svasdssvasds

หนุ่มอินเดีย ปลอมเป็นหมอ เพื่อให้น้องสาวรักษามะเร็งในรพ. เร็วขึ้น ดีขึ้น

หนุ่มอินเดีย ปลอมเป็นหมอ เพื่อให้น้องสาวรักษามะเร็งในรพ. เร็วขึ้น ดีขึ้น

ข่าว หมอปลอม เคยมีมาก่อนในอินเดียเมื่อปี 2018 เหตุการณ์นี้ไม่เพียงปลอมแปลงตัวตนบนโลกออนไลน์แต่ปลอมเข้าไปในสถาบันการแพทย์ชื่อดังของกรุงเดลี แบบเนียนๆ ได้นานถึง 5 เดือนเหตุเพราะอยากให้น้องสาวที่ป่วยมะเร็งได้รับการรักษาที่ดีและรวดเร็วขึ้น

เหตุการณ์ หมอปลอม นี้ เกิดขึ้น เมื่อปี 2018 ที่ประเทศอินเดีย มีข่าวหนึ่งที่ดังไปทั่วโลก นั่นคือ ข่าวหนุ่มที่มีชื่อว่า Adnan Khurram อายุเพียง 19 ปี ถูกตำรวจเมืองเดลี จับกุม เนื่องจากเขา ปลอมตัวเป็นหมอในสถาบันการแพทย์แห่งหนึ่ง เป็นเวลา 5 เดือน

Adnan Khurram ได้โพสต์ภาพตัวเองที่มีสายหูฟังแพทย์คาดขอและหน้ากากอนามัยอยู่ใต้คางลงในอินสตราแกรมส่วนตัว ก่อนถูกจับตำรวจที่จับกุมเขาได้ยืนยันว่า เขา ไม่มีใบอบรมด้านการแพทย์ และไม่ได้รับเงินเดือนจากสถาบันการแพทย์ All India Institute of Medical Sciences (AIIMS) ในเดลี Khurram ถูกจับกุมได้ก่อนที่จะเข้าร่วมงานวิ่งมาราธอนที่กำลังจัดขึ้นให้เฉพาะพนักงาน 

แพทย์ตัวจริงคนอื่นๆ เริ่มจับสงสัยได้เมื่อสังเกตว่า Khurram มีเวลาว่างมากกว่าแพทย์คนอื่นๆ ซึ่งทำงานหนัก อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อกะ
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Dr Harjit Singh Bhatti ประธานสมาคมแพทย์ประจำโรงพยาบาล กล่าวว่า  “พวกเรารู้สึกประหลาดใจที่เขาสามารถเข้าร่วมงานทั้งหมดที่ AIIMS จัดขึ้นและยังมีเวลาไปร่วมงานที่จัดโดยองค์กรอื่นๆ ทางการแพทย์ได้อีก แถมเขายังไปเที่ยวร้านกาแฟหรือหอพักหมอได้ทุกเย็น ทุกคนจึงเริ่มสงสัยว่าทำไมหมอคนนี้ถึงมีเวลาว่างเยอะจัง” 

เหตุการณ์สำคัญที่นาย Khurram ได้เข้าร่วมระหว่างเนียน ปลอมตัวเป็นหมอ ได้แก่ 

  • เดินขบวนแสดงความเสียใจกับแพทย์ของ AIIMS สามคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน
  • เข้าร่วมประชุมรัฐสภาของนักเรียน
  • เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านร่างกฎหมายสภาการแพทย์แห่งชาติ (NMC)

"เขาสวมเสื้อคลุมและหูฟังแพทย์เดินไปทั่วโรงพยาบาล อ้างว่าเป็นแพทย์ประจำบ้านบ้างล่ะ อ้างว่าเป็นนักศึกษาแพทย์บ้างล่ะ จนเพื่อนๆ ดึงเข้ากลุ่ม WhatsApp ของหมอเรียบร้อยแล้ว"

หมอปลอม Khurram ถูกตั้งข้อหาแอบอ้างและปลอมแปลง เขาได้ให้เหตุผลกับตำรวจว่า เหตุที่ทำไปเพราะเหตุที่ต้องการช่วยให้น้องสาววัย 7 ปีที่รักษาตัวอยู่ที่ AIIMS ด้วยอาการป่วยจากมะเร็งเม็ดเลือดได้รับการดูแลรักษาที่เร็วขึ้น แล้วส่วนตัวก็มีความฝันว่าสักวันหนึ่งอยากจะเป็นหมอจริงๆ จึงได้ทำการแอบอ้างในครั้งนี้  

เหตุการณ์เกิดขึ้นได้เพราะจำนวนแพทย์ที่สถาบัน AIIMS มีมากกว่า 2,000 คน และแต่ละปีมีการรับแพทย์เพิ่มปีละสองรอบ จึงมีแพทย์หน้าใหม่เข้ามาตลอดทำให้ยากที่จะติดตามตรวจสอบได้ครบถ้วน 

ทั้งนี้ในอินเดียมีปัญหาขาดแคลนแพทย์อย่างต่อเนื่องมาตลอด จึงเกิดช่องว่างให้มีการแอบอ้าง เป็น หมอปลอม หรือหมอที่คุณสมบัติไม่ครบ เข้ามาในวงการอยู่เสมอ โดยอัตราส่วนอยู่ที่ แพทย์ 36 คนต่อขาวอินเดีย 100,000 คน (ซึ่งเทียบกับในจีนที่มีแพทย์ 130 และในสหราชอาณาจักรที่มีแพทย์ 2710 คน ต่อประชากร 100,000 คน)ในปี 2016 องค์การอนามัยโลก พบว่าน้อยกว่า 20% ของแพทย์ที่ทำงานในชนบท มีคุณสมบัติทางการแพทย์ที่ถูกต้องตามเกณฑ์

ที่มา
1 2 3