svasdssvasds

ไขความจริง ท่อนแรปมิลลิ “รถไฟไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้มาแล้ว 120 ปี”

ไขความจริง ท่อนแรปมิลลิ “รถไฟไทยสมัยรัชกาลที่ 5  ใช้มาแล้ว 120 ปี”

โซเชียลลุกเป็นไฟเมื่อ มิลลิ ดนุภา (MILLI) ศิลปินไทยที่ได้มีโอกาสไปแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ของโลกอย่าง Coachella ได้มีท่อนแรปว่า “รถไฟสมัย ร.5 ใช้มาแล้ว 120 ปี” เป็นที่ถกเถียงกันมากมาย และเรามาหาคำตอบกันว่ารถไฟไทยที่ว่ามันเป็นเรื่องจริงหรือไม่

จริงแล้ว “รถไฟไทยในสมัยรัชกาลที่ 5” นั้นไม่มีวิ่งในรางรถไฟแล้ว ซึ่งในท่อนแรปอาจสื่อสารได้ผิดความหมายไป เพราะจริงๆแล้วประวัติของรถไฟไทยนั้นมีมายาวนาน 120 ปีจริง แต่รถไฟที่ใช้วิ่งในปัจจุบัน ได้ผลิตเริ่มที่ปี 2500 แล้ว ซึ่งก็มีอายุรวมไม่เกิน 65 ปี และหากถ้าเก่ากว่านี้จะเป็นหัวจักรไอน้ำ ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่คันในไทย แต่จะเป็นของที่เก็บไว้เป็นที่ระลึก ไว้วิ่งตามโอกาสงานสำคัญๆเท่านั้น

ระบบรางของประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งถือเป็นประเทศที่ 2 ในเอเชียต่อจากอินเดีย
กิจการรถไฟไทยก่อตั้งมาคู่กับญี่ปุ่น ร่วมเกือบ 130 ปี แต่ปัจจุบันระบบรางของเราห่างไกลกับญี่ปุ่น และชาติอื่นในเอเชีย เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน เป็นอย่างมาก
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

กิจการรถไฟซึ่งได้เริ่มตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2439 จนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของพระองค์ในปี พ.ศ 2453 มีทางรถไฟที่เปิดใช้เดินรถรวมทั้งสิ้น 932 กิโลเมตร และกำลังก่อสร้างยังเสร็จอีก 690 กิโลเมตร

ต่อมาใน รัชกาลที่ 6 มีทางรถไฟที่เปิดใช้ทั้งหมด 2581 กิโลเมตร และอยู่ในระหว่างก่อสร้างอีก 497 กิโลเมตร

รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบายในการบำรุงการคมนาคมเช่นเดียวกับรัชกาลก่อนหน้านี้
แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังปั่นป่วน ดังนั้นการก่อสร้างทางรถไฟสมัยนี้จึงเป็นไปได้อย่างล่าช้า โดยมีทางรถไฟเพิ่มขึ้นใหม่อีก 418 กิโลเมตร
 

สมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เปลี่ยนชื่อ "กรมรถไฟหลวง" เป็น "การรถไฟแห่งประเทศไทย"

ผ่านมาหลายรัฐบาล กระทั่งรัฐบาลจากการรัฐประหาร นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิรูประบบรางของประเทศครั้งใหญ่อีกครั้ง ใน กทม.มีรถไฟเพิ่มอีกหลายสาย ต่างจังหวัดมีรถไฟรางคู่ ซื้อหัวรถจักรใหม่ ตู้โดยสารใหม่  สถานีรถไฟใหม่ เป็นชานสูงทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตามรถไฟไทยยังเป็นส่วนหนึ่งของคมนาคมไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในต่างจังหวัดและในกรุงเทพมหานคร ถึงแม้จะมีรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้าใต้ดินเข้ามา

แต่ด้วยความเหลื่อมล้ำของรายได้จึงทำให้ยังมีผู้คนต้องใช้รถไฟอยู่เป็นประจำ แม้รถไฟไทยจะมีความเก่าแก่หรือไม่ก็ตามการเดินทางด้วยรถไฟยังถือเป็นเสน่ห์ของประเทศไทยที่ต่างชาติบางคนหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นวิวที่มองจากรถไฟ เสียงคนขายของกิน ของใช้ที่ตะโกนอยู่ตลอดเส้นทาง หรือเสียงรถไฟที่ยังดังเหมือนเดิมเวลาเข้าชานชะลา ซึ่งในอนาคตความเก่าแก่รถไฟไทย อาจเป็นจุดท่องเที่ยวหนึ่งในประเทศไทยก็เป็นได้
 

related