svasdssvasds

สรุปให้! จุฬาฯ-ราชภัฏ หลังโต้กันเดือด #เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

สรุปให้! จุฬาฯ-ราชภัฏ หลังโต้กันเดือด #เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

หลังดราม่าประเด็นเดือดคนจบ ม.ราชภัฏ ได้ออกเสนอความเห็นอยากให้มีการลองแลกเปลี่ยนที่เรียน จุฬาฯ สักหนึ่งเทอม เพื่อพิสูจน์กันไปเลยว่า “ราชภัฏไม่ได้ด้อย” แต่ผลกลับพลิกเหมือนโพสนี้โดนแซะดูถูก หรือ เหยียดหยามสนั่นโซเชียล

หลังดราม่าประเด็นเดือดคนจบ ม.ราชภัฏ ได้ออกเสนอความเห็นอยากให้มีการลองแลกเปลี่ยนที่เรียน จุฬาฯ สักหนึ่งเทอม

เพื่อพิสูจน์กันไปเลยว่า “ราชภัฏไม่ได้ด้อย” แต่ผลกลับพลิกเหมือนโพสนี้โดนแซะดูถูก หรือ เหยียดหยามสนั่นโซเชียล

ซึ่งนับว่าเป็นเป็นประเด็นดราม่าที่ร้อนระอุโซเชียล หลังจากมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ลงรูปภาพ ที่ทำการแคปความคิดเห็นจากชาวเน็ตคนหนึ่ง ที่ได้เข้ามาแสดงถึงข้อความดังกล่าวนี้

“อยากให้มีโครงการนักศึกษาแลกเปลี่ยน เอาเด็กจุฬาฯ ไปเรียนราชภัฏเทอมหนึ่ง ใช้ข้อสอบของมหาวิทยาลัยนั้นๆ สอบตัดเกรดกันที่มหาวิทยาลัยที่ตัวเองไปแลกเปลี่ยน พวกคุณจะได้รู้ว่าเด็กราชภัฏไม่ได้โง่ เด็กราชภัฏก็มีคุณภาพไม่เชื่อลองทำดูสิ”

ก่อนจะมีคนเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์โต้ตอบกลับไปที่ต้นโพสต์ว่า “เรื่องแลกเปลี่ยนจะไม่ต้องเกิดขึ้นเลยจ้า ถ้าหล่อนสอบติดจุฬาฯ ตั้งแต่ตอนแรก” พร้อมระบุข้อความเพิ่มเติมว่า “พอยต์คือ ถ้าคุณเก่งจริงคุณก็ทำได้ ไม่ใช่มาร้องป่าวๆ ว่าเก่ง แค่ทำไมได้เหมือนพูด นี่ไม่เคยเห็น Cu เหยียด Ru เลยนะ มีแต่เห็น Ru แหละ ที่ชอบวางบทบาทให้คนนั้นคนนี้มาดูถูกตัวเองและอีกอย่าง ถ้าเก่งจริง เธอจะกลัวอะไร”

สรุปให้! จุฬาฯ-ราชภัฏ หลังโต้กันเดือด #เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยซีเป่ยใช้เทคโนโลยีฟื้นคืนใบหน้าผู้คนยุคจีนโบราณ

ชัชชาติ พ่อผู้ไม่ยอมแพ้เพื่อลูก "แสนดี" จากผู้พิการการได้ยินสู่บัณฑิตใหม่

โดยภายหลังการโต้กลับนี้ทำให้มีชาวทวิตเตอร์เข้ามาแสดงความคิดกันอย่างล้นหลามและต่างเข้ามาปกป้องสถาบันของตนเองอย่างเป็นจำนวนมาก โดยภายในเย็นวันที่ 25 ก.ค.65 ก็ได้มีคนจากฝั่ง CU ออกมาพูดถึงประเด็นนี้เพิ่มเติมว่า

“เมื่อเย็นเห็นสเตตัสของเด็กราชภัฏที่บอกว่าอยากให้มีโครงการแลกเปลี่ยนมาเรียนที่จุฬาฯ ที่มีคนบางกลุ่มแคปมาขำคิกคักกันแล้ว รู้สึกว่าเป็นอะไรที่ใจร้ายมาก เราอ่านเจอคอมเมนต์ในทวิตเตอร์แนวแบบ “เด็ก ฬ เขาไม่มาอะไรกับราชภัฏหรอก มันคนละ tier กัน เขาไปตีกับธรรมศาสตร์นู่น” หรือ “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” แล้วก็รู้สึกว่ามันเป็นคำพูดที่ใจร้ายมาก เราไม่แปลกใจที่เด็กราชภัฏจะไม่พอใจในสถานะของมหาวิทยาลัยตัวเอง

เพราะสังคมยังคงตีตราว่าเด็กราชภัฏ = ไม่เก่ง สอบมหาวิทยาลัยรัฐดังๆ ไม่ติด พวกเขาไปที่ไหน แค่เห็นชื่อมหาวิทยาลัยก็โดนเหยียด โดนปฏิเสธ โดนปัดตกไปหมดแล้ว ดังนั้นมันไม่แปลกเลยซักนิดถ้าเค้าจะรู้สึกโดนด้อยค่าตลอดเวลา 

ยิ่ง เห็นเด็กจุฬาฯ ออกมาพูดว่า “ก็สอบให้ติดก่อนสิ” มันยิ่งดูใจร้ายมาก ส่วนตัวเราเชื่อว่า 85% ของคนที่ติดจุฬาฯ คือคนที่มีโอกาสในชีวิตดีกว่าคนอื่น อย่างเราเองก็รู้ตัวมาตั้งแต่เด็กว่าไม่ใช่คนฉลาดหัวไว แต่โชคดีที่ที่บ้านถึงจะไม่รวยแต่ก็มีแรง

ซัพพอร์ต ส่งไปเรียนพิเศษ ยิ่งช่วงปิดเทอมก่อนสอบเข้าเตรียมก็เช่าหอให้ไปเรียนในกรุงเทพฯ ในขณะที่เด็กต่างจังหวัดบางคนยังไม่มีโอกาสได้รู้เลยด้วยซ้ำว่าเตรียมอุดม/จุฬาฯ คืออะไร หรือต่อให้รู้จัก มันก็เป็นความฝันที่ไกลจนหลายคน ไม่คิดด้วยซ้ำว่าตัวเองจะเอื้อมถึง

 

เราเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ (แทบ) ทุกคน เราเชื่อเสมอว่าถ้าทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกัน ทุกคนก็มีสิทธิที่จะได้เป็นแสดงศักยภาพในด้านที่ตนเองถนัดผ่านการบ่มเพราะจากการศึกษาที่ดี ค่านิยมการเข้าเตรียมอุดม/จุฬาฯ มันก็คือความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยดีๆ นี่เอง 

การที่เด็กมหาวิทยาลัย so called ชื่อดังต่างๆ ออกมาขำคิกคักเด็กราชภัฏที่แค่ต้องการพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้ตรงตามภาพจำที่สังคมยัดเยียดให้มันก็ไม่ต่างอะไรจากการลืมรากเหง้า privilege ในชีวิตของตัวเองเลยซักนิด สงสัยคนที่ออกมา เรียกร้องอยากให้คนเท่าเทียมกัน แต่พอถึงเรื่องนี้กลับขำชอบใจที่ตัวเองสูงส่งกว่าคนอื่น แบบนี้เมื่อไหร่คนจะเท่ากันจริงๆเสียที”

และต่อมาก็ทำให้ประเด็นนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่ายทันที โดยมาจากสองฝ่ายที่ โดยเหยียดจริงและเหยียดตัวเอง โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไปเป็นจำนวนมากถึง 1.2 หมื่น แชร์ พร้อมการถกเถียงกันอย่างเป็นวงกว้าง อาทิ

“ปี 1 เด็ก ม.ทั่วไปนั่งร้านเหล้า ปี 1 เด็กบาง ม.เรียนพิเศษหลังเลิกเรียนติวกันยับ อยู่สังคมแบบไหนก็ได้แบบนั้นครับ เราเลือกเองทำเอง สถาบันไม่ผิดอะไรเลย ส่วนเรื่องสมัครงานจบจากไหน เขาก็ดูที่สมองเราอยู่ดี แค่มีวุฒิมันไม่ได้บ่งบอกว่าคุณเก่งในงานนั้นๆ”

"ทุกที่มีคนเก่งและไม่เก่งแหละ แต่ถ้าปังจริงก็เข้า ม. ดังได้โดยไม่ต้องมาเรียกร้องความเท่าเทียมอะไรเลย คำตอบทุกอย่างมันอยู่ในย่อหน้าที่ 3 ถ้าเด็กมีความมุ่งมั่น ครอบครัวมีแรงสนับสนุน ทำอะไรมันก็ปัง เลิกเรียกร้องความเท่าเทียมในประเทศห่วยๆ แบบนี้เถอะ อยู่จนตายก็ไม่ได้เห็นความเท่าเทียมอย่างแท้จริง”

สรุปให้! จุฬาฯ-ราชภัฏ หลังโต้กันเดือด #เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน

โดยคาดว่าเรื่องนี้น่าจะยังไม่จบกันง่ายๆ และจากประเด็นนี้ทำให้สังคมต้องเริ่มตั้งคำถามถึงความเท่าเทียมทางด้านศึกษาเสียที ว่าจริงๆแล้ว วลีที่บอกว่า “เรียนที่ไหนก็เหมือนกัน” นั้น จริงๆแล้วเป็นเรื่องจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่วลีที่เอาไว้ปลอบใจตนเองเพียงเท่านั้น ? แต่ถึงอย่างไรก็ตามการศึกษาไม่ว่าจะจบจากสถาบันไหน หากมีความแน่วแน่แล้วตั้งใจ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต

related