พามาส่องดูคาดการณ์เศรษฐกิจไทย ปี2565 ว่าแต่ละสำนักเขาประเมินกันไว้อย่างไร รู้เพื่อเตรียมรับมือกับความไม่แน่นอน รู้เพื่อการวางแผนธุรกิจที่ดี เพราะเห็นทีว่าเศรษฐกิจไทยยังสาหัส
รู้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยล่วงหน้า เพื่อกำหนดชีวิต ธุรกิจตัวเองครึ่งปีหลัง
การทำการบ้านล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำงาน วางแผนการใช้ชีวิต วางแผนธุรกิจจะว่าไปแล้วใครที่วางแผนชีวิต แผนธุรกิจดีย่อมทำให้มีโอกาสเป็นผู้ประสบความสำเร็จได้สูง แต่การทำการบ้านเราจะต้องรู้คาดการณ์ การคาดคะเน หรือหาเข็มทิศที่จะพาเราเดินไปสู้เป้าหมายให้เจอ สำหรับใครที่กำลังจะวางแผนชีวิต วางแผนธุรกิจปี 2565 จากนี้ไปต้อวทำการบ้านให้หนัก และประเมินสภาพเศรษฐกิจไทยให้เป็น เรียนรู้และหาวิธีรับมือเพื่อทางรอด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดคำทำนาย “เศรษฐกิจไทย” จากนี้ไป..สินค้า น้ำมันแพง ค่าแรงขึ้น รับมือไงดี ?
ไวรัลจุดแข็ง-จุดอ่อน มาแรง ส่วนจุดอ่อนเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมัน ไฟฟ้า แก๊ส พุ่ง
ส่องดูสำนักไหน ? ประเมินเศรษฐกิจไทยปีเสือเท่าไหร่
วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพาไปส่องคาดการณ์เศรษฐกิจไทยของแต่ละสำนักเขามีการปรับขึ้น ปรับลง อย่างไร ให้ท่านได้รู้เพื่อรับมือปากท้อง ความเป็นอยู่จากนี้ไปต้องทำไง ? โดยรวบรวมจากแต่ละสำนักที่เคยเปิดเผย กับสื่อมวลชนว่าประเมินไว้อย่างไรบ้าง ตามกราฟฟิก และรายละเอียดดังนี้
-สภาพัฒน์ ฯ ลดจีดีพีปี’65 เหลือ 2.5 - 3.5%
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ลดจีดีพีปี’65 เหลือ 2.5 %
-EIC SCB ลดจีดีพีปี65 เหลือ 3.2%
-ซีไอเอ็มบีไทย ลดจีดีพีปี’65 เหลือ 3.1%
-กกร.คงจีดีพี ปี’65 โต 2.5-4%
-วิจัยกรุงศรี คงจีดีพีปี’65 โต 3.7%
-ttb คาดจีดีพีไทยปี’65 โต 3.6%
สศช. ปรับลดเป้าลง หลังปัจจัยลบรุม
โดยล่าสุด สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือ สศช. ประกาศภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 พบ GDP ขยายตัว 2.2% ส่วนแนวโน้มทั้งปีคาดว่าจะขยายตัว 2.5 - 3.5% หลังเจอปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลก นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ภาวะตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมา สแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ขยายตัว 2.2% เป็นผลมาจากการเครื่องชี้เศรษฐกิจขยายตัวเกือบทุกตัว โดยเฉพาะการส่งออกสินค้า
ส่วนเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทย จะขยายตัว 2.5 - 3.5% โดยปรับลดลงจากเดิมที่ประเมินว่าจะขยายตัว 3.5 – 4.5% เพราะยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น การขยายตัวของเศรษฐกิจ และการค้าโลกที่ขยายตัวลดลง รวมทั้งปัจจัยราคาน้ำมันดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยประเมินเครื่องชี้ต่าง ๆ ดังนี้
-มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัว 7.3%
-การอุปโภคบริโภคขยายตัว 3.9%
-การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัว 3.5%
-การลงทุนภาครัฐขยายตัว 3.4%
-อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ในช่วง 4.2 - 5.2%
-ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มขาดดุล 1.5% ของ GDP