เช็กเลย! ดื่มยังไงไม่ให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ไม่โดนข้อหาเมาแล้วขับ ไม่ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย และไม่โดนควบคุมความประพฤติ
จากประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ หลังเหตุการณ์อุบัติเหตุ รถยนต์ชนกัน 3 คันบนทางพิเศษเฉลิมมหานคร โดยมีรถที่ประสบเหตุร่วมอยู่ในเหตุการณ์ ประกอบด้วย รถยนต์หรูยี่ห้อเบนท์ลีย์ มิตซูบิชิ ปาเจโร และรถดับเพลิง อปพร.บางรัก
โดยประเด็นที่สังคมจับตามองของอุบัติเหตุในครั้งนี้ เนื่องจากในรถเบนท์ลีย์พบขวดไวน์วางอยู่ที่เบาะหลัง แต่กลับไม่มีการเป่าวัดแอลกอฮอล์คนขับในช่วงเกิดเหตุ โดยสาเหตุที่ไม่ได้เป่าวัดแอลกอฮอล์ในช่วงเกิดเหตุ คนขับเบนท์ลีย์ให้เหตุผลว่า เจ้าตัวบาดเจ็บบริเวณหน้าอกจากอุบัติเหตุ จึงไม่สามารถเป่าลมได้เต็มแรง พนักงานสอบสวนจึงพิจารณาให้ตรวจเลือด
ล่าสุดผลการตรวจเลือดทางห้องแลป แจ้งผลมายังพนักงานสอบสวนคดี พบว่าผู้ขับขี่รถยนต์ยี่ห้อเบนท์ลีย์ มีผลเลือดประมาณแค่กว่า 10 มิลลิกรัมฯ ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมฯ โดยผลอย่างเป็นทางการ ซึ่งไม่เข้าข่ายความผิดเมาแล้วขับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• รอด! ผลตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดเสี่ยเบนท์ลี่ย์ แค่กว่า 10 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
• แอล กมลวรรณ ชี้แจง ขับรถเสียหลักชนยับ 9 คัน เพราะวูบผลตรวจแอลกอฮอล์เป็นศูนย์
• หมอนิติเวช เผย ผลตรวจเลือดเมาแล้วขับ คลาดเคลื่อนทุกชั่วโมง แนะควรตรวจทันที
การขับขี่ยานพาหนะขณะเมาสุราเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก ซึ่งการตรวจวิเคราะห์ ระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการทดสอบว่าผู้ขับขี่เมาสุราหรือไม่ ในกรณีผู้ขับขี่ที่รู้สึกตัวเจ้าหน้าที่ตำรวจจะตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์โดยเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ
แต่บางรายอาจมีอาการบาดเจ็บรุนแรงจนไม่สามารถเป่าผ่านเครื่องวัดฯได้ จะทำการเจาะเลือดส่งตรวจปริมาณแอลกอฮอล์ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีหนังสือนำส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อทำการเจาะเลือดภายใน 6 ชั่วโมง หลังเกิดอุบัติเหตุ หากเกิน 6 ชั่วโมง ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจะลดต่ำลง
เมาแล้วขับ หรือการปฏิเสธเป่าแอลกอฮอล์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
• ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความในพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”
• ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ดื่มยังไงให้ “รอด” ไม่โดนจับข้อหา “เมาแล้วขับ”
เบียร์
• ดื่มเบียร์ 1 กระป๋อง ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอเซ็นต์
• ดื่มเบียร์ 2 ขวด ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดมากกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
• ดื่มเบียร์ 1 ขวด หรือ 2 กระป๋อง ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอยู่ระหว่าง 45-60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ดื่ม
วิสกี้
• เครื่องดื่มประเภทวิสกี้ “1 ฝา เท่ากับ 10 มิลลิกรัม” (เน้น)
• ผู้ดื่มที่มีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนักมากกว่า 58 กก. สามารถดื่มวิสกี้ปริมาณ 100 มล. และ 80 มล.
• ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 158 ซม. น้ำหนัก 45 - 55 กิโลกรัมดื่มวิสกี้ปริมาณ 40 มิลลิลิตร และ 60 มล.
ไวน์
• เครื่องดื่มประเภทไวน์ 10 - 12 ดีกรี
• ผู้ดื่มที่มีส่วนสูง 170 ซม. น้ำหนัก 61 กก. ปริมาณที่ดื่มได้ 300 มล.
• ผู้หญิงสูงเฉลี่ย 157 ซม. น้ำหนัก 45 - 55 กก. ปริมาณที่ดื่มได้ 170 มล.