svasdssvasds

จาตุรนต์ ชี้ ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด อาจขัดสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

จาตุรนต์ ชี้ ปลดกัญชาออกจากยาเสพติด อาจขัดสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกฯ ตั้งคำถาม การถอดกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ที่รัฐบาลไทยได้กระทำไป เป็นการกระทำเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยสหประชาชาติหรือไม่ ? ชี้อาจขัดกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่องกัญชาเสรีกับข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ตนขอเสนอความเห็นเกี่ยวกับกัญชาเสรี ที่ทำกันอยู่ด้วยความเป็นห่วงที่สำคัญ คือ

1. การเปิดเสรีไปก่อน แล้วค่อยออกมาตรการตามหลัง น่าจะไม่ถูกต้องและมาตรการป้องกันผลเสียก็ไม่เพียงพอ

2. การส่งสัญญาณเสมือนจะบอกว่ากัญชามีแต่ประโยชน์ก็ไม่ถูกต้อง

ผมยังมีข้อห่วงใยที่มากกว่า 2 ข้อนี้และได้พยายามตั้งคำถามไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายจึงขอนำเสนออีกครั้ง

จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกฯ

ข่าวและบทความที่เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่เรื่องเล็กครับ!!! ตนเข้าใจว่าการทำให้กัญชาออกจากการเป็นยาเสพติด น่าจะไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่ประเทศไทยไปร่วมลงนามไว้

นั่นก็คือการประชุมสมัชชาซึ่งกระทำภายใต้สหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติด ชื่อการประชุมว่า Single Convention on Narcotic Drugs 1961 (หรือเรียกสั้นๆ ว่า Single Convention 1961 หรือ C61) ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการว่าด้วยยาเสพติด (Commission on Narcotic Drugs: CND) ขององค์การสหประชาชาติ

ประเด็นอยู่ที่ว่าตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ C61 กัญชาถือเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์ร้ายแรง แม้ว่าต่อมาปี 2020 มีการเสนอให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ยังต้องควบคุมเข้มข้นในเรื่องต่างๆ ตลอดกระบวนการทั้งการใช้ตามวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น

ควบคุมการค้า (กัญชา) การเป็นเจ้าของ การบันทึกข้อมูลการค้าทุกกรณี การมีใบสั่งยา การควบคุมปริมาณ การจำกัดการผลิต การนำเข้าและส่งออก

จาตุรนต์ ชี้ กัญชาเสรี อาจขัดสนธิสัญญาระหว่างประเทศ

ข้อสรุปง่ายๆ ก็คือ แม้ในปี 2020 ได้มีการผ่อนปรนเพื่อให้ใช้กัญชาให้เกิดประโยชน์ทางการแพทย์และการวิจัยได้แล้ว แต่กัญชาตามเงื่อนไขของข้อตกลงสหประชาติทั้งระดับสนธิสัญญาและอนุสัญญา ซึ่งน่าจะมีศศักดิ์เท่ากับกฎหมายระหว่างประเทศ นั้น ยังถูกจัดเป็นยาเสพติดที่ต้องห้าม และประเทศสมาชิกจะต้องจัดให้มีกระบวนการควบคุมอย่างเข้มงวด ตนจึงต้องตั้งคำถามว่า

1. การถอดกัญชาออกจากการเป็นสารเสพติดประเภทที่ 5 ที่รัฐบาลไทยได้กระทำไป เป็นการกระทำเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดย UN หรือไม่ ?

2. นโยบายกัญชาเสรีที่สนับสนุนให้มีการใช้ในลักษณะต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากทางการแพทย์และการวิจัย รวมทั้งการยกกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศหรือไม่ ?

3. หากไม่เป็นไปมาตรฐานที่กำหนดหรือขัดต่อสนธิสัญญาแล้วประเทศไทยจะถูกแซงก์ชั่นอย่างไรหรือไม่ ยังไม่นับว่าเรื่องนี้จะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวและภาพลักษณ์ของประเทศที่เริ่มเป็นปัญหาแล้ว

ที่มา FB : Chaturon Chaisang

related