นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย ค้นพบว่า เจ้า ซูเปอร์หนอน (superworms) สามารถ ใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้
ซูเปอร์หนอน (superworms) อาจเป็นความหวังใหม่ของนักวิทยาศาสตร์ ในการรีไซเคิลปัญหาขยะพลาสติก เมื่อนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย ค้นพบว่า เจ้า ซูเปอร์หนอน (superworms) สามารถ ใช้ชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกโพลิสไตรีน polystyrene เป็นอาหาร เพราะเอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกซูเปอร์หนอน สามารถย่อยสลายได้
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน เหตุการณ์ที่อาจจะเป็น การค้นพบเล็กๆ และสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาครั้งใหญ่ได้ เมื่อซูเปอร์หนอน (superworms) หรือในชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ The Zophobas morio ซึ่งมีพื้นเพอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และ อเมริกากลาง มีความสามารถ ในการกิน โพลิสไตรีน polystyrene ซึ่ง เป็นพลาสติกประเภทหนึ่งที่ใช้แพร่หลายมากที่สุด แต่ที่ผ่านมา การรีไซเคิลขยะเหล่านี้นั้นไม่ง่ายเลย...และส่วนใหญ่ก็จะไปอยู่ในบ่อขยะ หรือหลุดไปถึงทะเล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Climate change? พายุทรายถล่มอิรัก 8 ลูกในรอบ 2 เดือน ผู้คนป่วยมากกว่า 5,000 คน
รัฐมนตรีตูวาลูร้องทั่วโลก ช่วยแก้ Climate change เพราะประเทศจะจมน้ำใน 50 ปี
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ในออสเตรเลีย ผู้ทำการทดลอง และ ค้นพบครั้งนี้ ให้ความเห็นว่า "เจ้าซูเปอร์หนอนเป็นราวกับเครื่องรีไซเคิล เราทำให้ โพลิสไตรีน เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจากนั้นก็ป้อนให้มัน ใช้เอนไซม์หลายชนิดในลำไส้ของพวกมันสามารถย่อยสลายได้" ดร.คริส รินเค้ จาก มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ให้ความเห็น
จากการเปิดเผยของผลการทดลองพบว่า นักวิจัยได้ให้ซูเปอร์หนอน (superworms) เป็น 3 กลุ่ม กินอาหารแตกต่างกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ และพบว่ากลุ่มที่กินโพลิสไตรีนไม่ใช่แค่อยู่รอด แต่ยังตัวใหญ่ขึ้นด้วย
ทั้งนี้ ในความจริงแล้ว ซูเปอร์หนอน (superworms) The Zophobas morio ในการทดลองครั้งนี้ ไม่ใช่ "หนอน" จริงๆ แต่พวกมันคือ ตัวอ่อนของ ด้วงดำ หรือ ด้วงขี้ไก่ (Darkling Beetle)
อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ใช่ครั้งแรก ที่มีการทำการวิจัยแล้วพบว่า แบคทีเรีย และเชื้อรา สามารถจัดการพลาสติกได้ และในทางกลับกัน มักจะมีการตั้งคำถามเสมอๆ ว่า ในทางเทคนิคแล้ว การใช้ หนอน, แบคทีเรีย หรือ เชื้อรา สามารถจัดการพลาสติก ในเชิงพานิชย์ ได้ มากน้อยแค่ไหนกัน ? ยังคงเป็นคำถามที่รอการเฉลยในอนาคต