svasdssvasds

ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%

ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เฝ้าระวัง โควิดโอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 เติบโต และแพร่ระบาดสูงกว่าถึง 50% โดยล่าสุด ไทย พบผู้ติดเชื้อแล้ว 1 ราย

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) จับตาโควิดโอมิครอน FU.1 (XBB.1.16.1.1) หลานของ XBB.1.16 ซึ่ง FU.1 เติบโต และแพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ถึง 50% ขณะที่ความรุนแรงของโรคนั้น ยังไม่ปรากฏ

แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด19 ทั่วโลกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่โควิด19 ตระกูลโอมิครอนยังมีการกลายพันธุ์แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ที่เด่นชัดมี 3 กลุ่มคือ

  • โอมิครอน XBB.1.5 นามแฝงคือ คราเคน (Kraken) มาจากชื่อปลาหมึกยักษ์ในเทพนิยาย
  • โอมิครอน XBB.1.16 นามแฝงคือ อาร์คทูรัส (Arcturus) มาจากชื่อดาวฤกษ์
  • โอมิครอน XBB.1.9.1 นามแฝงคือ ไฮเปอเรี่ยน (Hyperion) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง

โดยกลุ่มโอมิครอน XBB.1.5* มีการลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ประเมินว่าจะถูกแทนที่โดย กลุ่ม XBB.1.16* และ XBB.1.9.1* ที่พบระบาดมากที่สุดในอินเดีย และมีการกระจายไปทั่วโลก ส่วนในอาเซียนพบในสิงคโปร์และไทย

ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%

ไทยพบแล้ว 1 ราย โควิด19 โอมิครอน FU.1 หลานของ XBB.1.16 ระบาดสูงกว่าถึง 50%

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี ติดตามการกลายพันธุ์ในระดับจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโควิด-19 โดยการเก็บตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อในประเทศและข้อมูลรหัสพันธุกรรมจากฐานข้อมูลโควิดโลก "จีเสส (GISAID)" ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (15 เม.ย. -15 พ.ค. 2566) พบโอมิครอนสายพันธุ์หลักในประเทศไทยเป็นกลุ่ม XBB* ประมาณ 93.5% ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่งคือ XBB.1.16* ประมาณ 19% อันดับสองเป็น XBB.1.5* ประมาณ 10% และอันดับสามเป็น XBB.1.9.1* ประมาณ 8.4%

สายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่งกลุ่ม XBB.1.16* หรืออาร์คทูรัส (Arcturus) พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่นคือ

รุ่นแรก

  • โอมิครอน XBB.1.16 (กลายพันธุ์ ณ. ตำแหน่ง S:E180V, S:478R) ทั่วโลกพบ 9,003 ราย ประเทศไทย 139 ราย

รุ่นลูก

  • โอมิครอน XBB.1.16.1 (S:T547I) ทั่วโลกพบ 2,714 ราย ประเทศไทย 26 ราย
  • โอมิครอน XBB.1.16.2 (ORF3a:V13L, ORF1a:P926H) ทั่วโลกพบ 666 ราย ประเทศไทยพบ 25 ราย
  • โอมิครอน XBB.1.16.3 (A2893C) ทั่วโลกพบ 175 ราย ประเทศไทยพบ 5 ราย
  • โอมิครอน XBB.1.16.4 (S:T678I) ทั่วโลกพบ 177 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
  • โอมิครอน XBB.1.16.5 (T9991C,C16332T) ทั่วโลกพบ 135 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
  • โอมิครอน XBB.1.16.6 (S:F456L) ทั่วโลกพบ 23 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

รุ่นหลาน

  • โอมิครอน XBB.1.16.1.1 (T3802C)**: นามแฝง FU.1 ทั่วโลกพบ 122 ราย ประเทศไทยพบ 1 ราย
  • โอมิครอน XBB.1.16.1.2 (C8692T): นามแฝง FU.2 ทั่วโลกพบ 149 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ

สายพันธุ์ย่อยอันดับสามคือกลุ่ม XBB.1.9.1* หรือ ไฮเปอเรี่ยน (Hyperion) พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่นคือ รุ่นแรก รุ่นลูก และรุ่นหลานเช่นกัน ใช้ชื่อเรียกเป็นอักษรย่อ 'FL' ตามด้วยตัวเลขทศนิยม ยังไม่มีการตั้งชื่อนามแฝง 

สายพันธุ์ย่อยในกลุ่มโอมิครอน XBB.1.16* โดยเฉพาะ 'FU.1' (XBB.1.16.1.1) ถือได้ว่าเป็น รุ่นหลาน ของ XBB.1.16 พบการระบาดมากในนครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกได้ประสานความร่วมมือให้ช่วยกันเฝ้าติดตามเนื่องจากมีค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) สูงกว่า XBB.1.16 ถึง 50%

ในขณะที่กลุ่มโอมิครอน XBB.1.16* รุ่นลูก คือ "XBB.1.16.1" พบการแพร่ระบาดในสวีเดน โดยมีโอมิครอนกลุ่ม "XBB.1.9.1" และรุ่นลูกและรุ่นหลาน "FL*" กลายพันธุ์แพร่ระบาดตามมาติดๆ คาดว่าอาจเข้ามาแทนที่กลุ่ม XBB.1.16* ในอนาคต

related