ไม่ว่าใครๆ ต่างก็กลัวความตาย แต่ไม่ใช่กับเทรนด์วัยรุ่น ที่มองว่า “ความตายเป็นเรื่องปกติ” ทั้งแอปพลิเคชั่นที่แจ้งเตือนเวลาตายวันละ 5 ครั้ง ตายแล้วกลายเป็นปุ๋ยหมักรักษาโลก หรือวิชา การตายอย่างมีคุณภาพ ที่เปิดสอนเตรียมพร้อมให้เผชิญกับความ “ตาย” อย่างเป็นธรรมชาติ
ความตายเป็นสิ่งที่ใครๆ ต่างก็หวาดกลัวเมื่อเวลานั้นมาถึง แต่ "Death Awareness" สามารถช่วยให้ใครหลายๆ คนที่กำลังกลัววันสุดท้ายของชีวิต ได้เริ่มตระหนักถึงความตาย และมองว่าความตายนั้นมีอยู่ทุกที่ ทุกเวลา สักที่แห่งไหนบนโลกใบนี้ก็ตาม และทุกคนหลีกหนีไม่พ้นความตาย
ซึ่งคนทั่วไปอาจจะมองว่านี่คือการเรียนรู้ความตาย แต่ถ้ารู้แล้วไม่ใส่ใจจะเรียกสิ่งนี้ว่าตระหนักไม่ได้
และเช่นเดียวกันกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งมองว่า Death Awareness เป็นเทรนด์ที่น่าสนใจในกลุ่มวัยรุ่นยุคปัจจุบัน ที่มีแนวโน้มการตระหนักในเรื่องของความตายที่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไป เพราะคนกลุ่มนี้เติบโตมาท่ามกลางการตั้งคำถามและเต็มไปด้วยความท้าทายของความเชื่อสมัยเก่า เช่น ถ้าทำแบนี้จะไม่ดีกว่าหรอ ทำไมสิ่งนี้ถึงโดนห้าม?
ดังนั้นการที่กลุ่มวัยรุ่นในสมัยนี้จะมองว่าความตายเป็นเรื่องต้องห้าม ในทางกลับกันก็จะยิ่งอยากแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นเพิ่มมากขึ้น และเมื่อคนยุคใหม่เริ่มมองความตายเป็นเรื่องปกติและจับต้องได้และอยากให้คนรอบข้างเข้าใจถึงสิ่งนี้
จึงนำไปสู่การจัดเตรียมแผนรับรองในกรณีที่ความตายมาเยือนถึงตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการหาสถานที่การจัดศพ การบริจาคร่างกาย มรดกและพิธีกรรมต่างๆ ที่ตนเองต้องการให้เป็นไปในรูปแบบนั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เผยผลวิจัย ใช้กัญชาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งใช้นาน IQ ยิ่งลดลง
เทรนด์แพ็กเกจจิงอาหารที่ผู้ประกอบการยุคใหม่ต้องเอาใจลงไปเล่น
รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คนยุคใหม่มีความคิด Death Awareness มากขึ้น เพราะโลกปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยการแข่งขัน และคนยุคใหม่มีคติที่ว่า “ถ้าอยากประสบความสำเร็จในโลกนี้ เราต้องมีแรงจูงใจ (Passion) และความกระตือรือร้นที่จะทำอะไรให้เกิดประโยชน์ (Productive) อยู่ตลอดเวลา”
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความคิดนี้อาจเป็นทั้งผลดีและผลเสียได้ในเวลาเดียวกัน
แต่ถึงอย่างนั้นการที่คนรุ่นใหม่พยามที่จะผลักดันตัวเองให้สอดคล้องกับความคิด Death Awareness ก็จะทำให้ยิ่งอยากที่จะพยามใชัชีวิตให้คุ้มค่าในทุกๆ วัน และการผลักดันที่เกิดขึ้นจากการตระหนักถึงความตายของคนรุ่นใหม่ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ ก็ได้ผลักดันแนวคิด Death Awareness
โดยมีความหวังว่าคนเราจะสามารถพูดคุยเรื่องความตายได้อย่างเรื่องปกติและเป็นธรรมชาติ และปัจจุบันก็ได้มีการรณรงค์และบริการที่เกี่ยวกับการตายอย่างไรบ้าง?
1. WeCroak เป็นแอปพลิเคชั่นที่เตือนในทุกๆ วันว่า เรากำลังจะตาย แอปฯ นี้ถูกพัฒนาโดย KKIT Creations โดยมีระบบแจ้งเตือนวันละ 5 ครั้ง ว่าเรากำลังจะตายโดยยึดหลักแนวคิดจากชาวภูฏาน มาผลักดันให้หัดใช้ชีวิตให้เต็มที่ในแต่ละวัน และภายในแอปยังมีโควตสร้างแรงบันดาลใจให้อีกด้วย
2.จะดีกว่ามั้ยถ้าเราตายไปแล้วเป็นปุ๋ยหมัก? ตอนนี้ในอเมริการเริ่มมีบริการรับจัดการศพโดยใช้จุลินทีย์ในการย่อยสลาย เพราะการฝังทำให้เปลืองพื้นที่ และการเผาก็สร้างมลภาวะทางอากาศ ซึ่งวิธิการจัดศพในรูปแบบนี้เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับรุ่นใหม่เพื่อให้การตายของตนเองมีประโยชน์มากขึ้น
ถึงอย่างนั้นไทยก็ยังไม่มีวิธีการจัดการศพแบบนี้ หากประสงค์ต้องการให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือการบริจาคร่างกายแก่โรงพยาบาลเพื่อต่อชีวิตให้กับผู้ป่วยและเป็น "อาจารย์ใหญ่" ให้แก่นิสิต อีกต่อไปด้วย
แต่ในไทยก็มีการเปิดการสอนวิชา "การตายอย่างมีคุณภาพ" ที่เปิดให้เรียนออนไลน์ผ่าน Chula MOOC ซึ่งวิชานี้ได้ทำการเปิดสอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่จะสอนเกี่ยวกับการค้นหาตัวเองและการมีชีวิตอยู่ โดยวิชานี้ก็ได้รับการขนานนามว่าเป็นวิชาที่เด็กรุ่นใหม่สนใจและอยากเรียนมากที่สุด และทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทำการเปิดสอนให้ประชาชนทั่วไปเข้าเรียนได้เหมือนกัน
สุดท้ายแล้วคนรุ่นใหม่มองว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติที่สุดแสนจะธรรมดา ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ไม่มีวันหลีกหนีพ้น แต่การตระหนักถึงความตายก็เป็นแรงผลักดันชั้นเยี่ยมที่ทำให้เราหรือใครบางคนอยากที่จะมีชีวิตเพื่อสร้างสิ่งดีๆ ต่อไป และอนุญาตให้ตัวเองมีความสุขได้เหมือนวันสุดท้ายของชีวิต
แหล่งที่มา
https://www.bbc.com/travel/article/20150408-bhutans-dark-secret-to-happiness/
https://www.chula.ac.th/highlight/48092/