พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก ตามมาด้วยโควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก ดื้อต่อภูมิคุ้มกัน อัตราการตายสูง เป็นข้อมูลเท็จ อย่าแชร์!
ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และโฆษกกระทรวงฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ
มีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 211 ข้อความ โดยช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ
ทั้งนี้ จากจำนวนเรื่องที่ดำเนินการตรวจสอบในสัปดาห์นี้ แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
เมื่อโฟกัสประเด็นข่าวที่เกี่ยวกับโควิด-19 พบจำนวน 17 เรื่อง
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ดร.เวทางค์ กล่าวว่า ในส่วนของข่าวปลอมที่มีคนสนใจสูงสุดหลัก ๆ อยู่ในหมวดข่าวกลุ่มสุขภาพ พบข่าวโควิด-19 กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง
ไม่ว่าจะเป็น โควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลตา 5 เท่าและมีอัตราการตายที่สูงกว่า รวมทั้งข่าวปลอมโควิดโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 สมรรถนะการแพร่สูง และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่สุด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ข่าวที่ได้รับความสนใจและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม (Engagement) มากสุด 10 อันดับ ได้แก่
อันดับที่ 1 : ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดแตกได้
อันดับที่ 2 : โควิดสายพันธุ์ XBB ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า และมีอัตราการตายที่สูงกว่า
อันดับที่ 3 : ใช้พริกขี้หนูตำคลุกกับใบยาสูบ พอกตรงบริเวณที่ถูกงูกัด ช่วยแก้พิษงูได้
อันดับที่ 4 : แก้ผมหงอกได้ด้วยว่านหางจระเข้ ใบบัวบก ใบฝรั่ง และบอระเพ็ด
อันดับที่ 5 : เพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ คนละ 100 บาท ให้ทุกคนไปรายงานตัวที่เขต
อันดับที่ 6 : โควิดโอมิครอนลูกผสม XBB.1.16 สมรรถนะการแพร่สูง และดื้อต่อภูมิคุ้มกันที่สุด
อันดับที่ 7 : โครงการรักษาหัวใจ 7/24 เฉลิมพระเกียรติ ใช้สิทธิประกันสังคม ข้าราชการและบัตรทอง รักษาไม่ต้องใช้ใบส่งตัว
อันดับที่ 8 : กระทรวงสาธารณสุขห้ามจำหน่ายขนมที่มีส่วนผสมไขมันทรานส์
อันดับที่ 9 : ผู้สูงอายุ 3 กลุ่ม รับเบี้ยพิเศษรายปี คนละ 1,000 บาท
อันดับที่10 : มะระขี้นกตากแห้งแล้วนำมาคั่ว ต้มรับประทานมีสรรพคุณรักษาโรคไต และล้างไต
ปัจจุบันข่าวปลอมยังคงมีจำนวนมาก ดีอีเอส และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ให้ความสำคัญในการตรวจสอบข่าวปลอม ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับข่าวสาร ข้อมูล ควรตรวจสอบให้รู้เท่าทัน รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
สามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ที่ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์
ทวิตเตอร์ หรือ โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87