ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เผยฝีดาษลิง ติดแล้วอาการไม่หนัก อาจต้องกักตัวนาน 60 วันขึ้นไป เพื่อแน่ใจว่าไม่แพร่เชื้อต่อ ระยะฟักเชื้อนานถึง 21 วัน ชี้ยังไม่มียารักษาเฉพาะ ใช้การรักษาประคับประคอง ส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิต
วันที่ 21 มิ.ย. 65 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในเวทีเสวนาวิชาการ Chula the Impact ครั้งที่ 9 เรื่อง “ชัวร์ก่อนแชร์ โรคฝีดาษวานร” ว่า โรคฝีดาษวานรหรือฝีดาษลิง (Monkeypox) จากการศึกษาพบว่า บางวันตรวจเจอไวรัส บางวันหายไป แม้หายไปนานก็กลับมาพบไวรัสวันที่ 73-75 ดังนั้น เมื่ออยู่ รพ.อาการไม่หนัก อาจต้องเก็บตัวไว้นาน เพื่อแน่ใจว่าไม่แพร่เชื้อต่อ อาจจะนาน 60 วันขึ้น
โดยการติดต่อคนสู่คนมีตัวแปร 2 อย่าง คือ สัมผัสใกล้ชิดนานพอสมควร และจำนวนไวรัสที่ปล่อยมามีมากพอสมควร โดยติดต่อจากละอองฝอย ไอ จาม หัวเราะ พูดคุย แต่ไม่ใช่ทางอากาศหรือลมหายใจ ข้อมูลจากอังกฤษพบว่าแพร่ได้ง่ายในชุมชน และมีข้อมูลสำคัญในต่างประเทศ แม้พบน้อย 7 ราย คือ เลือด จมูก ลำคอเจอไวรัสได้ ปัสสาวะเจอได้ แต่ไม่ได้บอกว่าติดเชื้อได้หรือไม่ การแพร่เชื้อทางละอองฝอย จมูก ปากนั้น
ข่าวที่เกี่ยว :
เทียบชัดๆ! "โรคฝีดาษลิง" กับโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสอื่นๆ แตกต่างกันอย่างไร
WHO เผย "ฝีดาษลิง" ระบาดหนัก แพร่ 2 สายพันธุ์พร้อมกัน รุนแรงกว่าโควิด
ถ้าแข็งแรงติดเชื้อไม่มีอาการ เชื้อไม่ปล่อยออกมาจากคนนั้น แต่หากเริ่มไม่สบายเชื้อจะเริ่มปล่อย เช่น ครั่นเนี้อครั่นตัว มีไข้ ไม่ต้องรอให้ผื่นขึ้นหรือต่อมน้ำเหลืองโตก่อน ดังนั้น ขอให้มีวินัยและตระหนักว่า เมื่อมีไข้อาจจะแพร่เชื้อให้คนอื่น อาจเป็นโควิด ฝีดาษลิง ไข้หวัดใหญ่ หวัดทั่วไป หรือไวรัสอีกมาก
ฉะนั้นเมื่อไม่สบาย ต้องเฝ้าระวังตัวเอง ต้องแยกตัว ใส่หน้าหน้ากากอนามัย ล้างมือและสังเกตตัวเอง ถ้าอาการไม่หนักไม่เป็นไร แต่ถ้าช่วงไม่เกินวันที่ 4 คลำต่อมน้ำเหลืองที่คอหรือไหปลาร้าแล้วโตมากพอควร อาจจะเกี่ยวกับฝีดาษลิง การมีไข้ ต่อมน้ำเหลืองหรือมีผื่น เกิดจากไวรัส แบคทีเรียได้อีกมาก แพทย์ต้องวินิจฉัยประมวลหลายอย่าง ตั้งแต่ประวัติไปต่างประเทศที่มีการระบาด พบปะกับคนหรือไม่ ไปเทศกาลหมู่มาก ตรวจสอบชันสูตรทางห้องแล็บ แต่หากมีการติดเชื้อนี้ร่วมกับโรคอื่น เช่น สุกใส จึงเป็นที่จับตาว่าใครเป็นฝีดาษวานร นอกจากโรคประจำตัวแล้ว อาจจะมีตัวอื่นเข้ามาร่วมด้วยหรือไม่ ผสมผสานได้และรุนแรงได้มากขึ้น ส่วนการรักษายังไม่มียาเฉพาะ ใช้การรักษาประคับประคอง ส่วนใหญ่ไม่เสียชีวิต
ส่วนวัคซีนนั้น อเมริกาและอังกฤษประกาศมีวัคซีน 2 ตัว แต่ใช้ 1 ตัว อังกฤษจะให้เฉพาะบุคลากรสาธารณสุขที่ดูแลฝีดาษวานรและคนเสี่ยงสัมผัสสูง ซึ่งไม่สามารถป้องกันติดเชื้อ 100% แต่เมื่อติดแล้วผ่อนหนักเป็นเบา ลดแพร่กระจายได้ ทั้งนี้ มีการศึกษาคำนวณทางคณิตศาสตร์ ถ้าฉีดวัคซีนฝีดาษหมดทุกคน ภูมิคุ้มกันหมู่ 100% จะป้องกันฝีดาษลิงได้ เพราะติดจาก 1 คนไปต่อน้อยกว่า 1 คน จะไม่มีการแพร่ระบาดในชุมชน
แต่เมื่อภูมิคุ้มกันหมู่เหลือน้อยกว่า 60% คือ มีคนเกิดมาอายุน้อยลงเรื่อยๆ แล้วไม่ได้รับวัคซีน เมื่อมีคนติด 1 คนจะแพร่ได้มากกว่า 1 คน เกิดการแพร่ระบาดในชุมชนขึ้น อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้แพร่ในชุมชนต่างๆ ตอนนี้ ส่วนการกลายพันธุ์ยังไม่มีที่น่ากังวลต้องจับตาต่อไป
ไทยเลิกปลูกฝีดาษตั้งแต่ปี 2523 แต่บางจังหวัดยังปลูกฝีอยู่ คาดว่าเลิกปลูกจริงในปี 2525 แต่การปลูกฝีดาษไม่ได้ป้องกันฝีดาษลิงได้ทั้งหมด และภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ลดลงตามอายุ เฉลี่ย 60-70 ปี สิ่งที่ต้องดำเนินการจากนี้ คือ 1.เร่งสำรวจคนที่ยังไม่ได้รับการปลูกฝี ซึ่งเป็นกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 50 ปี ว่ามีสัดส่วนเท่าไร 2.เตรียมฉีดวัคซีนให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้สัมผัสเสี่ยงสูง มีความอ่อนไหวไวต่อโรค เช่น เพิ่งผ่านการสัมผัสกับคนติดเชื้อใน 4 วัน แต่ไม่เกิน 21 วัน เนื่องจากระยะฟักเชื้อประมาณ 21 วัน