1 พ.ค.วันแรงงาน วันแรงงานปี2565 มาพร้อมกับสิ่งที่แรงงานไทยต้องเจอมากมาย เช่น โควิด-19 ที่ทำคนตกงาน ว่างงาน จำนวนมากแต่มีข่าวดีเห็นว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ พร้อมเปิดประเทศอาจมีการจ้างงานมากขึ้น แต่ต้องมาเจอกับราคาน้ำมันดีเซลที่จะสูงขึ้น
วันนี้ 1 พ.ค.วันแรงงาน จะว่าไปแล้วแรงงานก็มีความสำคัญกับธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล แม้ว่าพักหลังมานี้ผู้ประกอบการหลายรายจะหันนำเทคโนโลยี หุ่นยนต์ มาใช้แทนแรงงานมนุษย์ แต่ …ถึงอย่างไรธุรกิจในบางอุตสาหกรรมก็ต้องพึ่งพิงแรงงานมนุษย์อยู่ดี โดยช่วงที่โควิด-19 ระบาดเกือบ 3 ปีที่ผ่านมาทำให้ตลาดแรงงานปั่นป่วนอย่างมาก บางคนตกงาน ไม่มีงานทำ บางคนถูกเลิกจ้างชั่วคราว บางคนถูกเลิกจ้างกะทันหัน บางคนถูกลดเงินเดือน
รับวันแรงงานคนไทยยังตกงานสูง
1 พ.ค.วันแรงงาน ชะตากรรมแรงงานไทย และคนไทย รวมถึงภาคธุรกิจ ยังคงต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอีกมากมาก ทั้งสงครามรัสเซีย ยูเครน โควิด-19 โดยล่าสุด สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง ความกังวล และ ผลกระทบต่อคนไทย จากวิกฤติการณ์ของโลก ได้เผยผลศึกษา พบว่า ร้อยละ 87.7 ระบุ ได้รับผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ เศรษฐกิจโลก ร้อยละ 86.3 ระบุ มีส่งผลต่อสุขภาพกาย จิตใจคนไทย นอกจากนี้ และร้อยละ 86.2 ระบุ มีผลกระทบต่อการจ้างงาน ตกงาน ลดเงิน ทำให้รายได้ลด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ค่าครองชีพคนไทย ตุลาคม 64 สูงขึ้นทุกค่า ยกเว้นค่าแรงขั้นต่ำเนี่ยแหละ!
กสิกไทย ชี้เปิดประเทศ 1พ.ค. 65 ฟื้นท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ 6.5 แสนล้าน
กบน.วางแนวทางราคาน้ำมันดีเซล ขั้นบันไดทยอยขึ้น32 บาท/ลิตร ลดผลกระทบ
หนักใจ ! หนี้ครัวเรือนเพิ่มสูง 99% สูงสุดในรอบ 14 ปี
ในขณะที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เผยว่าสถานการณ์แรงงานไทยภาพรวมมีการจ้างงาน 37.9 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2564 ซึ่งเกิดจากการลดลงของกำลังแรงงาน โดยมีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้นจำนวน 6.3 แสนคน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 1พ.ค. วันแรงงานปี2565 ส่วนใหญ่แรงงานไทยยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19
อย่างไรก็ตามยังมีข้อมูลจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่ได้เผยผลสำรวจแรงงานไทยปี2565 พบว่ามีหนี้ครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้นถึง 99% สูงสุดในรอบ 14 ปี พร้อมกันนี้แรงงานไทยยังมีความกังวลปัญหาเศรษฐกิจ ราคาสินค้าที่แพง โควิด-19ที่ยังไม่หาย รวมถึงการใช้หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่คนในขณะเดียวกันจากผลสำรวจแรงงานไทยยังมีการเรียกร้องรัฐบาลให้เข้ามาดูแลค่าครองชีพให้เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นกว่านี้ เพราะสินค้าในท้องตลาดแพงมาก
พร้อมกันนี้ ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ นางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังเผยอีกว่า แรงงานไทยส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม 67.7% และ 32.3% มีเงินออมที่มาจากรายได้ ส่วนใหญ่ของแรงงานไม่มีอาชีพเสริม แรงงานไทยมีหนี้ครัวเรือนสูง 99% ซึ่งการสร้างหนี้ส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายประจำวัน หนี้บัตรเครดิตสูงสุด และนำเงินไปใช้เงินกู้ นอกจากนี้ยังมีหนี้ที่มาผ่อนที่อยู่อาศัย ยานพาหนะ ค่ารักษาพยาบาล อื่นๆ อีกมากมาย
แรงงานอาจได้เฮค่าแรงขึ้น แต่ผู้ประกอบการกุมขมับ
แต่…ก็ใช่ว่าจะมีเรื่องร้ายๆเสมอสำหรับแรงงานไทย เห็นข่าวมาว่าจะมีการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำเป็น ค่าแรงขั้นต่ำ 492 บาท เรื่องนี้คงเป็นเรื่องที่ดีสำหรับแรงงานที่จะได้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายในครอบครัว แต่สำหรับนายจ้าง ผู้ประกอบการ ธุรกิจแล้ว การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ มีผลกระทบแน่นอนเพราะต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น ทำให้บางรายต้องอาจปรับราคาสินค้า มีผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
เปิดประเทศเต็มรูปแบบอาจหนุนจ้างงานเพิ่ม
นอกจากนี้1 พ.ค.วันแรงงาน ที่จะถึงนี้ปี2565 ยังคงต้องเจอกับการเปิดประเทศ1 พ.ค.เต็มรูปแบบให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในไทย แน่นอนในแง่ดีคือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่จะเดินเครื่องต่อไป มีการจ้างงานที่มาขึ้น แรงงานที่ตกงานจะได้มีงานทำ แต่ก็คงมีแรงงานบางคนหวั่นใจไม่น้อยกับสถานการณ์โควิด-19 แต่ในขณะเดียวกัน1 พ.ค.วันแรงงาน แรงงานไทยก็ต้องเจอราคาน้ำมันดีเซล ที่จะปรับขึ้นราคาลิตรละ 32 บาท และขึ้นแบบขั้นบันไดต่อไป นี่คือเรื่องทุกข์ร้อนที่แรงงานไทยจะต้องพบเจอในวันพรุ่งนี้ รวมถึงสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาดแพงอีกด้วย