svasdssvasds

ซีเกมส์ หรือ ซีโกง ? เมื่อเจ้าภาพซีเกมส์มักครองเจ้าเหรียญทอง

ซีเกมส์ หรือ ซีโกง ?  เมื่อเจ้าภาพซีเกมส์มักครองเจ้าเหรียญทอง

ทำไม ซีเกมส์ หรือ ซีโกง ? เมื่อเจ้าภาพซีเกมส์มักครองเจ้าเหรียญทอง หรือว่า นับแต่นี้ต่อไป กีฬาซีเกมส์ จะกลายเป็น มหกรรมการกล่อมประสาทตัวเอง ว่า เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ และใช้ กีฬาหลอกตัวเอง

ซีเกมส์ 2021 คือการจัดซีเกมส์ ครั้งที่ 31 แล้ว โดยในประเทศในอาเซียนจะหมุนเวียนเปลี่ยนเจ้าภาพ ทุกๆ 2 ปี ซึ่งหากสังเกตจากสถิติการครองตำแหน่งเจ้าเหรียญทองแล้ว เจ้าภาพมักจะมีข้อได้เปรียบในการจัดการการแข่งขัน และมักจะครองเจ้าเหรียญทองในที่สุด 

สถิติไม่เคยโกหกใคร! คำนี้ ใช้ได้อยู่เสมอ โดยหากพิจารณานับช่วงเวลาตั้งแต่ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพที่จังหวัดเชียงใหม่ ซีเกมส์ครั้งนั้น จัดเมื่อปี พ.ศ 2538 ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ กีฬาซีเกมส์ผ่านการจัดต่อเนื่องมาแล้ว 14 ครั้ง (รวมซีเกมส์ 2021 ครั้งที่ 31 ที่ประเทศเวียดนามที่กำลังแข่งขันอยู่ในเวลานี้ เข้าไปด้วย)  แทบทุกครั้งประเทศที่เป็นเจ้าภาพ มักจะครองตำแหน่งเจ้าเหรียญทองอย่างง่ายดาย  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยซีเกมส์ใน 13 ครั้ง นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2538 ที่จบลงไปแล้ว มีแค่ 4 ครั้ง ที่ ประเทศเจ้าภาพไม่ได้ครองเจ้าเหรียญทอง นั่นคือ 
.
ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ที่บรูไน ปี 1999  ไทยได้เจ้าเหรียญทอง
ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 ที่ สปป.ลาว ปี 2009 ไทยได้เจ้าเหรียญทอง 
ซีเกมส์ครั้งที่ 27 ที่ เมียนมา ปี 2013 ไทยได้เจ้าเหรียญทอง 
ซีเกมส์ครั้งที่ 28 ที่สิงคโปร์ ปี 2015 ไทยได้เจ้าเหรียญทอง 

ส่วนที่เหลืออีก 9 ครั้ง ในซีเกมส์ 13 ครั้งหลังสุด ประเทศไหนได้เป็นสิทธิ์เจ้าภาพ ประเทศนั้นได้ครองเจ้าเหรียญทุกครั้ง...นี่คือตัวเลขที่สะท้อนความจริงว่า ซีเกมส์ อาจจะเป็นเพียงมหกรรมกีฬา ที่เอาไว้ ประกาศศักดาของประเทศเจ้าภาพ และช่วงเวลาหลังๆ กลับกลายเป็นว่า คำว่า "ซีโกง" ได้กลายเป็นคำเหน็บแนมทิ่มแทงใจ กับ "เจ้าภาพ" ในเกือบทุกๆครั้งหลัง 

หากนับประวัติศาสตร์กีฬาซีเกมส์ ในยุคหลังสุด ซีเกมส์ครั้งที่ 29 เมื่อปี 2017 ดูจะเป็นที่โจษจัน ถูกกล่าวขานมากที่สุด และมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึง การเป็น "ซีโกง" มากที่สุดครั้งหนึ่ง 

ซีเกมส์ หรือ ซีโกง ?  เมื่อเจ้าภาพซีเกมส์มักครองเจ้าเหรียญทอง

เพราะย้อนไปในซีเกมส์ครั้งที่ 28 ที่สิงคโปร์ มาเลเซีย ยังจบที่ 4 ในตารางเหรียญซีเกมส์ ด้วยการมี 62 เหรียญทองอยู่เลย  แต่ในปี 2017 ที่เสือเหลือง มาเลเซียเป็นเจ้าภาพ พวกเขากลับโกยเหรียญทอง ไปถึง 145 เหรียญทอง พร้อมกับมีการ ใส่กีฬา ที่ไม่ได้รับความนิยมในภูมิภาคอาเซียน แบบ คริกเกต, เนตบอล, ฮอกกี้น้ำแข็งลงไป 

นอกจากปัญหาในสนามที่เจอในระหว่างการแข่งขัน นักกีฬาทีมชาติไทย ยังเจอปัญหานอกสนาม เช่น
จัดโปรแกรมซ้อมให้ในตอนเช้า ทั้งๆ ที่รู้ว่าทีมชาติไทยจะเดินทางไปถึงตอนเย็น ในบางชนิดกีฬา 
จับสลากที่ไม่โปร่งใส ในการแข่งขันกีฬาบางประเภท
ไม่แสดงคะแนนในระหว่างการแข่งขัน เป็นต้น

คำครหาว่า ซีเกมส์ กลายเป็น ซีโกง ทำให้มนต์ขลังมหกรรมกีฬาอาเซียน เสื่อมศรัทธาลงไป จนบางครั้งแฟนๆกีฬาก็ไม่อยากติดตามต่อไป เพราะ ซีเกมส์เวลา ไม่ต่างอะไรกับการ "หลอกตัวเอง" ว่ายิ่งใหญ่  
.
อย่างไรก็ตาม หากจะมองหาความสนุก ความตื่นเต้น และอรรถรสที่พอจะหาได้จากกีฬาซีเกมส์ หรือที่ใครหลายๆคนอาจจะมองว่ามันเป็น "ซีโกง" นั้น ยังพอจะมีอยู่บ้าง กล่าวคือ ให้มองไปที่ การแข่งขันกีฬาที่เป็น "สากล" กีฬาในชนิดที่มีบรรจุอยู่ใน โอลิมปิกเกมส์ อาทิ ฟุตบอล , กรีฑา , ว่ายน้ำ ,เทควันโด , วอลเลย์บอล เป็นต้น  ซึ่งในซีเกมส์ 2021 ครั้งนี้ มีการชิงเหรียญทองกีฬาที่ได้รับบรรจุในโอลิมปิก อยู่ 24 กีฬา 340 เหรียญทอง 

แต่ในขณะเดียวกัน ซีเกมส์ 2021 เวียดนาม ใส่กีฬา ที่ ไม่ได้อยู่ในโอลิมปิก ถึง 18 ชนิดกีฬา 188 เหรียญทอง  หรือ 1 ใน 3 ของการชิงเหรียญทองทั้งหมดเลยทีเดียว...

กีฬา...เป็นหนึ่งใน "เครื่องมือ" แบบ Soft Power ของประเทศต่างๆ  บางครั้งอาจจะใช้สร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนในประเทศนั้นๆ  , บางครั้งมันอาจใช้ เป็นตัวจุดชนวน ในประวัติศาสตร์ในการสร้าง "ชาติ" ขึ้นมาได้เลย เหมือนตอนที่ แอฟริกาใต้ ใช้ รักบี้ชิงแชมป์โลกปี 1995 ในการรวมชาติ  (เรื่องราวนี้ถ่ายทอดผ่านภาพยนตร์ Invictus)  บางครั้งกีฬามันใช้สร้างกระแส "ชาตินิยม"  ...แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ความสำคัญของมันจะเสื่อมคลายลงไปทันที ถ้าหากว่า ใช้กีฬา เป็นการกล่อมประสาทตัวเอง ว่า เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ และใช้ กีฬาหลอกตัวเอง

 Credit youtube Thai PBS

 

 

related