อัปเดต วัคซีนโควิดในไทย วัคซีนโควิดชนิดไหนเหมาะกับใคร? ประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นอย่างไร? ความสำคัญคือเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ภาพรวมของการระบาดยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ทั้งสถานการณ์ทั่วโลกและในประเทศไทย โดยล่าสุดวงการแพทย์ เปิดเผยว่า โอไมครอน “Arcturus“ หรือ XBB.1.16 อาจทำให้เกิดการระบาดรอบใหม่ในประเทศ แถมทำให้มีอาการรุนแรงได้ ถ้าดูข้อมูลการเฝ้าระวังในประเทศไทย เชื้อนี้ตรวจพบในประเทศตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว และค่อยเพิ่มมากขึ้นจนตระกูล XBB นี้กำลังจะแซงหน้าตระกูล BN
วัคซีนโควิด-19 แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1. mRNA Vaccine ย่อมาจากmessenger Ribonucleic Acid หรือวัคซีนชนิดสารพันธุกรรม วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ
วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna ซึ่งปัจจุบันวัคซีน mRNA ถือเป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ทั่วโลกนิยมใช้มากที่สุด
2. วัคซีนที่ใช้ไวรัสเป็นพาหะ Recombinant Viral vectorvaccine เป็นวัคซีนโควิด-19 ที่ใช้ไวรัสตัวอื่นเป็นพาหะ แล้วฉีดเข้าไปในร่างกายมนุษย์ พัฒนาโดยการนำไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแล้ว หรือไม่สามารถแบ่งตัวได้อีกมาตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นพาหะ แล้วฝากสารพันธุกรรมของโควิด-19 เข้าไป ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งเทคนิคนี้เป็นวิธีที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เนื่องจากเลียนแบบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงธรรมชาติ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• จุดฉีดวัคซีนโควิด-19 ล่าสุดมีที่ไหนบ้าง ใช้วัคซีนชนิดใด เช็กเลยที่นี่
• หมอมนูญ ยกเคสชายไทยป่วยโควิด XBB.1.16 ตาแดง ขี้ตาเหนียว หลังมาจากต่างประเทศ
• ทำความรู้จักโควิดสายพันธุ์ใหม่ “อาร์คทูรัส” ที่อาจเป็นสายพันธุ์หลัก
3. วัคซีนที่ทำจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine) เป็นวัคซีนที่เลียนแบบสไปรท์โปรตีน หรือหนามแหลมของไวรัส โดยอาศัยสื่งมีชีวิตอื่นสร้างขึ้นมา เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ หรือพืช วัคซีนที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น
ผลิตโดยการ สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19 วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันคือ วัคซีนแบรนด์ Novavax ซึ่งผลิตจาก baculovirus และใช้ Matrix M เป็นตัวกระตุ้นภูมิ
4. วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine) วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว เทคโนโลยีนี้เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีนตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดฉีด จึงมีความคุ้นเคยในประสิทธิภาพและความปลอดภัยมานาน แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง
ก่อนการประกาศใช้วัคซีนโควิดทุกชนิดในประเทศไทย วัคซีนชนิดนั้นๆ จะต้องเข้ารับการประเมินคุณภาพประสิทธิผล ความปลอดภัย และแผนจัดการความเสี่ยงด้านวัคซีน จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อน เพื่ออนุมัติทะเบียนวัคซีนป้องกันโควิด-19
วัคซีนโควิดในไทย มีชนิดไหนบ้าง?
แอสตราเซเนก้า (AstraZeneca)
• บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Oxford University) ประเทศสหราชอาณาจักร
• บริษัทผู้นำเข้า บริษัท สยามไบโอเอนซ์ จำกัด
• เทคโนโลยีการผลิต ไวรัลเวกเตอร์ (Viral vector vaccines)
• ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 70.4%
• เหมาะสำหรับ กลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง และผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (คำแนะนำประเทศไทย)
• จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 10-12 สัปดาห์
• อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ เจ็บ ระคายเคือง บวม หรือช้ำบริเวณที่ฉีด รู้สึกอ่อนเพลีย รู้สึกมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล เสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (ข้อมูลหลายประเทศพบในผู้มีอายุต่ำกว่า 30-40 ปี)
โมเดอร์นา (Moderna)
• บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทโมเดอร์นา อิงก์ (Moderna INC.) ประเทศสหรัฐอเมริกา
• บริษัทผู้นำเข้า บริษัท ซิลลิคฟาร์มา จำกัด
• เทคโนโลยีการผลิต mRNA vaccines
• ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 94%*
• เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปถึงอายุ 60 ปี (คำแนะนำประเทศไทย)
• จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์
• อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวด บวม บริเวณที่ฉีด
ซิโนฟาร์ม (Sinopharm)
• บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
• เทคโนโลยีการผลิต วัคซีนแบบเชื้อตาย (Inactivated virus vaccine)
• ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 79%*
• เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
• จำนวนโดส 2 โดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 28 วัน
• อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ ปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีดยา ปวดศีรษะ ปวดเมื่อตามเนื้อตัว รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า มีไข้ หนาวสั่น
ไฟเซอร์ ไบโอเอ็นเทค (Pfizer/ BioNtech)
• บริษัทและประเทศผู้ผลิต บริษัทไฟเซอร์ อิงก์ (Pfizer INC.) ประเทศสหรัฐอเมริกา-เยอรมัน
• เทคโนโลยีการผลิต mRNA vaccines
• ประสิทธิภาพในการป้องกันโรค 95%
• เหมาะสำหรับ ผู้มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป (คำแนะนำทั่วไป)
• จำนวนโดส โดยเข็มที่ 2 จะฉีดเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์
• อาการไม่พึงไประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจพบ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ปวด บวม บริเวณที่ฉีด
Pfizer Bivalent (ไฟเซอร์รุ่นใหม่ Gen2)
• วัคซีน 2 สายพันธุ์ ระหว่างอู่ฮั่นและโอมิครอน
• ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น
• ระยะห่าง : จากเข็มสุดท้าย 4 เดือนขึ้นไป
• หลังติดเชื้อโควิดอย่างน้อย 6 เดือน
• ผลข้างเคียง : ปวด บวมจุดที่ฉีด มีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย
ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป Long Acting Antibody (LAAB)
• ใช้ในกลุ่ม "บุคคลภูมิคุ้มกันต่ำ"
• ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบและโรคภูมิแพ้ตนเองที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ไม่สามารถได้รับวัคซีนได้ตามปกติ
• อายุที่ฉีดได้ : 12 ปีขึ้นไป
• จำนวนโดส : มี 2 ขวด โดยหนึ่งขวดจะมี 1.5 ซีซี ฉีดที่สะโพกข้างละ 1.5 ซีซี
• ผลข้างเคียง : ปวดล็กน้อยถึงปานกลางบริเวณที่ฉีด
- ฝาเทา อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป
- ฝาม่วง อายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เลือกรูปแบบการฉีดเต็มโดส ครึ่งโดส หรือเข้าชั้นผิวหนัง
- ฝาส้ม อายุ 5-11 ปี
- ฝาแดง อายุ 6 เดือน - 4 ปี