svasdssvasds

ทางรอดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ Crowd Crush เบียดเสียดเหยียบกันตาย

ทางรอดเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ Crowd Crush เบียดเสียดเหยียบกันตาย

รวบรวมทางรอดเมื่อต้องตกอยู่ในสถานการณ์เบียดเสียดหนีตาย (Crowd Crush) ยืนให้มั่น กันหน้าอก ปล่อยไหลตามกระแสฝูงชน ไม่ดันและช่วยเหลือถ้าทำได้

Asphyxiation คือ ภาวะการขาดอากาศหายใจ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีผู้คนหนาแน่นจำนวนมากเบียดเสียดกัน ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง จนไม่สามารถหายใจได้ตามปกติซึ่งเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่มีลักษณะคล้ายกันนี้ เคยเกิดขึ้นในงานเทศกาลดนตรีและสนามกีฬาที่มีผู้ชมจำนวนมากมารวมตัวกัน ทั้งในสถานที่ปิดและแบบเปิด จนมาถึงเหตุการณ์เทศกาลวันฮาโลวีน ที่จัดขึ้นในย่านอิแทวอน (Itaewon) กรุงโซลของเกาหลีใต้ เป็นเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 100 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก สร้างความสะเทือนใจและกลายเป็นบทเรียนสำหรับคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเองที่ต้องวางมาตราการการจัดการในช่วงงานเทศกาลสำคัญประจำปี เช่น วันสงกรานต์หรืองานเฉลิมฉลองเข้าสู่วันรับปีใหม่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สำหรับประชาชนทั่วไปทางทีมข่าว Spring ได้สรุปข้อแนะนำจาก Dr. John Torres และ Mehdi Moussaïd นักวิจัยชาวเยอรมัน ที่ทำการศึกษาพฤติกรรมฝูงชนและผู้เขียนหนังสือที่ชื่อ Fouloscopie: Ce que la foule dit de nous หรือ Crowd study: ได้เป็น 8 วิธีเบี้องต้นเพื่อเอาชีวิตรอดในยามคับขันที่ต้องติดอยู่ท่ามกลางฝูงชน ไว้ดังนี้ 

1.อย่าตื่นตระหนก 
ตั้งสติและใช้สัญญาณมือเพื่อขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว

2.สายตาจับสัญญาณอันตราย
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าก่อนที่จะพาตัวเองไปอยู่ในมุมแออัดจนไม่สามารถขยับตัวได้ ให้ใช้สายตาสอดส่องว่าจุดไหนมีความเสี่ยงเกินไปและอาจเป็นอันตราย โดยควรหลีกเลี่ยงบริเวณดังกล่าวก่อนที่จะสายเกินไป

3.เมื่อรู้สึกได้ว่ามีฝูงชนหนาแน่นให้รีบออกไปทันที
ถ้าสถานการณ์พาตัวเองไหลไปกับฝูงชนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้อยู่ ควรใช้ถอยออกมาจากทิศทางนั้นไปหาพื้นที่ปลอดภัย แม้จะกำลังสนุกอยู่กับคอนเสิร์ตก็ตาม การอยู่ต่ออาจไม่คุ้มกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้น 

4.ทรงตัวตั้งตรงระวังไม่ให้ล้ม
การยืนหยัดประคองตัวเหยียบพื้นไม่ให้ล้มไปนั้นช่วยให้ไม่เกิด snowball effect หรือปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นจากที่มีคนนึงล้มและกลายเป็นขยายวงให้เกิดการล้มทับร่างกายต่อๆ กันไปซึ่งมีความเสี่ยงมากที่จะเกิดภาวะการขาดอากาศหายใจ รวมถึงการวางสิ่งของหรือกระเป๋าไว้กับพื้นก็อาจเป็นเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดนี้ได้เช่นกัน และถ้าเสียสมดุลจนล้มลงให้ยกมือกันบริเวณศรีษะและรีบหาทางกลับขึ้นมายืนอีกครั้ง หรือถ้าเจอต้นไม้ รถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ให้ปืนหนีฝูงชนขึ้นไปหาออกซิเจน

5.รักษาระยะห่างบริเวณหน้าอก
การขาดออกซิเจนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในหลายๆ กรณีที่ผ่านมา เมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอันตราย การตั้งการ์ดขึ้นหรือกางแขนออกช่วงบริเวณหน้าอกให้มีที่ว่างเพิ่มขึ้นอย่างน้อยครึ่งเซนติเมตรถึง 1 เซนติเมตรก็จะช่วยให้สามารถหายใจได้สะดวกขึ้น

Dr. John Torres สาธิตวิธีการรักษาระยะห่างช่วงหน้าอกจากคลิป How To Stay Safe In A Crowd Crush ของช่อง NBC News

6.อย่าผลักหรือดันกันให้ไหลกับกับฝูงชน 
ปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นในฝูงชนจะเป็นผลให้เกิดการทำตามๆ กัน ซึ่งจะกลายเป็นอันตรายที่กลับมาทำร้ายผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้นเอง โดยเฉพาะถ้ามีการผลักกันเป็นทอดๆ แรงดันนั้นก็จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ถ้ารู้สึกถึงแรงผลักให้หยุดไว้
และเคลื่อนตัวไปตามกับกระแสฝูงชน แต่อันตรายที่น่ากลัวคือแรงผลักที่มาจากหลายทิศทางจะยิ่งสร้างความเสี่ยงในการทรงตัวท่ามกลางฝูงชน และยิ่งเมื่อมีผู้เสียชีวิตจะยิ่งทำให้เกิดความตระหนกตกใจกันอย่างกว้างขวาง

7.หลีกเลี่ยงผนังและวัตถุที่เป็นของแข็ง
การถูกดันให้ติดกับกำแพงหรือช่องทางเดินแคบอาจกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและยากที่จะหนีเอาตัวรอดออกมาได้

8.เมื่ออยู่ในที่ปลอดภัย หาทางช่วยเหลือผู้อื่นให้ออกมาจากสถานการณ์ไม่ปลอดภัย
ในคลิปจากเหตุการณ์ โศกนาฏกรรมอิแทวอนจะได้ยินเสียงผู้หญิงคนนึงตะโกนโดยมีใจความเตือนให้คนที่กำลังเข้างานจากต้นทางให้ถอยออกไปจากสถานที่และบอกไม่ให้ฝูงชนจากอีกฝั่งดันกันเข้ามาสำทับบริเวณที่เกิดขึ้นเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความสูญเสียและทำให้บรรยากาศไม่เลวร้ายลงกว่าเดิม การไม่อยู่นิ่งเฉย พยายามหาทางออกช่วยเหลือกันในยามขับคันนี้ก็ช่วยรักษาชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกหลายชีวิต

ข้อแนะนำสำหรับคาดคะเนความความหนาแน่นของฝูงชนจากระดับปกติจนถึงระดับไม่ปลอดภัยคือสิ่งช่วยวัดจำนวนคนต่อตารางเมตร โดยมีเกณฑ์ดังนี้

เมื่อยู่ในบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำกว่าห้าคนต่อตารางเมตร [ประมาณ 10.7 ตารางฟุต] อาจจะเริ่มรู้สึกไม่สบายแต่ก็ยังโอเค ถ้ามากกว่าหกคนต่อตารางเมตรเริ่มเข้าสู่ระยะที่สามารถอาจเป็นอันตราย จนเมื่อความหนาแน่นอยู่ที่แปดคนต่อตารางเมตรส่วนใหญ่จะเริ่มมีการบาดเจ็บหรือสถานการณ์เลวร้ายแย่ลงกว่านั้น

ทั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบผู้จัดงาน ในการเตรียมแผนรับมือสำหรับดูแลจัดการฝูงชนที่คาดว่าจะมาร่วมงาน ประสานหน่วยงานรักษาความปลอดภัยที่มีสัดส่วนพอเหมาะกับจำนวนผู้ร่วมงานและแผนสำรองที่อาจเกิดขึ้นก็สามารถ
ช่วยลดความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนี้ลงได้อีกทาง

ที่มา

npr.org

related