svasdssvasds

กัญชาถูกกฏหมาย 69 ประเทศ ปลดล็อกเพื่อการแพทย์-เสรีกัญชาสำหรับสันทนาการ

กัญชาถูกกฏหมาย 69 ประเทศ ปลดล็อกเพื่อการแพทย์-เสรีกัญชาสำหรับสันทนาการ

69 ประเทศ กัญชาถูกกฏหมาย ปลดล็อกและเปิดเสรี ตามเงื่อนไขการใช้แต่ละประเทศที่แตกต่างกัน ตามจุดประสงค์การใช้งานทางการแพทย์และเพื่อสันทนาการ

ข้อมูลจาก Cannabit Addict รวบรวมไว้ในปี 2562 ระบุว่าจาก 193 ประเทศในโลก มี 69 ประเทศที่มีการ ปลดล็อกกัญชา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และสำหรับสันทนาการ มีเพียง 5 ประเทศเท่านั้นที่เปิดให้สามารถครอบครองและใช้ได้อย่างเสรีอย่างถูกกฏหมาย 

โดยแบ่งกลุ่มประเทศที่มีความเข้มข้นของกฏหมายออกเป็น 7 กลุ่มดังนี้ 

  1. กลุ่มที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาเสรี หรือถูกกฎหมายทั้งทางสันทนาการและการแพทย์ 5 ประเทศ คือ แคนาดา จอร์เจีย แอฟริกาใต้ อุรุกวัยและไทย (กำหนดปริมาณการใช้)
  2. กลุ่มประเทศที่ให้ใช้กัญชทางการแพทย์แบบถูกกฎหมาย แต่ใช้แบบสันทนาการยังไม่ถูกกฎหมายและมีการจำกัดการใช้ นิรโทษกรรม และไม่ถูกบังคับ มี 19 ประเทศ อาทิ เนเธอร์แลนด์ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย เบอร์มิวด้า ชิลี โคลอมเบีย โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์ เยอรมนี อิตาลี และสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น
  3. กลุ่มประเทศที่ให้ใช้กัญชาทางการแพทย์แบบถูกกฎหมาย แต่ใช้เพื่อสันทนาการผิดกฎหมาย 13 ประเทศ เช่น อังกฤษ นิวซีแลนด์ ศรีลังกา เดนมาร์ก นอร์เวย์ ไอร์แลนด์ กรีซมาซิโดเนีย และวานูอาตู เป็นต้น
  4. กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ และการสันทนาการแบบมีเงื่อนไข (จำกัดปริมาณการใช้อนุพันธ์ของกัญชา) หรือให้ใช้บางรัฐ มี 8 ประเทศ คือ สหรัฐ สเปน ออสเตรีย เบลเยียม บราซิล เอสโตเนีย เม็กซิโก และสโลวีเนีย
  5. กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ แบบมีเงื่อนไข แต่การใช้กัญชาเพื่อสันทนาการถือว่าผิดกฎหมาย 5 ประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ โรมาเนีย และตุรกี
  6. กลุ่มประเทศที่มีกฎหมายให้ใช้กัญชาแบบสันทนาการแบบมีเงื่อนไข แต่ใช้กัญชาทางการแพทย์ผิดกฎหมาย 19 ประเทศ เช่น บังกลาเทศ กัมพูชา เมียนมา ลาว อินเดีย อิหร่าน เอกวาดอร์ อียิปต์ เนปาล ปากีสถาน และโบลิเวีย เป็นต้น
  7. กลุ่มประเทศที่ให้กัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
     

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยประเทศไทยจัดอยู่หนึ่งกลุ่มที่มีกฎหมายให้ใช้ กัญชาแบบเสรี หรือถูกกฎหมายทั้งทางกัญชาสันทนาการและกัญชาการแพทย์ ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 5 พ.ศ.2565 ส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของพืชกัญชาได้แก่ ช่อดอก เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ไม่ว่าสดหรือแห้ง กากหรือเศษที่เหลือจากการสกัดกัญชาและยางกัญชา ไม่มีสถานะเป็นยาเสพติดอีกต่อไป เว้นแต่สารสกัดจากกัญชา-กัญชง ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC เกิน 0.2% เท่านั้น ที่ยังถือเป็นยาเสพติด  

ทำให้การกัญชาในประเทศไทย สามารถ ปลูก สูบ ครอบครอง สำหรับใช้ส่วนตัวได้โดยไม่มีความผิด  ทั้งนี้ อย.กำหนดชัดเจนให้ปลูกในครัวเรือนเพื่อรักษาสุขภาพได้ 10 หรือ 20 ต้น

กัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ ภาพจาก freepik

โดยหลังจากปลดล็อกสามารถขายส่วนต่างๆ ของพืช โดยไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายยาเสพติด

ในกรณีที่ต้องได้รับการอนุญาตก่อนทำการขาย ได้แก่

  • การขายเมล็ดพันธุ์และกิ่ง ต้องขอรับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืช
  • การขายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กรณีสาร THC ไม่เกิน 0.2% ไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ แต่ถ้าเป็นสารสกัดที่ THC เกิน 0.2% ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
  • การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น

ทั้งนี้หลายฝ่ายจากเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด และ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ยังคงเป็นห่วงว่า การเปิด เสรีกัญชา อาจทำให้กับผู้มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ เริ่มต้นทดลองสูบก่อนถึงวัยอันควรหรืออันตรายต่อสตรีมีครรภ์

อีกทั้งจากผลของการเปิด เสรีกัญชา ในบางประเทศต้องมีการเตรียมความพร้อมด้านจิตแพทย์ ไว้รองรับเนื่องจากพบว่า มีผู้ใช้เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ต้องเข้ารับการบำบัด จำนวนมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ 

ที่มา

1 2 

related