svasdssvasds

"โรคฝีดาษลิง" เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ WHO ประกาศแล้ว

"โรคฝีดาษลิง" เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ WHO ประกาศแล้ว

"WHO" องค์การอนามัยโลก ประกาศ "โรคฝีดาษลิง" เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ หลังพบการระบาดแล้วกว่า 70 ประเทศทั่วโลก และพบผู้ป่วยฝีดาษลิงในไทยแล้ว

 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของ “โรคฝีดาษลิง” ซึ่งตรวจพบแล้วในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก

 นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ได้ส่งรายงานการประชุม คณะกรรมการฉุกเฉินด้านกฎระเบียบด้านสุขภาพระหว่างประเทศ (IHR) ครั้งที่ 2 (2005) (IHR) เกี่ยวกับการระบาดของโรคฝีในสัตว์หลายประเทศ ซึ่งจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

 จากการร่วมพิจารณาอย่างรอบคอบ เกี่ยวกับการระบาดครั้งนี้ คณะกรรมการได้มีความเห็นแบบไม่เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับคำแนะนำในการกำหนดภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) 

 อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ตระหนักถึงความซับซ้อนและความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านสาธารณสุขนี้ เมื่อพิจารณาถึงความคิดเห็นของสมาชิกคณะกรรมการและที่ปรึกษา ตลอดจนปัจจัยอื่นๆ ที่สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับด้านสุขภาพระหว่างประเทศแล้ว

จึงได้กำหนดให้ การระบาดของโรคฝีดาษลิงในหลายประเทศครั้งนี้ ถือเป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” (Public Health Emergency of International Concern หรือ PHEIC) ซึ่งเป็นระดับเตือนภัยสูงสุดของ WHO 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• สธ. เผยผลตรวจผู้สัมผัสฝีดาษลิง เสี่ยงสูง 19 ราย ไม่พบเชื้อ 2 ราย รอผล 17 ราย

• สหรัฐฯ พบ เด็กป่วยโรคฝีดาษลิงครั้งแรก 2 ราย คาดติดเชื้อในครัวเรือน

• สธ. แถลง ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงรายแรก ไปสถานบันเทิงภูเก็ต 2 แห่ง ตรวจแล้ว 142 คน

 สำหรับสถานการณ์โรคฝีดาษลิงในประเทศไทย ซึ่งมีการยืนยันพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิงรายแรกของประเทศไทย ที่ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 21 ก.ค.65 ที่ผ่านมา โดยนับเป็นประเทศที่ 66 จากทั่วโลกหลังจากมีการระบาดมา 2 เดือนกว่า

 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) ได้ให้ข้อมูลว่า ฝีดาษวานร มี 2 สายพันธุ์ใหญ่ คือ แอฟริกาตะวันตก ที่มีการระบาดอยู่ในขณะนี้และมีความรุนแรงน้อยกว่าแอฟริกากลาง ส่วนใหญ่ระบาดอยู่ในแอฟริกา ซึ่งการระบาดในรอบนี้ส่วนใหญ่เป็นแอฟริกาตะวันตกและมีสายพันธุ์ย่อย

โดยผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรกที่ยืนยันในประเทศไทย พบเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก แต่เมื่อมีการตรวจสอบสายพันธุ์ย่อย พบเป็น A.2 สัมพันธ์กับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในอเมริกา ไม่ได้แปลว่าผู้ป่วยรายนี้ติดเชื้อจากอเมริกาหรือจากไหน เพราะการจะติดจากไหนต้องพบตัวและซักประวัติอีกครั้ง แต่เป็นความรู้ให้รู้ไว้ ส่วนสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดในยุโรปเป็น B.1

 

 “ถ้าใช้ชีวิตปกติ พฤติกรรมทั่วไป เดินเฉียดกันความเสี่ยงแทบจะเป็นศูนย์บางคนถามปัสสาวะมากระเด็นใส่เราจะติดหรือไม่ ไม่ติดหรอก โรคนี้ไม่ได้ติดง่ายๆ เชื้ออยู่ตามตุ่มตามหนอง ต้องสัมผัสใกล้ชิด เดินเฉียดกันไม่ติดแน่นอน ติดยากกว่าโรคเอดส์ ซึ่งเป็นโรคเพศสัมพันธ์จริงๆ ตุ่มขึ้นภายใน 2 สัปดาห์จะแห้งแล้วหายไป ไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

related