svasdssvasds

กกต. แจง เลือกตั้ง 66 จัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ?

กกต. แจง เลือกตั้ง 66 จัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ?

“กกต. แจง แนวทางปฏิบัติเลือกตั้ง 66 สามารถจัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-เบอร์ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ? เช็กเลย ถ้าไม่อยากทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่ประกาศ ในวันที่ 1 เมษายน 2566 โดยเป็นการชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดขบวนแห่ในวันสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 3 - 7 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง

กกต. แจง เลือกตั้ง 66 จัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

และในวันที่ 4 - 7 เมษายน 2566 ซึ่งเป็นวันรับสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

โดยผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในการเลือกตั้ง 2566 นั้น  พรรคการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดขบวนแห่หรือกองเชียร์ที่แสดงการสนับสนุนเข้ามาในสถานที่สมัครรับเลือกตั้ง เพื่อให้กำลังใจแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งและพรรคการเมืองในวันดังกล่าว

กกต. แจง เลือกตั้ง 66 จัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ?  

กกต. แจง เลือกตั้ง 66 จัดขบวนแห่ หลังได้เบอร์พรรค-ผู้สมัครส.ส. ได้หรือไม่ ?

เมื่อกระบวนการสมัครเสร็จสิ้นลงแล้ว มิควรมีการจัดขบวนหรือกองเชียร์ออกจากสถานที่รับสมัครไปตามถนน ตำบล หรือหมู่บ้านในลักษณะนี้อีก 

เนื่องจากเคยมีคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 1 และคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยไว้ในทำนองเดียวกันว่า การจัดขบวนแห่และรถยนต์ติดแผ่นป้ายของผู้สมัครรับเลือกตั้งภายหลังการสมัครรับเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้วไปตามชุมชน โดยมีการแสดงดนตรีหรือการรื่นเริงใด ๆ ถือเป็นการจูงใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการหาเสียงด้วยการจัดให้มีการรื่นเริงซึ่งชัดต่อกฎหมายเลือกตั้ง
.

related