กรมการแพทย์ มีการปรับแนวทางการรักษาโควิด-19 ให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยจะทำการรักษาแบบผู้ป่วยนอกและปฏิบัติตามมาตรการ DMHT เป็นระยะเวลา 5 วัน แต่ในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการและปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการรักษาและให้ยาต้านไวรัสโควิด-19
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุ ถึงแนวทางการรักษาโควิด-19 เป็นฉบับปรับปรุง โดยจะนำเสนอที่ประชุม EOC ในวันพุธที่ 28 กันยายน นี้ โดยจากนี้ไป ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ จะให้ทำการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และปฏิบัติตาม DMHT อย่างเคร่งครัด 5 วัน
ขณะที่ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อย ไม่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมสำคัญ จะทำการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และปฏิบัติตาม DMHT อย่างเคร่งครัด 5 วัน
• มาตรการ DMHT คืออะไร?
มาตรการ DMHT คือแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้ในการชะลอการระบาดของ โควิด-19 ความหมายของ DMHT อย่างเข้าใจง่ายเป็นภาษาไทยว่า
อยู่ห่างไว้
ใส่มาก์สกัน
หมั่นล้างมือ
ตรวจให้ไว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• DMHT ย่อมาจากอะไร?
DMHT เป็นตัวอักษรย่อภาษาอังกฤษของแนวทางปฎิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ มาจากคำเต็มว่า
D : Distancing เว้นระยะห่าง M : Mask wearing สวมหน้ากาก H : Hand washing ล้างมือบ่อย ๆ T : Testing ตรวจเชื้อโควิด-19 เมื่อมีอาการ หรือตรวจให้ไว
ส่วน ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โรคร่วมสำคัญ เช่น อาจมีอาการเล็กน้อย หรือ ปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลาง จะทำการรักษาตามดุลพินิจของแพทย์
ส่วนแนวทางการจ่ายยารักษา ผู้ป่วยโควิด-19 นั้น สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ จะไม่ให้ยาต้านไวรัส ส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่รุนแรง ไม่มีปัจจัยเสี่ยง หรือโรคร่วมสำคัญ แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาฟ้าทลายโจร หรือ ยาฟาวิพิราเวียร์โดยเร็วที่สุด และผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงหรือโรคร่วมสำคัญ