นักวิทย์ศาสตร์จีน คิดค้นวัคซีนโควิด-19 รูปแบบใหม่เป็น วัคซีน RNA แบบวงแหวน สามารถป้องกันโควิดโอไมครอน โควิดเดลต้า โดยตรง เหมาะแก่การฉีดเป็นบูสเตอร์โดส
นักวิทยาศาสตร์จีนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Beijing University) เสนอแนวคิดวัคซีนโควิด-19 แบบใหม่ซึ่งเป็นวัคซีน RNA แบบวงแหวน และได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์เซลล์ (Cell Medical Journal) ชี้ว่าวัคซีนใหม่อาจช่วยกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีป้องกันโควิดเดลต้า และโควิดโอไมครอน
วัคซีน mRNA มุ่งโจมตีโปรตีนหนามของเชื้อโควิด-19 เป็นหลัก ทว่าวัคซีนที่มีโครงสร้างอาร์เอ็นเอแบบเส้น มักพลาดเป้าหมายในการป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เกิดจากการกลายพันธุ์
ในขณะที่วัคซีน RNA แบบวงแหวน ซึ่งมาพร้อมโครงสร้างวงแหวนลักษณะปิด มีความเสถียรมากกว่าวัคซีน mRNA และสามารถกระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อาศัยสารน้ำและเซลล์อย่างมีศักยภาพมากขึ้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
วัคซีน RNA แบบวงแหวนยังกระตุ้นแอนติบอดีในระดับสูง สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 ที่ทดลองในหนูและลิงวอกได้อย่างดี อีกทั้งสร้างการตอบสนองของทีเซลล์ (T-cell) ที่มีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ของร่างกาย มีผลตอบสนองต่อโควิด-19 ได้ดี ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของอาการป่วยหนักในกลุ่มคนที่เคยฉีดวัคซีนหรือติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
การศึกษาพบว่าหนึ่งในการทดลองวัคซีน RNA แบบวงแหวน มีการมุ่งเน้นโจมตีเชื้อโควิดโอไมครอน ด้วยการสร้างแอนติบอดีต่อสายพันธุ์โอไมครอนโดยตรง แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงสายพันธุ์เดลต้า ขณะที่วัคซีนอีกตัวมีเป้าหมายเป็นสายพันธุ์เดลต้าสามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ได้ทั้ง 2 สายพันธุ์ ซึ่งเหมาะแก่การทำหน้าที่เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์โดส) ตามหลังจากที่ฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว
ทำให้นักวิจัยสรุปได้ว่า วัคซีน RNA แบบวงแหวนมีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทางเลือกที่ใช้งานในวงกว้างต่อไปได้