ครั้งแรกในไทย! สวทช. - เครือข่ายรถโดยสารไฟฟ้าไทย เปิดตัวและส่งมอบ ‘4 ต้นแบบ EV BUS’ ดัดแปลงจากรถเมล์ ขสมก. ที่ใช้แล้ว 20 ปี ภายหลังวิ่งบนเส้นทางให้บริการจริงของ ขสมก. นานกว่า 3 เดือน เตรียมต่อยอดสู่ระดับอุตสาหกรรมการผลิต และออกแบบการบริการในอนาคต
ทีมวิจัย สวทช. และภาคีเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมรถโดยสารไฟฟ้าไทย พร้อมส่งมอบต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้า ‘EV BUS’ ทั้ง 4 คัน ให้กับ 4 หน่วยงานได้แก่ ขสมก. กฟผ. กฟน. และ กฟภ. นําไปทดลองขับใช้งานเต็มประสิทธิภาพ เพื่อการออกแบบรูปแบบการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในระยะยาว สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศ เผยทั้ง 4 รุ่น ใช้วัสดุในประเทศช่วยประหยัดต้นทุนรถบัสนําเข้า 30 % หรือลดต้นทุนได้ 7 ล้านบาทต่อคัน
วันที่ 31 พ.ค. 65 ณ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สํานักงานใหญ่ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าไทย และองค์การขนส่งมวลชน กรุงเทพ (ขสมก.) จัดแถลงข่าว “เปิดตัวและส่งมอบผลงานโครงการการพัฒนาต้นแบบอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าภายใต้โครงการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้า จากรถโดยสารประจําทางใช้แล้ว ขสมก. (City transit E-buses)” หรือ EV BUS ครั้งแรกในไทย จํานวน 4 คัน โดยมี ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รศ. ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ประธานคณะกรรมการพิจารณาและติดตามโครงการภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โครงการการพัฒนารถโดยสารประจําทางใช้แล้วฯ ร่วมแถลงข่าว พร้อมส่งมอบต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าให้แก่ 4 หน่วยงานประกอบด้วย องค์การขนส่งมวลชน
กรุงเทพ (ขสมก.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ การไฟฟ้านครหลวง
(กฟน.)
ดร.พัชรินรุจา จันทโรนานนท์ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธาน กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีและน่าชื่นชม ที่โครงการฯ ดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในการออกแบบ พัฒนา และผลิตรถโดยสารไฟฟ้า ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี รวมถึงความร่วมมือในการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมการผลิตพลังงาน สิ่งแวดล้อม และกฎหมายข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทําให้โครงการฯ ประสบความสําเร็จกระทั่งได้เปิดตัวและส่งมอบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นโครงการฯ ที่เป็นตัวอย่างของการบูรณาการทํางานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เป็นรูปแบบหนึ่งตัวอย่างสําคัญในการผลักดันงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมไปสู่ผู้ใช้ประโยชน์ได้จริง เพื่อผลักดันให้งานวิจัยและพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้าต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนในอุตสาหกรรมระบบคมนาคมไทย ความสําเร็จครั้งนี้ถือเป็นความ ภาคภูมิใจของคนไทยที่มีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่น
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่าในช่วงระยะเวลา 2 – 3 ปียานยนต์ไฟฟ้าได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากประโยชน์ในการลดต้นทุนด้านพลังงานและที่สําคัญที่สุดคือการลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารสาธารณะถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าลงทุนและน่าสนใจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าระดับอุตสาหกรรม จึงถูกพัฒนาขึ้นด้วยความร่วมมือ (Consortium) ภาคีเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมรถโดยสารไฟฟ้าไทยที่ดําเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ประกอบไปด้วยสมาชิกจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สถาบันยานยนต์ สํานักงานนโยบายและแผนการขนส่งจราจร กรมการขนส่งทางบก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) บริษัทเอกชนผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
ทั้งนี้สวทช. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาโครงการการพัฒนารถโดยสารประจําทางใช้แล้ว ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้าเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย ระหว่าง สวทช. กฟผ. กฟภ. กฟน. และ ขสมก. ซึ่งภายใต้โครงการฯ ดังกล่าวใช้ความสามารถของผู้ประกอบการไทยในการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าที่มีคุณภาพ สามารถใช้งานได้ดี มีมาตรฐานและต้นทุนต่ํา ซึ่งต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าทั้ง 4 รุ่น ถูกพัฒนาจากรถโดยสารประจําทางใช้แล้วของ ขสมก. ที่มีอายุการใช้งานมากกว่า20 ปี ถูกแจ้งปลดระวางไปแล้ว นํามาปรับปรุงและพัฒนาเป็นรถโดยสารไฟฟ้า ให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย ลดต้นทุนการนําเข้าหรือผลิตรถโดยสารไฟฟ้าใหม่ ด้วยมูลค่าสัดส่วนการผลิตชิ้นส่วนจากในประเทศมากกว่าร้อยละ 40 และมีต้นทุนต่ํากว่าการผลิตและนําเข้ารถโดยสารไฟฟ้าใหม่มากกว่าร้อยละ 30 หรือประมาณ 7 ล้านบาทต่อคัน ทําให้ผู้ประกอบการไทยได้เพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและผลิตรถโดยสารไฟฟ้าได้มีคุณภาพภายใต้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเชิงวิศวกรรมจากความเชี่ยวชาญของนักวิจัยของ สวทช.และพันธมิตร
“สวทช. โดยทีมวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้ร่วมให้คําปรึกษา และแก้ปัญหาการใช้งานรถโดยสารไฟฟ้า พัฒนาต้นแบบสถานีประจุไฟฟ้าสําหรับรถโดยสารไฟฟ้าต้นทุนต่ํา ออกแบบวิธีการประเมิน วิเคราะห์คุณลักษณะ ทดสอบประสิทธิภาพ สมรรถนะ รวมถึงพัฒนาสนามทดสอบน้ําท่วมขังร่วมกับ มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี และรับการจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกอย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน และได้ประเมินประสิทธิภาพการให้บริการความเหมาะสมผ่านการทดลองให้บริการบนเส้นทางให้บริการจริงของ ขสมก. เป็นระยะเวลา 3 เดือน นอกจากนั้นยังมีความร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการพัฒนารถโดยสารไฟฟ้า จากรถโดยสารประจําทางใช้แล้ว ขสมก.”
ผู้อํานวยการ สวทช. กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้มีภาคเอกชนร่วมพัฒนารถโดยสารใช้แล้วของ ขสมก. เป็นรถโดยสารไฟฟ้า ก่อนส่งมอบให้กับหน่วยงานผู้สนับสนุน กฟน. กฟภ. กฟผ. และ ขสมก. นําไปใช้งานจริง ประกอบด้วย1. บริษัทโชคนําชัย-ไฮเทคเพลสซิ่ง จํากัด พัฒนารถโดยสารไฟฟ้า (CNC EV BUS) สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 40% ที่มุ่งเน้นการพัฒนาตัวถังจากวัสดุน้ําหนักเบา ด้วยตัวถังอลูมิเนียม ลดน้ําหนักตัวถังเพิ่มประสิทธิภาพการขับขี่ เพื่อส่งมอบให้กับ กฟน. 2. บริษัท พานทอง กลการ จํากัด พัฒนารถโดยสารไฟฟ้า (PTM EV BUS) สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 60% โดยมีความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตและจําหน่ายชุดแบตเตอรี่ลิเทียมไออนภายในประเทศ
เพื่อส่งมอบให้กับ กฟผ. 3. บริษัท รถไฟฟ้า (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) พัฒนารถโดยสารไฟฟ้า (EVT EV
BUS) สัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 40% มีจุดเด่นที่ใช้ชิ้นส่วนสําคัญจากผู้ผลิตชั้นนําจากต่างประเทศโดยตรง
ทําให้มีความเชื่อมั่นในการใช้งานและรับประกัน เพื่อส่งมอบให้กับ กฟภ. และ 4. บริษัท สบายมอเตอร์ (ไทยแลนด์)
จํากัด พัฒนา รถโดยสารไฟฟ้า (SMT EV BUS) ที่มีจุดเด่นในความเชี่ยวชาญด้านวิศกรรมการออกแบบระบบ
ขับเคลื่อน จากประสบการณ์พัฒนารถโดยสารไฟฟ้าและทดสอบใช้งานบนสภาวะการขับขี่จริง บนระยะทางกว่า
25,000 กิโลเมตร เพื่อส่งมอบให้กับ ขสมก.
โดยทั้ง ขสมก. กฟผ. กฟน.และ กฟภ. ในฐานะผู้สนับสนุนการพัฒนาจะนํารถโดยสารไฟฟ้าทั้ง 4 รุ่นไปทดลองขับใช้งานเต็มประสิทธิภาพ เพื่อการออกแบบรูปแบบการให้บริการรถโดยสารไฟฟ้าสาธารณะในระยะยาวสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการต่อภาคอุตสาหกรรมการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าในประเทศ ที่สําคัญทํางานร่วมกับของหน่วยงานต่างๆ แบบจตุภาคี ถือเป็นหัวใจสําคัญของการทําตามแนวนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG ที่สามารถผลิตรถโดยสารไฟฟ้าใช้เองในประเทศ ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับคนไทย
ทั้งนี้ภายในงานแถลงข่าวคณะผู้บริหาร แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ได้ชมและนั่งทดสอบรถโดยสารไฟฟ้าทั้ง 4 รุ่น ระยะทาง 5 กิโลเมตร ซึ่งประสิทธิภาพและสมรรถนะของรถโดยสารไฟฟ้า สามารถวิ่งทดสอบได้อย่างราบรื่น ไม่ก่อมลพิษทั้งทางเสียง และทางอากาศ ภายในกว้างขวางมีสิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัยต่อผู้โดยสารตามมาตรฐานสากล