svasdssvasds

เตือน! อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพปลอม "เสียง แชท คลิป" สร้างเรื่องเสมือนจริง

เตือน! อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพปลอม "เสียง แชท คลิป" สร้างเรื่องเสมือนจริง

ดีอีเอส เตือนอย่าหลงเชื่อ โพสต์ปลอม,ข้อความปลอม,ความคิดเห็นปลอม และสร้างโปรไฟล์ปลอม ใน 3 แพลตฟอร์ม ในโซเชียลมีเดีย คือ Facebook, Instagram และ Twitter รวมถึงโปรแกรมแชท Messenger, Message ต่างๆ สร้างเรื่องเสมือนจริง หลอกลวงประชาชน

 นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส)  เปิดเผยว่า ขณะนี้มี "คลิปเสียงปลอม" ที่มาจากเทคโนโลยีปลอมเสียง ปลอมแชท ปลอมคลิป (Deepfake,Social Maker และ Fake voice)

 ซึ่งเป็นการปลอมแปลงข้อมูล การตัดต่อภาพ ตัดต่อข้อความ ตกแต่งเสียงพูด หรือแม้แต่การตัดต่อวิดีโอคลิปให้เหมือนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งประชาชนควรรู้ เพื่อให้เข้าใจ รู้เท่าทัน และป้องกันการถูกใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น

จากเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้กลุ่มมิจฉาชีพนำมาใช้ในการแชทปลอม โพสต์ปลอม ผ่าน"Social Maker" ที่สร้างโพสต์ปลอม,ข้อความปลอม,ความคิดเห็นปลอม และสร้างโปรไฟล์ปลอม ใน 3 แพลตฟอร์ม ในโซเชียลมีเดีย คือ Facebook, Instagram และ Twitter รวมถึงโปรแกรมแชท Messenger, Message ต่างๆ สร้างความเข้าใจผิดและหลอกลวง เป็นภัยสังคมอยู่ในขณะนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• ชอบเล่น Tiktok ต้องระวัง 3 กลลวง ยอดฮิตของมิจฉาชีพ

• เตือนภัย! มิจฉาชีพ รับทำสลิปโอนเงินปลอม ระบาด แม่ค้าต้องระวัง พร้อมวิธีเช็ก

• กสทช. แนะวิธีรับมือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ รู้ทันมิจฉาชีพ

โดยการปลอมภาพคลิปด้วย Deepfake สร้างภาพความคมชัดสูง และท่าทางที่เสมือนจริงมากขึ้น การแปลงเสียง Voice changer / Jokesphone ปลอมเสียงได้ง่ายๆ ผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เปลี่ยนน้ำเสียง เช่น ชายเป็นหญิง หญิงเป็นชาย ผู้ใหญ่เป็นเด็ก  ซึ่งการแชทปลอม,โพสต์ปลอม,ปลอมภาพคลิป,การเลียนเสียงและแปลงเสียง ที่ผู้ไม่ประสงค์ดี ใช้เป็นเครื่องมือในการแอบอ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์บางอย่าง หลอกลวงให้โอนเงิน  ดังนั้นขอให้ประชาชนควรตรวจสอบข้อมูลทุกครั้งก่อนที่จะเชื่อ หรือแชร์ต่อ เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่คุณเห็นเป็นเรื่องจริง

 สำหรับเทคโนโลยีในการปลอมแปลง อย่างเช่น  'Deepfake' 'Social Maker' และ 'Fake voice' เป็นที่นิยมของคนไทยนำมาใช้ รวมทั้งแอปลิเคชันแชทต่างๆ มักนำมาใช้กันจนเป็นปกติ  ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถ 'ปลอมเสียง ปลอมแชท ปลอมคลิป' เปลี่ยนเรื่องปลอมๆ ให้สมจริง นับเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ เลียนแบบสิ่งที่มีอยู่จริง หรือเข้าใกล้ความจริงมากขึ้น เป็นวิวัฒนาการของเทคโนโลยี ที่ช่วยผลักดันให้สะดวกสบายมากขึ้น  ในขณะเดียวกันมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิดหรือความไม่รู้ จะถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้ความก้าวล้ำทางเทคโนโลยีเหล่านี้ ส่งผลกระทบในทางลบได้ในวงกว้างด้วยเช่นกัน

 ขณะนี้ในสื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อคลิปเสียง คลิปปลอม ที่สร้างเรื่องเพื่อหลอกลวงหาผลประโยชน์จำนวนมาก ประชาชนร้องเรียนผ่านกระทรวงดิจิทัลฯ และหลายหน่วยงาน เปิดช่องทางให้ประชาชนที่เดือดร้อนจากปัญหาคดีออนไลน์และอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้ง และเข้าถึงความช่วยเหลือได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น หากพบเบาะแส สามารถแจ้งข้อมูลได้ผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้  

โทร.1212 OCC ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์ ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) ในสังกัดดีอีเอส  เพจอาสาจับตาออนไลน์ https://m.facebook.com/DESMonitor/ แจ้งความออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงผ่านเว็บไซต์ https://thaipoliceonline.com สายด่วน บช.สอท. 1441

related