เช็กเลย! พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ถ่ายรูป-ถ่ายคลิป การทำงานของตำรวจ ทำได้แค่ไหน? ผิดกฎหมายหรือไม่?
จากการเผยแพร่ข้อมูลของกฎหมาย PDPA ให้ประชาชนทั่วไปได้รับรู้ และจะมีผลบังคับใช้เเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา ซึ่งหากมีการฝ่าฝืนก็จะโดนบทลงโทษทั้งทางแพ่ง ทางปกครอง และทางอาญาตามข้อกำหนดแต่ละข้อแตกต่างกันไป ทั้งนี้ได้มีข้อกำหนดบางข้อซึ่งเป็นที่ถกเถียงว่าจะสามารถทำได้จริงไหม โดยเฉพาะกรณี "หากประชาชนพบเจ้าหน้าที่ตำรวจด่านตรวจเรียกหยุดเพื่อขอตรวจค้น และประชาชนถ่ายคลิปการทำงานของตำรวจเข้าข่ายผิด PDPA หรือไม่?"
ทั้งนี้ด้านเพจ PDPC Thailand ได้ไขข้อสงสัยถึงประเด็นดังกล่าวโดยระบุว่า...กรณีมีข้อสงสัยตำรวจอาจทำงานโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอาทิ จะมีการรีดไถ เราสามารถถ่ายคลิปเป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการปกป้องประโยชน์ส่วนตัว หรือการใช้สิทธิเรียกร้องต่างๆ ตามกฎหมายในอนาคตได้
อย่างไรก้ตามหากมีการนำคลิปหรือรูปภาพไปเผยแพร่โดยจงใจเพื่อทำให้ตรวจในคลิปเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง อย่างไม่มีเหตุผลอันสมควรการกระทำนั้นอาจผิด PDPA และกฎหมายอื่นๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
"ชัยวุฒิ" ยัน คดี "แอนนา" เผยแพร่ภาพข่าวได้ ไม่ผิดกฏหมาย PDPA ชี้มีข้อยกเว้น
เปิดการขอสิทธิ์ถ่ายภาพ-คลิปตามกฎหมาย PDPA ไม่ได้ขอยากขนาดนั้น
ข้อยกเว้น PDPA มาตรา 4 (1) พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น