svasdssvasds

“ไฟไหม้ผับชลบุรี” เปิด 8 วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ รู้ไว้ไม่เสียหาย

“ไฟไหม้ผับชลบุรี” เปิด 8 วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้ รู้ไว้ไม่เสียหาย

จากกรณีเกิดเหตุ "ไฟไหม้ผับชลบุรี" ที่สร้างความสะเทือนใจไปทั้งประเทศ ทั้งนี้ทางแพทย์ รพ.รามาฯ จึงได้เขียนบทความแนะ 8 วิธีเอาตัวรอดความรู้ที่ควรมีติดตัวจากสถานการณ์ไฟไหม้

จากเหตุการณ์เศร้าสลด ไฟไหม้ผับชลบุรี ผับดังย่านเมืองสัตหีบ จังหวัชลบุรี ในขณะที่ที่นักเที่ยวยามราตรีกำลังสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรีและบรรยากาศืี่กำลังใช้บริการในสถานที่เริงรมย์แบบนี้ กลับเกิดเหตุไม่คาดฝัน ได้เกิดเพลิงไหม้ลุกลามทั่วร้านอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากตัวหลังคาของร้านมีการฉีดพ่นโฟมสำหรับซับเสียง ซึ่งเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย ประกอบกับตัวช่องระบายลมมีเพียงแค่ตรงประตูด้านหน้า ยิ่งเป็นชนวนทำให้ไฟโหมอย่างรุนแรง และได้คร่าชีวิตนักเที่ยวเที่ยวไปถึง 14 คน และบาดเจ็บหลายสิบรายจาการหนีเอาตัวรอดจากกองไฟภายในร้าน

ทั้งนี้จากกรณีไฟไหม้ผับชลบุรี ทำให้คนตระหนักเดี่ยวกับการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ดังกล่าวนี้ได้อย่างไร วันนี้ทางสปริงนิวส์ จึงได้ขอนำข้อมูลเกี่ยวกับการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ที่ควรรู้ไว้ติดตัว ของเว็บไซต์ Rama Channel คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ได้ศึกษาและจดจำไว้

ทาง Rama Channel คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาเผยถึงสาเหตุการเสียชีวิตจากสถานการณ์ไฟไหม้และวิธีที่จะทำให้ผู้ประสบภัยเอาตัวรอดได้ มีดังนี้


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุการเสียชีวิตจากสถานการณ์ไฟไหม้

-ร่างกายถูกเผาไหม้

-ในควันไฟจะมีเขม่าต่าง ๆ ที่ไปอุดตันทางเดินหายใจ ส่งผลให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันและเสียชีวิตในที่สุด

-ควันไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และมีสารไฮโดรเจนไซยาไนด์ที่เกิดจากเผาไหม้เบาะและพลาสติก สาร 2 ชนิดนี้ หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะไปจับตัวกับฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นเม็ดเลือดที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้ไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้และเสียชีวิตในที่สุด

- สารอื่น เช่น ไฮโดรเจนคลอไรด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ท่อพีวีซี และสารไนตริกออกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้พวกพอลิเมอร์ ทำให้ระคายเคืองบริเวณต่าง ๆ เช่น ระคายเคืองตา ทำให้แสบตา และหากไปโดนเยื่อบุที่สำคัญอย่างเยื่อบุทางเดินหายใจก็จะทำให้เสียชีวิตได้

-ไอร้อนที่เกิดจากความร้อน หากสูดดมมาก ๆ จะทำให้ทางเดินหายใจบวมส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและเสียชีวิตได้

-เมื่อผิวหนังถูกเผาไหม้รุนแรง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย หรืออาจทำให้ร่างกายสูญเสียในน้ำปริมาณมาก และเสียชีวิตลงในที่สุด

- สาเหตุอื่น ๆ เช่น อุบัติเหตุจากการหลบหนี เป็นต้น

 

วิธีการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ไฟไหม้

1.ตั้งสติแล้วรีบพาตัวเองออกมาจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด

2.หลีกเลี่ยงการสูดควันต่าง ๆ เข้าไป เพราะอาจทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ทั้งยังได้รับสารเคมีต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ

3.เอาผ้าชุบน้ำปิดปากปิดจมูก หรือหาผ้าห่มชุบน้ำแล้วห่มตัว จากนั้นรีบหาทางออกมาจากที่เกิดเหตุ

4.หากอยู่ในห้อง อย่าเพิ่งรีบเปิดประตู ควรจับประตูก่อนเพื่อดูว่าร้อนหรือไม่ หากรู้สึกร้อนนั่นหมายถึงอาจมีไฟอยู่หลังประตู จึงไม่ควรเปิดเพราะจะทำให้ควันไฟเข้าห้อง ควรหาผ้าหรืออื่น ๆ มาอุดตรงประตู เพื่อป้องกันไม่ให้ควันไฟเข้ามาในห้องได้

5.หากติดอยู่ในห้องพยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ เช่น ส่องไฟมือถือออกไปทางหน้าต่าง เพื่อให้ภายนอกรู้ว่ามีคนต้องการความช่วยเหลืออยู่

6.หลีกเลี่ยงการใช้ลิฟต์ ควรใช้บันไดหนีไฟแทน

7.หลีกเลี่ยงการวิ่งหนีเข้าจุดอับ

8.ระหว่างหาทางออกจากที่เกิดเหตุ หากมีควันมากพยายามก้มต่ำหรือคลาน เพราะออกซิเจนจะลอยอยู่ที่ต่ำ

ควรปฏิบัติอย่างไรก่อนเกิดเหตุไฟไหม้

ไม่ว่าจะเข้าพักที่ใดก็ตาม ทั้งการเช่าอยู่ห้องพักระยะยาวและระยะสั้น ควรสังเกตทางหนีไฟและจดจำตำแหน่งเอาไว้อย่างแม่นยำ เพื่อที่เวลาเกิดเหตุจะได้พาตัวเองออกจากที่เกิดเหตุได้ทันเวลา เพราะที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ประสบภัยหลายรายไม่ได้จดจำทางหนีไฟเอาไว้ ทำให้เมื่อเกิดเหตุไม่สามารถหลบหนีได้ทันเวลา

ทั้งนี้สถานการณ์ไฟไหม้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและสามารถคร่าชีวิตผู้ประสบภัยได้ ทำให้ทุกคนไม่ว่าใครก็ตามควรมีความรู้เบื้องต้นในการเอาตัวรอดจากไฟไหม้ติดตัวไว้ใช้ในยามคับขัน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและเพื่อนำความรู้นี้ไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อได้อีกด้วย

แหล่งที่มา https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%84/

 

related