ระบบสื่อสารวิทยุ (วิทยุทรานซิสเตอร์) หนึ่งในรูปแบบการแจ้งเตือนระบบเตือนภัยพิบัติตามธรรมชาติ ช่วยป้องกันการสูญเสียถึงชีวิตแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
จากกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้มอบนโนบายแก้ปัญหาน้ำท่วม เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม โดยในช่วงหนึ่งได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมเรื่องศูนย์อพยพ รวมถึงการให้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจต้องไปใช้ วิทยุทรานซิสเตอร์ ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนอีกทาง ซึ่งเคยใช้กันเมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด ดังนั้น เราต้องเตรียมแผนตรงนี้ไว้ด้วย ในกรณีที่อาจเกิดปัญหา
จนทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันกว้างขวางหลังจากนั้นถึงความเหมาะสมของการเลือกช่องทางสื่อสารผ่าน วิทยุทรานซิสเตอร์ นั้นล้าสมัยตกยุคไม่มีคนใช้แล้วรึเปล่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กสทช. ขอความร่วมมือสถานีวิทยุ แจ้งเตือนภัยหรือเหตุฉุกเฉินทั่วประเทศ
กสทช. สั่ง ค่ายมือถือ ศูนย์สายลม เตรียมพร้อมคู่สายรับมือพายุโนรู
โดยในวันต่อมา นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้ออกมาเผยข้อมูลย้ำในเรื่องการสื่อสารเพื่อแจ้งเตือนไปยังชุมชน หมู่บ้านและประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมซึ่งสอดคล้องกับที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญกับการสื่อสารผ่านทางวิทยุ เพราะวิทยุถือได้ว่าเป็นสื่อที่ยังเข้าถึงประชาชนได้ดีที่สุด โดยอ้างอิงผลสำรวจข้อมูลยืนยันว่า สื่อวิทยุนั้นยังเป็นที่นิยมของประชาชนทุกช่วงวัย พบว่า ตัวเลขผลสำรวจพฤติกรรมการรับฟังรายการวิทยุทั่วประเทศ จากจำนวนผู้ฟัง 3,655 คน โดยอ้างอิงจากสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. และสถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังนี้
#วิทยุทรานซิสเตอร์ – ประวัติอันยาวนานที่ใกล้จะจบสิ้น ตั้งแต่สมัยก่อนคลื่นกระจายเสียงข่าวสารสาระบันเทิงต่างๆ ถูกส่งผ่านทางคลื่น AM และ FM ส่งจากสถานีกระจายเสียงวิทยุ ทุกๆคนที่มีเครื่องรับสัญญานวิทยุก็สามารถเลือกจูนคลื่นเพื่อฟังการกระจายเสียงจากสถานีวิทยุต่างๆ ที่คนเองสนใจได้ #อดีต pic.twitter.com/lINoOCMurV
— I'm long dead (@Artdevil666) September 19, 2018
โดยที่ข้อมูลพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ ปี 2022 จากข้อมูลจำนวนผู้รับฟังวิทยุคลื่นหลักในระบบ FM จำนวน 40 สถานี จากทุกช่องทาง ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และข้อมูลการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงคลื่นหลักในระบบ FM ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 36 สถานี อ้างอิงจาก บริษัท เดอะ นีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด
ได้ระบุถึงพฤติกรรมการรับฟังวิทยุ ปี 2022 จำนวนผู้ฟังวิทยุรายเดือน แยกตามช่วงอายุ Generation โดยข้อมูลล่าสุดในเดือนสิงหาคม 2565 พบว่า
ซึ่งถ้าคิดจากจำนวนประชากรไทยทั้งประเทศ ที่มีจำนวนประมาณ 66 ล้านคน เท่ากับ 12.12%
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก World Risk Report 2021 ทำการศึกษาใน 181 ประเทศ หรือ 99% ของประเทศทั้งหมดในโลกนี้ รายงานเป็นดัชนี World Risk Index
สำหรับประเทศ 10 อันดับ ที่ต้องเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติมากที่สุด ได้แก่
ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 92 (WRI 6.52) มีดัชนีความเสี่ยงปานกลาง
แม้ภัยพิบัติจะไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าความเสียหายได้อย่างแน่นอน ทั้งมีบางประเภทก็เกินกำลังการควบคุมของมนุษย์ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แต่ความสามารถของมนุษย์ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ฉุกเฉินให้เร็วที่สุด สามารถบรรเทาความสูญเสียได้ที่มีอันตรายถึงชีวิตต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ผ่านระบบเตือนภัย ทั้งนี้ระบบเตือนภัยฉุกเฉินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันหลักๆ สามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
1.ระบบแจ้งเตือนมวลชน
เป็นระบบการแจ้งเตือนด้วยข้อความที่บันทึกไว้ส่งผ่านไปยังโทรศัพท์บ้าน ในพื้นที่รัศมีใกล้เคียงกับจุดเสี่ยงภัย แต่วิธีนี้ได้รับความนิยมน้อยลงไปมากเมื่อจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์บ้านลดลง
2.การแจ้งเตือนฉุกเฉินแบบไร้สาย (WEA)
เป็นระบบแจ้งเตือนข้อความที่ส่งจาก Federal Emergency Management Agency (FEMA) รวมถึงหน่วยงานรัฐหรือท้องถิ่นไปยังอุปกรณ์ไร้สายหรือโทรศัพท์มือถือของประชาชน ในพื้นที่ใกล้เคียงที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ
3.ระบบข้อความ SMS
เป็นระบบส่งข้อความ SMS ไปยังหมายเลขในฐานข้อมูลที่เปิดรับข้อความแบบฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉิน
4.ระบบเตือนภัยสาธารณะกลางแจ้ง
เป็นระบบการกระจายเสียงผ่านลำโพงหรือไซเรนในบริเวณชุมชน โดยในแต่ละประเทศจะมีเสียงสัญญาณ Emergency Alert System (EAS) แตกต่างกัน
5.การใช้รหัสสีเตือนภัย
เป็นระบบที่มักใช้ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาล เพื่อสื่อสารกับพนักงานในองค์กรที่ได้รับการฝึกซ้อมความเข้าใจกันมาก่อน ซึ่งจะไม่ทำให้คนไข้และญาติผู้ป่วยแตกตื่นโดยแต่ละสีเพื่อสื่อถึงภัยที่แตกต่างกันมีมาตราฐานที่ใกล้เคียงกัน เช่น
6.ระบบแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินขององค์กร
เป็นระบบแจ้งเตือนภายในองค์กร ซี่งแต่ละธุรกิจสามารถนำไปใช้เพื่อสื่อสารเรื่องฉุกเฉินกับพนักงานขององค์กร ผ่านช่องทางคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ในกรณีที่มีเหตุเพลิงไหม้ สารเคมีรั่วไหล หรือภัยธรรมชาติ
คลิปตัวอย่าง ระบบเตือนภัยแต่ละประเทศรอบโลก
สำหรับประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อยู่ในอันดับความเสี่ยงภัยพิบัติในระดับมาก อยู่อันดับที่ 46 (WPI 9.66) จากทั้งหมด 181 ประเทศ แต่มีระบบเตือนภัยที่ได้รับการยกย่องให้เป็นระบบ “ดีที่สุดในโลก” ที่ชื่อ J-ALERT EAS (Emergency Alert System) หรือ ที่คนท้องถิ่นรู้จักในว่า Zenkoku Shunji Keihō Shisutemu/J Ararto [全国時報システム]
เป็นระบบเตือนภัยที่ครอบคลุมทั้งประเทศผ่านระบบดาวเทียม เมื่อมีเหตุภัยพิบัติ แผ่นดินไหว สึนามิ และขีปนาวุธ ผ่านการออกอากาศการแจ้งเตือนไปยังสื่อท้องถิ่นและประชาชนได้โดยตรงผ่านระบบลำโพงทั่วประเทศ โทรทัศน์ วิทยุ อีเมล์ และการออกอากาศทางมือถือ ซึ่งจะแจ้งเตือน, ข้อควรปฏิบัติ คู่มือสำหรับประชาชนเตรียมรับมือ และประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่ออพยพประชาชน
โดยจะเห็นว่าช่องทางโทรศัพท์ดูจะเป็นช่องทางที่เข้าถึงประชาชนเป็นรายบุคคลที่ญี่ปุ่นเองก็เลือกใช้ ซึ่งตรงกับข้อมูล ของ We Are Social ได้เปิดข้อมูล Data & Insight สรุปเป็นรายงาน Digital Stat 2022 พบว่า ทั่วโลกมีเจ้าของโทรศัพท์มือถือมากกว่าคนละ 1 เครื่อง โดยค่าเฉลี่ยในการเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือทั่วโลกอยู่ที่ 104.6% ส่วนคนไทยนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกแตะอยู่ที่ 136.5% เข้ามาอยู่ในอันดับที่ 18
โดยที่คนไทยที่มีมือถือสามารถเข้าถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไร้สาย หรือ 3G, 4G และ 5G เป็นจำนวน 100% ซึ่งเทียบได้ในระดับเดียวกับประเทศญี่ปุ่น ออสเตเรีย ไต้หวัน และฮ่องกง ซึ่งค่าเฉลี่ยโลกนั้นอยู่ที่ 86.5%
ทั้งนี้การเลือกช่องทางการใช้ระบบเตือนภัยแต่ละประเภท ควรขึ้นอยู่กับกลุ่มเป้าหมาย เหตุการณ์และพื้นที่ รวมทั้งระดับความรุนแรง
ส่วนไทยมีเว็บไซต์ระบบเตือนภัยที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องปฏิบัติการเฝ้าระวังและเตือนภัย น้ำหลาก - ดินถล่ม สำนักวิจัย พัฒนาและอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำแจ้งข้อมูลแบบเรียลไทม์ http://ews1.dwr.go.th/ews/index.php เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ประชาชนตรวจเช็กข่าวสาร ความเคลื่อนไหวและเตรียมความพร้อม ซึ่งเหมาะกับผู้ที่โทรศัพท์มือถือสามารถเข้าอินเทอร์เนตได้เท่านั้น
ที่มา