เชื่อหรือไม่ว่า โลกในยุคหนึ่ง มนุษย์ เราถึงเดินทางไปดวงจันทร์ง่ายกว่าไปก้นมหาสมุทร , เหตุผลของเรื่องนี้ ข้อเท็จจริงนี้ เป็นมาอย่างไร เพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น , SPRiNG ชวนมาหาคำตอบกัน
เปรียบเทียบ สถิติตัวเลข จำนวน คนเหยียบดวงจันทร์ กับจำนวน คนไปก้นมหาสมุทรลึกสุดของโลก เพราะจากประเด็นข่าว 'เรือดำน้ำไททัน' เรือดำน้ำขนาดเล็กสุดหรู พาทัวร์อภิมหาเศรษฐีชมซาก เรือไททานิค สูญหายไป , ทำให้ผู้คนเริ่มกลับมาสนใจ การสำรวจพื้นน้ำใต้โลก ที่ยังมีเครื่องหมายคำถามอีกมากมาย
เหตุการณ์ เรือดำน้ำไททัน ของบริษัท "โอเชียนเกต" (Oceangate) หายไประหว่างการเที่ยวชม ซากเรือไททานิค ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กลายเป็น กระแสที่ทั่วโลกให้ความสนใจและจับตา ทั้งในหลายๆประเด็น ทั้งเรื่องปริศนาการหายไปของเรือดำน้ำไททันลำนี้ , ชะตากรรมของผู้ค นบนเรือ จะเป็นตายร้ายดีอย่างไร ? และภารกิจช่วยชีวิตที่แข่งกับเวลาอยู่ตอนนี้ ลงมีบทสรุปอย่างไร
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ เรือดำน้ำไททัน สูญหาย ไป ...ทำให้หลายคนตั้งคำถามถึง ปริศนาใต้ท้องทะเลลึก ,โดยเรือดำน้ำไททันนั้น มีศักยภาพมากพอที่จะสำรวจ ไททานิค ซึ่งจมอยู่ในแอตแลนติก ใต้ผิวน้ำลงไป ราวๆ 4 กิโลเมตร , บริเวณนอกชายฝั่งรัฐนิวฟันด์แลนด์ ของแคนาดา
แต่ใครหลายคนอาจจะมีคำถามในใจว่า แล้ว จุดใดในโลกกันแน่ ที่ลึกที่สุดในโลก , ก้นเหวลึกในมหาสมุทรของโลก อยู่ที่ใด ?
และ ทราบหรือไม่ว่า จุดน้ำลึกที่สุุดในโลก ณ นั้น ณ ปัจจุบัน มีคนทั้งโลก ลงไปสำรวจได้ ยังไม่ถึง 30 คนเลย จุดนี้ อยู่ที่ไหนบนโลก SPRiNG มีคำตอบมาให้
ณ ปัจจุบัน มนุษย์ในยุคที่มี โทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 และหลายๆคนใน เจเนอเรชั่นนี้ ผู้เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี อินเทอร์เน็ต จีพีเอส แชท GPT และการเดินทางด้วยการคมนาคมอันสะดวกสบาย ง่ายดาย คงมีความรู้สึกว่าโลกของเรานั้นถูกสำรวจจนพรุน ช้ำ และไม่มีความลับใดๆ หลงเหลืออีกแล้ว
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใต้ท้องทะเล ใต้ท้องมหาสมุทรนั้นเต็มไปด้วยความลับ เต็มไปด้วยปริศนา ที่ยังรอให้ มนุษย์ ไปสำรวจอีกมาก เช่นเดียวกับ จุดที่ลึกที่สุดในโลก ที่น้อยคนนัก จะมีโอกาสได้ลงไป
ทราบหรือไม่ว่า บริเวณที่ลึกที่สุดของมหาสมุทร คือจุดที่ลึกที่สุดของโลก นั่นคือ แชลเลนเจอร์ดีป (challenger deep) ที่ระดับความลึกเกือบ 11 กิโลเมตรจากผิวน้ำ บริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับหมู่เกาะมาเรียนาซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก
แชลเลนเจอร์ดีป มีลักษณะเป็นแอ่งขนาดเล็ก ที่ก้นของร่องลึกใต้มหาสมุทรรูปดวงจันทร์เสี้ยวขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งร่องลึกเหล่านี้ก็เป็นลักษณะภูมิประเทศที่ลึกผิดปกติใต้ท้องมหาสมุทร ร่องลึกมหาสมุทรแห่งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นทะเลที่แยกยาว มาจากแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นมุดเข้าหากัน จนเกิดการปะทะ และกลายเป็นรอยแยกใต้มหาสมุทร
แผ่นดินที่อยู่ใกล้กับ แชลเลนเจอร์ดีปที่สุด คือ เกาะไฟส์ (ส่วนหนึ่งของหมู่เกาะแย็พ) ห่างออกไป 289 กิโลเมตรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และกวม ห่างออกไป 306 กิโลเมตรทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ แอ่งดังกล่าวได้ชื่อตามเรือสำรวจกองทัพเรืออังกฤษ เอชเอ็มเอส แชลเลนเจอร์ ซึ่งจัดการสำรวจใน ปี 1872-76 เป็นการบันทึกความลึกของมันเป็นครั้งแรก
โดย ระยะทาง 11 กิโลเมตรอาจฟังดูไม่ได้ไกลมาก (ประเมินคร่าวๆ คือ ลากเส้นตรงจากห้างเมกะบางนา ไปอุดมสุข ) มันเป็นเส้นตรงที่ลากจากง่ายๆ แต่สำหรับใต้มหาสมุทรแล้ว ความลึก 11 กิโลเมตรนั้นไม่ใช่ระยะทางน้อยๆ เลยสำหรับมนุษย์ ที่ร่างกายของเราไม่ได้ถูกสร้างมาสำหรับการดำรงชีวิตใต้น้ำขนาดนั้น
ในจุดที่น้ำลึกที่สุดในโลกนั้น ผู้คนที่ลงไปสำรวจจะต้องเจอกับปัญหาในการใช้ชีวิต ที่ระดับความลึก 11 กิโลเมตร แรงดันน้ำบีบอัด 1.2 ตันในทุกๆ พื้นที่ตารางเซนติเมตร ทำให้ยานพาหนะที่จะลงมาอยู่ที่ระดับความลึกนี้ได้ต้องแข็งแรงและได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี
โดย ใน ปี 1960 เรือดำน้ำสำรวจที่มีชื่อว่า Bathyscaphe Trieste ได้พาวิศวกรและนักสมุทรศาสตร์สองคนดำดิ่งลงสู่แชลเลนเจอร์ดีปเป็นครั้งแรก โดย 2 คนแรกที่จุดนั้นได้คือ ดอน วอลช์ และ ฌากส์ ปิการด์
จากนั้น ทอดเวลาอีกหลายปี , ในปี 2012 ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังอย่างเจมส์ คาเมร่อน James Cameron (ผู้กำกับหนังไททานิค และ Avatar ) ได้เดินทางลงสู่แชลเลนเจอร์ดีปอีกครั้ง ครั้งนี้มาพร้อมการติดตั้งกล้องเพื่อบันทึกภาพรวมทั้งเก็บตัวอย่างโคลนมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาด้วย
ลองจินตนการดูสิว่า ณ ปี 2012 ยังมีคนไปจุดที่ลึกที่สุดในโลก อย่างจุด แชลเลนเจอร์ดีป (challenger deep) แค่ 3 คนเท่านั้น , ขณะที่ การไปสำรวจดวงจันทร์ มีคนลงไปเดินบนผิวดวงจันทร์ มากมายถึง 12 คนแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2019 - 2022 มีคณะ หลายๆคณะ ลงไปยังจุดที่ น้ำลึกที่สุดในโลกกันมากขึ้น จนกระทั่ง ณ วันนี้ มีคนไปยังจุด แชลเลนเจอร์ดีป (challenger deep) รวม 27 คนแล้ว (ข้อมูล ณ 21 มิ.ย. 2023)
หากลองมาเปรียบเทียบกับการเดินทางไปดวงจันทร์แล้ว , นับตั้งแต่ นีล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน บัซ อัลดริน เหยียบดวงจันทร์ เมื่อ 20 กรกฎาคม 1969 ในโครงการ Apollo 11 ของนาซา , จนถึงวันนี้ ก็มีเพียง มนุษย์ 12 คนเท่านั้น ที่มีโอกาสเหยียบดวงจันทร์
• เปรียบเทียบ คนเหยียบดวงจันทร์ กับ คนไปก้นมหาสมุทรลึกสุดของโลก
จำนวน : คนเหยียบดวงจันทร์ 12 คน VS คนไปก้นมหาสมุทรลึกสุดของโลก 27 คน
สถานที่ : ดวงจันทร์ VS ก้นมหาสมุทร จุดแชลเลนเจอร์ดีป (The Challenger Deep)
ไปครั้งแรก :
คนเหยียบดวงจันทร์ 21 ก.ค. 1969
คนไปก้นมหาสมุทรลึกสุดของโลก ครั้งแรก 23 ม.ค. 1960
คู่แรกที่ไปเยือนคนเหยียบดวงจันทร์ ได้แก่ นีล อาร์มสตรอง และ เอ็ดวิน บัซ อัลดริน
คู่แรกที่ไปก้นมหาสมุทรลึกสุดของโลก ดอน วอลช์ และ ฌากส์ ปิการด์
ระยะทางจากโลกไปดวงจันทร์ 363,104 กม.
ระยะทางจากผิวน้ำไปจุดแชลเลนเจอร์ดีป 10.911 กม.
คำถามสำคัญคือ มนุษย์เรา จะลงไปสำรวจจุดลึกๆ ของโลก ไปทำไม ? เพราะ ในเมื่อการสำรวจแต่ละครั้งใช้งบประมาณมากมาย
หากจะตอบคำถามเหล่านี้ อย่างง่ายๆก็คือ การสำรวจต่างๆ มันเป็นความพยายามหาคำตอบ คลายความสงสัยใคร่รู้ของมนุษย์ และมองหาวิทยาการใหม่ๆ