15.00 น. ผู้แจ้งกับพวก ได้เดินทางมาที่ด่านศุลกากรอรัญประเทศ เพื่อตรวจสอบของกลางและขอประมูลของกลาง อันคิดคำนวณค่าภาษีตามกฎหมายแล้ว แต่ปรากฎว่า ของกลางดังกล่าวไม่ได้เก็บรักษาไว้ที่ด่านศุลกากรฯ ผู้แจ้งจึงสอบถามเจ้าหน้าที่ซึ่งเกี่ยวข้องว่า ของกลางดังกล่าวได้ดำเนินการอย่างไร แต่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบที่ถูกต้องได้ ผู้แจ้งจึงมาพบพนักงานสอบสวนเพื่อขอลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน และจะไปทำการตรวจสอบความถูกต้องกับด่านศุลกากรอรัญประเทศ โดยหากพบว่าเจ้าหน้าที่ดำเนินการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้แจ้งจะมาแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนต่อไป

นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าของทุเรียนซึ่งยืนยันว่า ซื้อมาจากจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางไปแจ้งความแล้ว และมีเจ้าหน้าที่ศุลกากรนายหนึ่งติดต่อมาถามว่า จะเอาอย่างไร ทางเจ้าของทุเรียนมีความประสงค์ที่จะเอาทุเรียนคืน เมื่อไปดูไม่เจอทุเรียนแล้ว จึงมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพราะทุเรียนไม่มีแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ก็แจ้งว่า งั้นก็สู้กันตามระบบ ซึ่งกรณีดังกล่าว เจ้าหน้าที่บอกว่ามีคลิปแต่ก็ไม่ยอมเอามาเปิดเผย และช่วงเย็นก็พบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มารับทุเรียนไปอีกล็อตหนึ่ง

เจ้าหน้าที่จะอ้างว่า เวลาจับเจ้าหน้าที่ให้เซ็นยกให้ เมื่อไม่มีใครมารับเป็นเจ้าของ ก็ตกเป็นของแผ่นดิน แล้วก็นำไปจำหน่ายจ่ายแจก กรณีเจ้าของประสงค์จะขอซื้อคืนตั้งแต่ตอนเช้า เจ้าหน้าที่คนที่ใส่แว่น ผอม ๆ โย่ง บอกว่าจะเอาไปทำลาย แล้วทำไมเอามาขาย ส่วนพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่เค้าอ้างว่า ของออกมาจากชายแดน ทำไมไม่จับตอนนั้น มีการเอาคนขับรถไปชี้ตรงแนวชายแดน โซนที่มีการลงรถและออกของโชว์ห่วย เจ้าหน้าที่เอาตัวคนขับรถไปชี้หลังวัดในพื้นที่ ต.คลองน้ำใส ด้วย ซึ่งเจ้าของยืนยันว่าเอามาจาก จ.ศรีสะเกษ จริง

related