เครือข่ายภาคประชาชน เปิดช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ให้บุคคลทั่วไปร่วมลงมติโหวตศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ-วางใจ รัฐบาล เสียงจากโลกคู่ขนานเพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากเจ้าของภาษีของประเทศ
เข้มข้นขึ้นทุกวัน นับถอยหลัง อภิปรายไม่ไว้วางใจ ครั้งสุดท้ายของรัฐบาลนายก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 65 แม้รัฐบาลจะกุมเสียงข้างมาก แต่ไม่แน่ว่าจะชนะเสียงจากประชาชนนอกสภาหรือไม่ ร่วมกันส่งเสียงของคุณผ่าน 4 ช่องทางไปให้ถึงสภาผู้แทนราษฏร ดังนี้
ช่องทาง On-site มี 1 ช่องทาง
เปิดให้ลงมติที่หน้าสภา ดำเนินกิจกรรมโดย กลุ่ม ราษฎร หลังจากเปิดจุดลงมติกระจายทั่วประเทศไปในวันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีผู้ร่วมลงคะแนนเสียงกว่า 17000 คน
โดยจุดลงมติสุดท้ายที่ยังเปิดอยู่ในบริเวณหน้าสภาฯ ที่มีประชาชนบางส่วนร่วมฟังอภิปรายสดติดตามแบบเรียลไทม์
ซึ่งจะเปิดให้ลงมติตั้งแต่ 19-21 กรกฎาคม 2565 และจะนับคะแนนพร้อมกันในวันที่ 22 กรกฎาคม 2565
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“อนุทิน ”ขอโทษหลังพูดติดตลกพี้กัญชา ยันไทยรับมือโควิด 19 ได้ดีเยี่ยม
ตอกตะปูปิดตาย ทลายระบอบประยุทธ์ ! พรรคก้าวไกล ยัน ศึกซักฟอก มีบิ๊กเซอร์ไพรส์
ช่องทาง Online มี 3 ช่องทาง ได้แก่
1. "อภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภารัฐบาลควรอยู่ต่อ หรือพอแค่นี้? " ในแคมเปญ #โหวตไล่ลุง ร่วมกับ พรรคไทยสร้างไทย ร่วมลงคะแนนเสียงทางช่องทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ หรือ สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อลิงก์ไปที่หน้าลงคะแนน
https://www.d-vote.com/thaisangthai
2. เชิญชวนมาร่วมกันลงมติไม่ไว้วางใจประยุทธ์ และฝากข้อความสั้นๆ ถึงพลเอกประยุทธ์และรัฐมนตรีในรัฐบาล ผ่าน ส.ส. เพื่อไทย ในแคมเปญ #ไล่ประยุทธ์ ได้ที่ LINE OA เพื่อไทย @pheuthai https://lin.ee/GMTMOC3
3. โหวตผ่านทีวี 4 ช่อง เปิดโหวตคู่ขนาน สำหรับประชาชนและบุคคลทั่วไป
เครือข่ายเสียงประชาชน เปิดโหวตลงมติไม่วางใจ-ไม่ไว้วางใจรัฐบาล ทางออนไลน์ ผ่านการสแกน QR code เริ่มลงมติในวันที่ 22 กรกฎาคม ตั้งแต่ 18.00 น. ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม ปิดลงมติเวลา 23 กรกฎาคม 11.00 น.
นำโดยเครือข่ายนักวิชาการ 4 มหาวิทยาลัย (ธรรมศาสตร์, นิด้า, ศรีนครินทรวิโรฒ, รังสิต) ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์ดิจิตอล ได้ที่ เนชั่น ไทยรัฐทีวี ข่าวเวิร์พอยท์ และพีพีทีวี และสื่ออินเตอร์เน็ตอื่นๆ หนึ่งมือถือโหวตได้หนึ่งครั้ง เกาะติดหน้าจอรอสแกนลงมติ ได้ในวันเวลาที่กำหนด
1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
5. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
6. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
7. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
8. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
9. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
10. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
11. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง