svasdssvasds

หมอยง ชี้โควิด-19 จะอยู่ตลอดไป กลายเป็น "โรคประจำถิ่น" ความรุนแรงจะลดลง

หมอยง ชี้โควิด-19 จะอยู่ตลอดไป กลายเป็น "โรคประจำถิ่น" ความรุนแรงจะลดลง

"หมอยง" ระบุ โควิด-19 จะอยู่กับเราตลอดไป และจะหลายเป็น "โรคประจำถิ่น" ในที่สุด เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ

 หลังจากที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกประเทศไทย มีสมรรถนะรับมือสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในระดับ "ดีมาก" อยู่ในระยะการปรับตัวเข้าสู่ "โรคประจำถิ่น" คาดต้นเดือนกรกฎาคม 2565 แต่ยังขอกลุ่มเสี่ยงรีบไปฉีดวัคซีนป้องกัน

 ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เปิดเผยว่า โควิด-19 จะอยู่กับเราตลอดไป และจะเป็น "โรคประจำถิ่น" ในที่สุด

 เมื่อคนส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ ความรุนแรงของโรคจะน้อยลง และจะมียารักษาเพิ่มขึ้น เหมือนไข้หวัดใหญ่ ที่มียา oseltamivir และจะมีการพัฒนายารักษาได้ดียิ่งขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• สธ. ประเมินสมรรถนะไทยรับมือโควิด19 ระดับ ดีมาก พร้อมเป็นโรคประจำถิ่น ก.ค. 65

• เปิดแนวทาง 4 ระยะ หลังมติเห็นชอบปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น ก.ค. นี้

• คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ มีมติหารือ จ่อปรับโควิด-19 เป็น โรคประจำถิ่น

 การศึกษา สังคม เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ต้องเดินหน้าให้กลับมาสู่ภาวะปกติใกล้เคียงกับก่อนการเกิดระบาดของโรค เดินหน้าไปด้วยความรอบคอบ

 การศึกที่ผ่านมากว่า 2 ปี แม้มีการสูญเสีย ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการจัดการได้ดี ยอดผู้ป่วยตายต่อจำนวนประชากรดีกว่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส

 การเกิดภูมิต้านทานจากวัคซีน หรือการติดเชื้อ ในการติดเชื้อจะมี แบบไม่มีอาการ มีอาการน้อย จนกระทั่งมีอาการมาก การศึกษาของศูนย์ในเด็กอายุ 5-6 ขวบ พบการติดเชื้อแบบไม่มีอาการทราบจากการตรวจเลือด ประมาณร้อยละ 8 ถ้านับเด็กที่มีอาการด้วย ขณะนี้ก็น่าจะมีการติดเชื้อในกลุ่มดังกล่าวมากกว่า 1 เท่าตัว

 การติดเชื้อครั้งแรก ส่วนใหญ่จะมีอาการมากที่สุด และเมื่อติดเชื้อซ้ำอาการจะลดน้อยลง เช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจชนิดอื่น เช่น RSV พบความรุนแรงในเด็กเล็กที่เป็นครั้งแรก และในปีต่อๆไปก็มีการติดเชื้อซ้ำอีก อาการจะลดลง และเมื่อเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่การติดเชื้อจะเป็นแบบไม่มีอาการ จึงไม่มีปัญหาในผู้ใหญ่

 

ในอนาคต ประชากรมีภูมิต้านทานมากขึ้น โรครุนแรงน้อยลง มียาที่ใช้รักษาดีขึ้น เราจะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ ที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดความรุนแรง เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในปัจจุบัน เรามุ่งเน้นให้วัคซีนเพิ่มภูมิต้านทานในกลุ่มเสี่ยง

ชีวิตต้องเดินหน้าด้วยความไม่ประมาท เราจะผ่านพ้นปัญหาต่างๆได้ในที่สุด

ที่มา : Yong Poovorawan

related