svasdssvasds

โรคซึมเศร้าหลังคลอด คืออะไร ? อาการมีอะไรบ้าง เตรียมรับมือได้หากต้องเผชิญ

โรคซึมเศร้าหลังคลอด  คืออะไร ? อาการมีอะไรบ้าง เตรียมรับมือได้หากต้องเผชิญ

ภาวะ "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" โรคภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดได้กับคุณแม่ทุกคน ซึ่ง หากรู้เท่าทัน และรับรู้ถึงอันตรายกับโรคเหล่านี้ได้...ทุกคนก็น่าจะผ่านภาวะเหล่านี้ได้ และอย่างน้อยก็น่าจะ "สู้" กับปัญหาเหล่านี้ที่ต้องเผชิญ

• โลกออนไลน์กลับมาแชร์ เรื่อง โรคซึมเศร้าหลังคลอด

กลายเป็นเรื่องที่เป็นกระแสที่พูดถึงในวงกว้างในประเทศไทยอีกครั้ง กับประเด็น ภาวะ "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" โรคภัยใกล้ตัวที่อาจเกิดได้กับคุณแม่ทุกคน ซึ่ง หากรู้เท่าทัน และรับรู้ถึงอันตรายกับโรคเหล่านี้ได้...ทุกคนก็น่าจะผ่านภาวะเหล่านี้ได้ และอย่างน้อยก็น่าจะ "สู้" กับปัญหาเหล่านี้ที่ต้องเผชิญ 
.
ทั้งนี้ จากกรณีที่มีการแชร์ เรื่องราวของ แป้ง ประณัยยา อุลปาทร อีกครั้งหนึ่งเป็นจำนวนมาก , โดยล่าสุด ฮาร์มิช มากอฟฟิน (Hamish  Magoffin) ได้ออกมาเปิดเผยเรื่องราว ของภาวะโรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ผ่านทาง CNN ที่ภรรยาของเขาเป็น ซึ่งแม้จะต่อสู้กับโรคร้ายเท่าไร แต่สุดท้ายก็ยัง พ่ายแพ้ให้กับมันพร้อมๆกับ คราบน้ำตาที่จะอาบหัวใจไปทั้งชีวิต บาดแผลที่จะเป็นรอยแผลเป็นของชีวิตไปตลอด... 

ก่อนอื่น...ต้องมาทำความรู้จักกับ แป้ง ประณัยยา อุลปาทร กันก่อน , ในอดีต ประณัยยา จบปริญญาโท MBA (Masters of Business Administration) ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เธอเคยได้ทำงานเพื่อสังคมผ่านโครงการต่างๆ เช่นโครงการ TRAFS โครงการ Thai Young Philanthropist Network (TYPN) หนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้งเทใจดอทคอม และร่วมสนับสนุนโครงการต่างๆบนเทใจมายาวนานต่อเนื่องเกิน 8 ปี , เธอใช้ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และการเงินในการพัฒนาชีวิตของคนที่ด้อยโอกาส 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ประณัยยายังช่วยเหลือคนที่ประสบกับความเดือดร้อนลำบากจากสถานการณ์ภัยพิบัติ ผ่านโครงการ SavingNEPAL ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานเพื่อสังคมที่ประณัยยาทำมาตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตาม แป้ง ประณัยยา อุลปาทร ต้องเจอกับ โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) จนต้องหันหลัง เดินจากลาโลกนี้ไปอย่างไม่มีวันกลับ เมื่อช่วงกันยายน 2021 ที่ผ่านมา หลังจากที่เธอคลอดลูก ลูกน้อยที่ชื่อ Arthur ได้เพียง 6 เดือน...น้ำตาแห่งความเสียใจ เท่าไรก็ไม่พอ หากไม่เคยต้องเตรียมใจแบกรับเรื่องเหล่านี้ไว้

เมื่อเวลาผ่านไป แม้จะยังทำใจไม่ได้ แต่เวลามันก็ช่วยเยียวยาบาดแผลให้ ฮาร์มิช มากอฟฟิน (Hamish  Magoffin) ออกมาเล่าเรื่องราวของ "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" ที่ภรรยาของเขาต้องเผชิญ เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับสังคม
 

ฮาร์มิช มากอฟฟิน เล่าว่า  แป้ง ประณัยยา ยังดูเป็นคุณแม่ที่มีความสุขมาก หลังคลอด 1 สัปดาห์ เธอยังร่าเริง อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น ทุกอย่างก็ค่อยๆเปลี่ยนไป ความเศร้าซึมลึกมันคืบคลานมาอย่างช้าๆ บวกกับโลกที่้ต้องเจอกับภาวะโควิด-19 ที่เล่น เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตผู้คนมากขึ้นด้วย นั่นทำให้ หลังจากนั้น แป้ง ประณัยยา  มีภาวะที่อยู่ใน "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" อย่างรุนแรง 

ความเครียดเริ่มลุกคืบมาอย่างช้าๆ ตอนที่ อาเธอร์ Arthur อายุได้ 1เดือน , ด้วยความว่า ที่พักอาศัยของ  แป้ง ประณัยยา เป็นลักษณะคนเมือง อยู่บนคอนโดในกรุงเทพ ไม่มีสวน ไม่มีพื้นที่กว้างๆให้เดินผ่อนคลาย , และในเวลาเดียวกัน  แป้ง ประณัยยา ก็เริ่มเป็นคนที่ ตึงเครียดมากๆ ทุกรายละเอียดของการเลี้ยงลูก อาทิ เครียดที่บีบน้ำนมมาให้ลูกไม่พอ...เป็นต้น 

เมื่อปัจจัยลบ ทุกอย่างผสมรวมกัน , ความกังวล และ อาการนอนไม่หลับ เริ่มกัดกร่อน ชีวิต แป้ง ประณัยยา อุลปาทร ในห้วงเวลแห่งความทุกข์ทนนั้น...และในช่วงเวลาที่ อาเธอร์ อายุ 4 เดือน เธอเริ่มพูดถึงว่า "เธออยากจะหาย...ไป" และนั่นเป็นจุดให้ครอบครัว ไปปรึกษาแพทย์ , เพราะ ภาวะ "โรคซึมเศร้าหลังคลอด" เริ่มมีผลกระทบต่อทุกอย่างเป็นอย่างมากแล้ว

ช่วงเวลาท้ายของชีวิต แป้ง ประณัยยา อุลปาทร เธอยังได้ "ถอดหน้ากาก" ได้หายใจเต็มปอด ปลดเปลื้องหน้ากากกันโควิด-19 ในช่วงเวลานั้นได้อย่างเต็มที่ กับการเที่ยวหัวหิน แต่นั้นก็เป็นเพียง "รอยยิ้ม" ช่วงท้ายๆของชีวิต  หลังจากนั้นอีกไม่นาน เธอจะเลือก อุ้มลูกกระโดดลงมาจากที่พักในกรุงเทพฯ

"เราพยายามรักษาแป้งทันทีที่คิดว่าเขาเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด  ทำตามทุกวิธีที่แพทย์แนะนำ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาไปจนถึงการใช้ศิลปะบำบัด ทั้งคุณแป้ง ผมและครอบครัวทุกคนตั้งใจเต็มที่ที่จะต่อสู้กับโรคนี้ด้วยกัน ทั้งครอบครัวและคุณแป้งเข้มแข็งมาก แต่สุดท้ายแล้วเราก็ยังต้องเสียคุณแป้งและน้องอาร์เธอร์ไป ทำให้ผมพยายามคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างอะไรที่ดีขึ้นได้บ้างจากความสูญเสียนี้" ฮาร์มิช มากอฟฟิน ให้ความเห็น

โรคซึมเศร้าหลังคลอด  คืออะไร ? อาการมีอะไรบ้าง เมื่อคุณแม่ ได้เตรียมรับมือได้หากต้องเผชิญ
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ที่  แป้ง ประณัยยา อุลปาทร ต้องเผชิญนั้น  อาจเกิดจากการเปลี่ยนของระดับฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อารมณ์ของแม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

1. ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blues หรือ baby blues)  เกิดจากการที่ยังปรับตัวหลังคลอดไม่ค่อยได้ มีความกังวลเรื่องลูก โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่ในช่วงสัปดาห์แรก และสามารถหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา
2. โรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ร้องไห้บ่อย อ่อนไหวง่าย บางครั้งหงุดหงิด ความผูกพันกับลูกหายไป บางครั้งผุดภาพอยากทำร้ายตัวเอง หรือทำร้ายลูก  ระยะอาการนี้มีตั้งแต่ 2 สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน และจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ไม่สามารถหายเองได้
3. โรคจิตหลังคลอด (postpartum psychosis)  มักเกิดในช่วงหลังคลอด 1-4 วัน โดยผู้ป่วยมักมีอาการฉุนเฉียว ร้องไห้ง่าย คึกคัก คล้ายอาการของโรคไบโพลาร์ หูแว่ว ประสาทหลอน บางครั้งก็ได้ยินเสียงสั่งให้ฆ่าลูก

คนไข้กลุ่มนี้จะมีอาการหวาดกลัวมาก นอนไม่ได้ น้ำหนักลดลงมาก ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะไม่สามารถหายเองได้ อีกทั้งยังมีความอันตรายต่อตัวเองและลูก

• โรคซึมเศร้าหลังคลอดมีอาการ อะไรบ้าง ? 

พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด ได้แนะนำข้อสังเกตอาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) ว่ามีดังต่อไปนี้

1. ซึมเศร้า หม่นหมอง หดหู่ ร้องไห้
2. ความรู้สึกสนุก สนใจทำกิจวัตรประจำวันที่เคยชอบลดลง หรือรู้สึกเบื่อหน่ายในการดูแลลูก
3. เบื่ออาหาร หรืออยากกินอาหารตลอดเวลา
4. ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียตลอดเวลา
5. การนอนเปลี่ยนแปลง อาจง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา หรือนอนไม่หลับ
6. รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นแม่ที่ไม่มีความสามารถ
7. ไม่มีสมาธิ ความคิด อ่าน จดจ่อในสิ่งที่ทำลดน้อยลง
8. เคลื่อนไหวช้าลง หรืออยู่ไม่สุข

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยที่คุณแม่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน สภาพแวดล้อม อารมณ์ หรือพันธุกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมากขึ้น หากมีปัจจัยเสี่ยงเช่น

มีประวัติป่วยเป็นโรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ เคยมีภาวะซึมเศร้าระหว่างตั้งครรภ์หรือหลังคลอดมาก่อนหน้านี้
สมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาในการควบคุมอารมณ์
มีปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดมากในช่วงปีที่ผ่านมา เช่น ภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทะเลาะเบาะแว้งภายในครอบครัว เป็นต้น
ทารกมีปัญหาสุขภาพที่ต้องมีการดูแล หรือรับการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ
แม่มีปัญหาในการให้นมบุตร
ครอบครัวมีปัญหาทางการเงิน
ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
โรคซึมเศร้าหลังคลอด  คืออะไร ? อาการมีอะไรบ้าง เมื่อคุณแม่ ได้เตรียมรับมือได้หากต้องเผชิญ

• การรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด 

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์ และไม่ใช่ความรู้สึกอ่อนแอเท่านั้น ดังนั้น ผู้ป่วย าโรคซึมเศร้าหลังคลอด ควรบอกปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิดอย่างตรงไปตรงมา และซื่อตรงกับตัวเอง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม โดยในขณะที่ทำการรักษาผู้ป่วยควรดูแลตัวเองควบคู่ไปด้วย เช่น ออกกำลังกาย หรือเข้าร่วมกลุ่มให้คำปรึกษา เป็นต้น

• การรักษาภาวะซึมเศร้าหลังคลอด จะคล้ายกับการรักษาโรคซึมเศร้า 

1. การทำจิตบำบัด เป็นการรักษาด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ เพื่อระบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากภาวะดังกล่าว ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำในการรับมือกับปัญหาและให้กำลังใจผู้ป่วย
2. การใช้ยาต้านซึมเศร้า โดยยาที่ใช้ในการรักษาภาวะซึมเศร้าอาจปนเปื้อนในน้ำนมได้ แต่ก็มียาบางชนิดที่ส่งผลข้างเคียงกับทารกได้น้อย โดยผู้ป่วยและแพทย์จะต้องปรึกษากันถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจได้รับจากการรักษาด้วยยาต้านเศร้าแต่ละชนิด

related