อธิบดีกรมควบคุมโรค เผย สัดส่วนอัตราการครองเตียงผู้ป่วยหนักเริ่มตึงตัว! ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน 4 จังหวัด เตรียมพร้อมระบบบริการ ด้านสธ. ระบุสามารถขยายเตียงเพิ่มได้ ส่วน กทม. ต้องหารือร่วมกันจัดระบบ กลุ่มเสี่ยงต้องรีบเข้าถึงการรักษาเพื่อลดการเสียชีวิต
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ใน กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สัดส่วนการครองเตียงผู้ป่วยหนักเริ่มตึงตัว เนื่องจากมีคนไข้เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะทางรพ.ที่เคยกันไว้สำหรับโควิดก็เอาไปใช้สำหรับดูแลผู้ป่วยทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นก็จะขยับขยายเตียงเพิ่มได้
นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า การเข้าถึงการรักษาของกลุ่มเสี่ยงเป็นประเด็นสำคัญที่จะช่วยลดการเสียชีวิตได้มากที่สุดในระยะต่อไป ซึ่งขณะนี้กราฟผู้ป่วยอาการหนักที่เข้ารพ.ยังอยู่ในเส้นสีเขียว สำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจแนวโน้มยังสูงอยู่แต่เชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายและเบาลง สำหรับผู้เสียชีวิตก็ไต่ระดับยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป ดังนั้นมามาตรการที่จะดำเนินการต่อไปนั้นความร่วมมือของประชาชนสำคัญมากจึงขอความร่วมมือทำ 2U คือ
ซึ่งขณะนี้เปิดทุกที่ไม่เว้นวันหยุด รวมถึง เทศบาล ตำบลได้จัดชุดฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุตามบ้านด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชัชชาติ แจงหนังสือ สธ. ไม่ได้เชิญ ผู้ว่าฯ กทม. หารือ ปมลดกิจกรรมเสี่ยงโควิด
หมอยง แนะ หากมีอาการเจ็บคอ ไอแห้งๆ เสียงเปลี่ยน มีน้ำมูก รีบตรวจ ATK ด่วน
นพ.โอภาส กล่าวว่า สายพันธุ์โอมิครอน BA.4 และ BA.5 อาการเด่นคือ
เพราะฉะนั้นคนหนุ่มคนสาวแข็งแรง ฉีดวัคซีนมาแล้วอาการก็จะอยู่ประมาณนี้ แต่ก็อย่านิ่งนอนใจโดยคิดว่าเป็นหวัดแต่หากมีอาการแล้วควรตรวจ ATK สำหรับบริษัทห้างร้านหากมีคนติดโควิด ถ้าอาการน้อยให้แยกกักตัวที่บ้านตามคำแนะนำแพทย์ 7 วันเป็นอย่างน้อย หลังจากนั้นหากสบายดีก็สามารถกลับมาทำงานได้ อย่างไรก็ตามช่วง 3 วันแรกขอให้งดเว้นการพบกับผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
เมื่อถามถึงกรณีมีรายงานผู้เสียชีวิตตามบ้าน นพ.โอภาส กล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่กทม. จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องหารือกับเขา เพราะจะเป็นจุดที่มีปัญหา และต้องเห็นใจ เพราะเป็นพื้นที่ที่มีรพ.เยอะ ทั้งเอกชน รพ.สังกัดมหาวิทยาลัย รพ.สังกัดกทม. และรพ.ภาครัฐอื่นๆ ทั้งสังกัดตำรวจ ทหาร การบูรณาการจัดการหากไม่คุยกันให้เข้าใจจะมีปัญหาเรื่องการจัดการ ซึ่งต้องยอมรับว่ากทม. ไม่มีระบบการส่งต่อผู้ป่วย แตกต่างจากรพ.ในสังกัด สธ. ซึ่งสามารถสั่งการเรื่องการส่งต่อได้ ดังนั้น กทม.จึงต้องหารือ โดยสธ. ก็ต้องเป็นผู้ประสานให้มีการหารือกันเพื่อจัดระบบ