กรณีที่เป็นกระแสร้อนแรงที่มีผู้คนโจมตีหมอปลาเกี่ยวกับการที่หมอปลานำนักข่าวสาวไปล่อซื้อเพื่อถ่ายคลิปเปิดโปงหลวงปู่แสง
กรณีที่เป็นกระแสร้อนแรงที่มีผู้คนพูดถึง กรณีหมอปลาที่ร่วมกับนักข่าวสาวเข้าไปถ่ายคลิปหาหลักฐาน ประเด็นหลวงปู่แสง เรื่องนี้คนในโซเชียลได้เกิด ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) ซึ่งสรุปความหมายง่ายๆคือ “การคิดและสรุปกันเอาเอง” และส่วนใหญ่มีคนออกมาสรุปว่าหมอปลา “เป็นคนจัดฉาก” เพื่อถ่ายวีดีโอหลักฐาน
ในส่วนนี้ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดและผิดจรรยาบรรณสื่อ บทลงโทษนักข่าวรายนี้รุนแรงถึงขั้นให้ออกจากงาน เนื่องจากเป็นการร่วมกับแหล่งข่าวสร้างหลักฐานโดยไม่ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหรือรายงานต้นสังกัด
“ทฤษฎีสมคบคิด” (Conspiracy Theory) เป็นแนวคิดที่ปรากฏกันมานาน วลีนี้ถูกนำมาใช้แพร่หลายเป็นครั้งแรกในปี 1909 และกลายเป็นคำพูดติดปากในหมู่นักคิด นักวิชาการ ในปัจจุบัน วลีนี้มีใช้กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในสื่อสิ่งพิมพ์และในสื่ออินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 20-21 มีทฤษฎีสมคบคิดเกิดขึ้นมากมาย สำหรับทฤษฎีสมคบคิด ก็คือการคิดและสรุปกันเอาเอง แต่อย่างน้อยยังเป็นการคิดแบบอาศัยหลักฐานและข้อมูลที่มีข้อมูลทั้งที่จริงและไม่จริงมาสนับสนุนบ้าง ซึ่งบางครั้งหากมีข้อเท็จจริงก็เป็นข้อเท็จจริงปะปนอยู่เพียงเล็กน้อย (ที่มา silpa-mag.com)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ตัวอย่างในเรื่องของทฤษฎีสมคบคิด ที่กลายเป็นเรื่องสำคัญของโลก
มีหลายคนเชื่อว่า มนุษย์ไม่เคยไปเหยียบเท้าลงบนดวงจันทร์
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1969 นีล อาร์มสตรอง และ บัซ อัลดริน คือสองนักบินอวกาศของโครงการ Apollo 11 ที่ลงเหยียบเท้าบนดวงจันทร์ แต่เชื่อหรือไม่ว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1970 มีชาวอเมริกันกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เชื่อว่าการเดินทางไปบนดวงจันทร์ของมนุษย์เป็นเรื่องจริง
อาคารแฝดของเวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์พังถล่มลงมาจากการระเบิดซึ่งมีการวางแผนและควบคุม ไม่ใช่เพราะเครื่องบินที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้บังคับพุ่งชน
ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ถูกลอบสังหารจากการวางแผนของซีไอเอ แก๊งค์มาเฟีย หน่วยงาน KGB และรองประธานาธิบดีลินดอน บี จอห์นสัน ไม่ใช่จากมือปืนเพียงคนเดียว
การบุกเข้ายึดอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคมต้นปีนี้ เป็นผลมาจากทฤษฎีสมคบคิด-ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง คือเรื่องว่าโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องพ่ายแพ้เพราะมีการโกงการเลือกตั้งประธานาธิบดีขนานใหญ่
COVID-19 คือแผนการควบคุมประชากรโลก
จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ทำให้หลายคนเชื่อว่ามันอาจเป็นแผนการควบคุมประชากรโลก โดยก่อนหน้านั้น บิล เกตต์ เคยกล่าวเอาไว้เมื่อปี ค.ศ.2015 ว่า Coronavirus จะแพร่ระบาดไปทั่วโลก จนทำให้หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า บิล เกตต์ ไปรู้เรื่องนี้มาจากไหน หลายคนจึงเชื่อว่าเป็นแผนควบคุมประชากรโลกด้วยการทำให้เกิดโรคระบาด และทำให้คนเสียชีวิต ยังมีการนำวัคซีนที่มีไมโครชิปไปฉีดใส่ผู้คนเพื่อเฝ้าติดตามตัวอีกด้วย จนทำให้หลาย ๆ คนเชื่อว่า บิล เกตส์ คือผู้อยู่เบื้องหลังการแพร่ระบาดของ Coronavirus นั่นเอง (ที่มา voathai.com)
หรือภาพยนตร์ใกล้ตัวที่ส่อถึงพลังความคิดเห็นของสังคม อย่างภาพยนตร์ซีรี่ส์เรื่อง Unbelievable ใน Netflix ที่เป็นเรื่องราวของเด็กสาวที่ถูกหาว่ากุเรื่องโดนข่มขืนขึ้นมา แต่เกิดความสับสนจากเหยื่อที่ให้การไม่ชัดเจน ประกอบกับเด็กคนนี้ดูเหมือนจะมีปัญหา ทำให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดว่าเด็กคนนี้เพียงแค่กุเรื่องขึ้นมาเอง และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จและความล้มเหลว ความละเลยที่จะเสาะหาความจริงก่อนที่จะคอมเมนท์หรือแสดงความคิดเห็นอะไรลงในโซเชียลมีเดียที่มีผู้คนจำนวนมากติดตาม รวมถึงเหยื่อก็สามารถเข้ามาอ่านและเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจได้
แต่เราได้มามองย้อนถึงพลังโซเชียลที่น่ากลัวของสังคมไทย ความอันตรายของทฤษฎีสมคบคิดที่ส่งผลถึงการต่อว่าเหยื่อนักข่าวสาว ซึ่งนั่นทำให้ไปสู่การกล่าวโทษเหยื่อที่เรียกว่า ‘Victim Blaming’
Victim Blaming คืออะไร ?
การที่คนๆหนึ่งเป็นเหยื่อจากการถูกกระทำ แต่คนภายนอกกลับกล่าวโทษและให้ร้าย ไม่ว่าจะเป็นเจตนาที่ดี หรือเจตนาที่ไม่ดีก็ตาม เช่น ยกตัวอย่างคดีข่มขืน แต่ไปโทษเหยื่อว่าแต่งตัวล่อแหลม ซึ่งเป็นการวิคทิม เบลมมิ่ง ที่ทำให้เหยื่อมีความรู้สึกแย่ลงไปอีกจากการวิจารณ์
ในเรื่องนี้ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิดมากไปกว่าใคร แต่ทำให้เรารู้จักทฤษฎีสมคบคิดได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งไปกว่านั้น ตัวอย่างการกล่าวโทษเหยื่อ หรือ Victim Blaming ไม่ควรจะเกิดขึ้นอีกในสังคมไทย และควรให้ความสำคัญเรื่องการแสดงออกความคิดเห็นกันมากขึ้น และตรวจสอบข้อเท็จจริงในรอบด้านจากข่าวสารและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้