svasdssvasds

ปรากฎการณ์หายาก หิ่งห้อยนับพันล้านตัวกะพริบส่องสว่างทั่วป่าอินเดีย

ปรากฎการณ์หายาก หิ่งห้อยนับพันล้านตัวกะพริบส่องสว่างทั่วป่าอินเดีย

หิ่งห้อยนับล้านได้จุดไฟคืนชีวิตยามราตรีให้กับป่าเขตอนุรักษ์เสือโคร่งในอินเดีย เป็นเหตุการณ์หายากเนื่องจากประชากรหิ่งห้อยลดลงอย่างต่อเนื่องในทุกๆปี

ผืนป่ามีชีวิตยามค่ำคืน อาจจะเป็นปกติของป่าทั่วโลกของสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่ออกมาใช้ชีวิต แต่นี่เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์หายากสำหรับราตรีกาลที่สวยงาม เสมือนกับว่าป่ามายาที่ถูกพรางตัวมาเนิ่นนาน ได้ปรากฏออกมาให้เราได้เห็น

ศรีราม มูราลี (Sriram Murali) ช่างภาพและวิศวกรซอฟแวร์ และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษทางแสงและหิ่งห้อย ได้มีโอกาสไปเยือนเขตอนุรักษ์เสืออานามาลัย (ATR) ในเขต Tiruppur รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย พร้อมกับเจ้าหน้าที่บริการด้านป่าไม้ พวกเขาได้เดินทางไปในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อสังเกตหิ่งห้อยกะพริบพร้อมกัน

ในฤดูร้อนของทุกปี หิ่งห้อยหลายพันล้านตัวจะกะพริบพร้อมกันตอนกลางคืนทำให้ป่าสงวนที่เก่าแก่แห่งนี้กลายเป็นพรมสีเชียวเรืองแสง เสมือนกับว่าแมลงเหล่านี้กำลังแข่งขันเพื่อแย่งชิงการเป็นเจ้าบ้านกับเสือและช้างในเขตอนุรักษ์แห่งนี้

มุลารีจับภาพหิ่งห้อยหลายพันล้านตัวที่ส่องประกายแวววาวทั่วผืนป่าอันกว้างใหญ่ เขาถ่ายทอดเรื่องราวของหิ่งห้อยเหล่านี้ภายในเฟรมเดียวกับโหมดเปิดรับแสงที่ตั้งให้นานขึ้น

Cr.Sriram Murali and Anamalai Tiger Reserve Forest Department

ทีมวิจัยเขียนว่า "ไฟกระพริบปรากฏขึ้นบนต้นไม้ต้นหนึ่งและจักรดำเนินต่อไปตลอดทั้งคืน ต้นไม้บางต้นกะพริบเป็นจังหวะซึ่งแสดงให้เห็นโครงสร้างของต้นไม้เป็นสีดำสนิท ต้นไม้แต่ละต้นดูเหมือนจะมีรูปแบบการกระพริบที่แตกต่างกัน ป่าทั้งผืนส่องแสงเป็นสีเขียวอมเหลือง”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อยหายาก

มีหิ่งห้อยมากกว่า 2,000 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่เชื่อมต่อกับหิ่งห้อยด้วยกันแบบนี้หรือเรียกว่าการผสมพันธุ์ แมลงเหล่านี้ได้ใช้อวัยวะอันเบาบางใต้ท้องของพวกมันในการรับออกซิเจนและจากนั้นใช้เซลล์พิเศษเพื่อรวมองค์ประกอบกับสารบางที่ทำให้เปล่งแสงที่เรียกว่า ‘ลูวิเฟอริน’ เพื่อสร้างอัตลักษณ์อันโดดเด่นคือการมีแสงในตัวเอง ซึ่งการผลิตแสงนี้มีประสิทธิภาพ 100% ตามรายงาน

หิ่งห้อยตัวผู้จะใช้แสงสว่างวาบเพื่อเป็นสัญญาณผสมพันธุ์และดึงดูดตัวเมีย

“มีความเป็นไปได้ว่า ในป่าที่เห็นนี้จะมีตัวเมียอีกจำนวนมากพอๆกัน ซึ่งอาจะไม่มีแสงสว่างและอาจไม่มีปีกเหมือนตัวผู้ ซึ่งหิ่งห้อยจำพวกนี้ใช้ชีวิตด้วยการกินตัวอ่อนแมลง”

“ตัวโตเต็มวัยจะมีชิวิตอยู่ได้ไม่กี่สัปดาห์และกินน้ำหวานและเกสรดอกไม้ การชุมนุมครั้งใหญ่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าระบบนิเวศของพื้นที่แห่งนี้สมบูรณ์เพียงใด”

นักวิทยาศาสตร์พบพฤติกรรมการเชื่อมต่อกันของหิ่งห้อยแบบนี้ที่เขตป่าสงวนแห่งนี้เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2542 และพบอีกครั้งในปี พ.ศ.2555 ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พิจารณาแล้วว่าหิ่งห้อยเหล่านี้อยู่ในสกุล Abscondita และอาจมีสายพันธุ์ใหม่ๆแฝงด้วย

ทีมวิจัยกล่าวว่า "การวิจัยโดยละเอียดและการจัดลำดับดีเอ็นเอเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อระบุสายพันธุ์ได้อย่างถูกต้อง “พวกมันมีสีน้ำตาลอมเข้มและมีแถบสีดำ ดวงตากลมโตมีลวดลายที่สลับซับซ้อน และมีความยาวน้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร

“ปรากฏการณ์นี้เป็นผลจากการทำงานอนุรักษ์มานานหลายทศวรรษโดยเจ้าหน้าที่ผู้กระตือรือร้นหลายคนที่ทำงานหนักเพื่อปกป้องเขตอนุรักษ์เสืออานามาลัย หิ่งห้อยกำลังลดลงทั่วโลก และสิ่งมหัศจรรย์แห่งท้องฟ้าที่หายากอย่างยิ่งนี้ควรได้รับการปกป้องสำหรับคนรุ่นอนาคตของเรา”

สถานการณ์ของหิ่งห้อย

ปัจจุบันประชากรของหิ่งห้อยได้ลดลงอย่างรวดเร็วทั่วโลก โดยสามารถเดาเหตุปัจจัยการลดลงได้อย่างง่ายดายคือการขยายเมืองและมลพิษทางแสงที่พวกมันต้องเจอ

หิ่งห้อนส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ได้ประมาณ 3-12 เดือนแล้วแต่ละชนิด การกะพริบส่องสว่างจะเป็นสัยญาณถึงการมองหาคู่ ดึงดูดตัวเมียและพร้อมผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะมีทั้งปีกและแสง ส่วนตัวเมียบางตัวมีและไม่มี และบางตัวอาจจะมีปีกสั้น

ในประเทศไทย จุดที่สามารถชมหิ่งห้อยได้คือ ริมคลองตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม เกาะลัด อ.บางเคล้า จ.ฉะเชิงเทราจะมีมากในช่วงฤดูฝน ควรเลือกชมในเดือนมืด แต่ปัจจุบันเริ่มจะมองหายากแล้วเนื่องจากการลดลงของประชากรหิ่งห้อย

ที่มาข้อมูล

https://petapixel.com/2022/05/14/billions-of-fireflies-light-up-indian-tiger-reserve/

https://www.dmcr.go.th/detailAll/738/nv/16

related