ทำงานทันที! ผู้สมัครผู้ว่ากทม. อย่างเบอร์ 1 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลงพื้นที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม เพื่อสื่อสารประเด็นการพัฒนาเมืองของหน่วยงานรัฐ ด้าน เบอร์ 8 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หาเสียง 5 ตลาด ชี้ค่าครองชีพต้องถูกลง เป็นกลไกสำคัญของชุมชน
เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (2 เม.ย. 65) ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลงพื้นที่พูดคุยกับผู้ดูแลศาลเดิม เพื่อสื่อสารประเด็นการพัฒนาเมืองของหน่วยงานรัฐว่า หากมองตามหลักนิติศาสตร์ กางสัญญาว่าใครถูกใครผิดก็ตัดสินได้ง่ายด้วยการผลักดันไล่ที่ แต่หากมองถึงความรู้ของประชาชน สถานที่ที่โอบรับกิจกรรมทางสังคมวิถีชีวิตร่วมสมัย หลายชั่วอายุคน ที่คนในชุมชนเรารู้สึกหวงแหน เหล่านี้ต้องมีต้นทุนในการ เปลี่ยนแปลง มีต้นทุนในการอนุรักษ์
การตัดสินใจถ้ามองในมุมเอกชนอย่างเดียวก็ต้องตั้งเป้าทำกำไร แต่ถ้ามองในมุมของรัฐ ของหน่วยงานที่ได้ภาษีจากรัฐ ที่ต้องอยู่ร่วมกับชุมชน จะตั้งเป้าทำกำไรสูงสุดไม่ได้ ซึ่งสถานที่เก่ากับโบราณสถานมีความต่างกัน เพราะโบราณสถาน มีวิถีชีวิตของผู้คน หากผลักดันการเปลี่ยนแปลงด้วยกระดาษไม่กี่แผ่น ความขัดแย้งจะเกิดขึ้น หากร่วมมือร่วมใจระหว่างองค์กรกับชุมชนจะไม่เกิด
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
คำถามคือเราต้องการ ความเปลี่ยนแปลงแบบไหน ตนย้ำเสมอว่า เมืองไม่ใช่แค่สิ่งปลูกสร้าง แต่เมืองที่มีชีวิตคือสิ่งที่คนต้องการ และการลงพื้นที่วันนี้ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่จะใช้จัดการมุมมองใหม่ของเมือง และกรณีนี้เทียบเคียงกับ ท่าเตียน ท่าพระจันทร์ ท่าช้าง ที่ปรับปรุงทาสีสวยงาม ดูเป็นระเบียบขึ้น แต่วิถีชีวิตกิจกรรมของชุมชนมันแห้งแล้ง เพราะคำว่าสวยของเมืองไม่ใช่แค่เพียงสิ่งปลูกสร้างเท่านั้น แต่ต้องเป็นเมืองที่มีการโอบรับวิถีชีวิตของคน
พร้อมกันนี้นายวิโรจน์ ยังกล่าวถึงแนวทางการลงพื้นที่หาเสียงหลังจากมีว่า จะพบปะประชาชนพร้อมกับผู้สมัคร ส.ก.พรรคก้าวไกล และนำเสนอว่า ส.ก. มีความสำคัญอย่างมาก อนุมัติงบประมาณเพื่อให้ผู้ว่าขับเคลื่อนนโยบายคือ ส.ก.จึงเป็นผู้ที่ดูแลการใช้จ่ายภาษีของปรรชาชน หากได้ ส.ก.ไม่ดี เงินของประชาชน จะถูกใช้อย่างสุรุ่ยสุร่าย ใช้กับโครงการที่ไม่จำเป็น และยังออกกติกาที่ใช้ร่วมกันหากไม่อิงกับประชาชน กติกาที่ออกมา ก็จะริดรอนสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ ตั้งใจจะลงพื้นที่ครบทั้ง 50 เขต
ทางด้าน นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เบอร์ 8 ลงพื้นที่ตลาดประชานิเวศน์ เพื่อพบปะพูดคะยกับพ่อค้าแม่ค้าประชาชนและสำรวจสภาพเศรษฐการค้า ปัญหาเงินเฟ้อ ของแพง การปรับตัวของผู้ค้าในวิกฤตโควิด รวมถึงสำรวจโอกาสพัฒนาสินค้าสร้างสรรค์และการฟื้นฟูตลาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ กทม.
โดยพบว่า อันดับแรกคือ เศรษฐกิจ อันดับสองคือการจราจร/ขนส่ง และอันดับสามคือ น้ำท่วม และมีประชาชนให้การตอบรับมาขอถ่ายรูปและให้กำลังใจตลอดการเดินหาเสียง
เหตุผลของการเลือกลงพื้นที่ตลาดต่างๆในวันนี้ เพราะตลาดคือหัวใจของชุมชน เป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ หลายคนมีชีวิตที่ต้องอาศัยเศรษฐกิจในพื้นที่ และตลาดถือเป็นแหล่งรวมทั้งโอกาสและปัญหาต่างๆ วันนี้มาลงพื้นที่ก็ได้พูดคุยเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องแรก พ่อค้า แม่ค้า ได้สะท้อนเรื่องคนซื้อขายน้อยลง
และจากการรับฟังการสะท้อนปัญหาผ่านสภากาแฟเพื่อนชัชชาติ ก็ทำให้เห็น ปัญหาที่ถูกสะท่อนมากที่สุดคือเรื่องเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงตลาดถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้ประชาชนมีค่าครองชีพที่ถูกลง ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของตน ในการลดรายจ่าย หากสามารถทำให้พ่อค้าแม่ค้ามีที่ขายที่ไม่แพงประชาชนก็สามารถมาจับจ่ายซื้อของได้ดีขึ้น เป็นการให้โอกาสคนตัวเล็กตัวน้อย มีพื้นที่ขายของ และกทม.ต้องมาช่วยดูแล
เพราะ กทม.ไม่ได้มีหน้าที่แค่ลอกท่อหรือกวาดขยะ เรื่องเศรษฐกิจก็สำคัญว่าจะช่วยประชาชนอย่างไรในเวลาที่ยากลำบากและจะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร เพราะย่านนี้มีที่อยู่อาศัยเยอะ จะทำอย่างไรให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งนี้ยังฝากไปถึงประชาชนชาวทม.ด้วยว่า ขอให้ช่วยบอกต่อๆกันว่า 22 พ.ค.มีการเลือกตั้งผู้ว่ากทม.และขอให้ไปใช้สิทธิ