ย้อนไทม์ไลน์ รัสเซีย - ยูเครน รบกันเพราะอะไร จุดเริ่มต้น ที่มา ของความขัดแย้ง อาจจะเป็นสงครามการเมืองยุคใหม่ หลังจาก วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ลงนามคำสั่งเคลื่อนกำลังทหารเข้าปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในภูมิภาคโดเนตสก์ และลูฮานสก์
•จุดเริ่มต้นประเทศยูเครน
.
ประเทศยูเครน ถือเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยุโรป เป็นรองเพียงแค่รัสเซีย ประเทศเดียว โดยยูเครน มีพื้นที่ ราวๆ 603,628 ตารางกิโลเมตร (หมายเหตุ รวมพื้นที่ ไครเมีย ด้วย)
ประเทศ ยูเครนนั้น อยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก ติดกับทะเลดำ อยู่ระหว่างโปแลนด์ กับรัสเซีย (ซึ่งโปแลนด์กับยูเครนเคยจับมือเป็นเจ้าภาพ มหกรรมกีฬาอย่าง ยูโร 2012 ร่วมกันด้วย) ทิศเหนือจรดพรมแดนรัสเซียและเบลารุส ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อรัสเซีย ทิศตะวันตกจรดพรมแดนโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทิศใต้ติดทะเลดำ ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดพรมแดนโรมาเนีย และมอลโดวา ซึ่งเป็นอดีตพื้นที่ของประเทศสหภาพโซเวียตเช่นกัน)
การถือกำเนิดของยูเครนนั้น เป็นผลพวงมาจากเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 กระแสชาตินิยมในยูเครนขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุผลต่างๆได้แก่ ความไร้ประสิทธิภาพของระบบสหภาพโซเวียตในเวลานั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป็นต้น
แผนที่จุดปัญหา ยูเครน รัสเซีย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ด่วน! ยูเครน ระอุ ปูติน รับรองสถานะภาพรัฐอิสระ ทั่วโลกหวั่นเกิดสงคราม
รัสเซีย ยอมรับสองสาธารณรัฐ เพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจาก "การนองเลือด"
ในช่วงเวลานั้น ประธานาธิบดี อิคาอิล กอร์บาชอฟ ดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางการเมือง ส่งผลให้รัฐบาลสหภาพโซเวียตเวลานั้นจำเป็นต้องให้อำนาจแก่สาธารณรัฐและดินแดนปกครองตนเองต่างๆ มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า กระแสการเรียกร้องสิทธิที่จะปกครองตนเองในยูเครนดำเนินไปอย่างเข้มแข็ง และในที่สุด ยูเครนได้ประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 1991 (โดยในช่วงเวลานั้น สหภาพโซเวียต ถูกแบ่งแยกเป็นจำนวน 15 ประเทศในเวลาไล่เลี่ยกัน )
และในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. ค.ศ.1991 ชาวยูเครนได้ลงประชามติให้ยูเครนประกาศเอกราชจากสหภาพโซเวียต นับเป็นจุดที่ยูเครน ได้ออกมาพ้นจากดินแดนหลังม่านเหล็กอย่างเป็นทางการ
อย่างไรก็ตาม ในความเป็นประเทศ ยูเครนนั้น ก็มีความซับซ้อนและมีปัญหาในเชิงโครงสร้างซ่อนอยู่ ในแง่ของมนุษย์ , พื้นที่ และ ชาติพันธุ์ เพราะมีบางพื้นที่ในยูเครน ที่มีความเป็น "รัสเซีย" อยู่ อย่างเช่นดินแดนในแถบตะวันออก ที่กำลังเป็นข้อขัดแย้งกันตอนนี้ แบบที่้ โดเนตสก์และลูฮานสก์ ซึ่งวลาดิเมียร์ ปูตินให้การรับรองและยอมรับ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นข่าวอยู่ในตอนนี้
•ไทม์ไลน์ความขัดแย้ง รัสเซีย - ยูเครน รบกันเพราะอะไร
.
หากจะย้อนไทม์ไลน์ของความขัดแย้งระหว่าง รัสเซีย - ยูเครน คงต้องเท้าความไกลไปถึงช่วงเวลา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วง ปี 1949 อิทธิพลของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น เริ่มคุกคามมายังภูมิภาคยุโรป
.
ดังนั้น 12 ชาติตะวันตก (และมีสหรัฐฯรวมอยู่ด้วย) จึงร่วมกันก่อตั้งองค์การนาโต้ (NATO) หรือ องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ โดยปัจจุบันนาโต้ ขยายสมาชิกไปแล้วถึง 30 ประเทศ ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรด้านการทหาร ให้ประเทศสมาชิกให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันกรณีที่สมาชิกถูกโจมตีด้วยอาวุธ
.
ทางฝั่งโซเวียต ก็ได้ก่อตั้ง องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอว์ (Warsaw Pact) ขึ้นมาในปี 1955 เพื่อตอบโต้นาโต้ และคานอำนาจ หรือ ถ่วงดุลอำนาจฝั่งนาโต้ไว้ เป็นพันธมิตรทางทหารในหมู่ชาติคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก
.
แต่อย่างไรก็ตาม ปี 1991 สหภาพโซเวียตล่มสลายกระจายเป็นประเทศต่าง ๆ ที่เป็นเอกเทศ มีหลายๆประเทศได้หันเหจากวอร์ซอว์ไปเข้าร่วมกับนาโต้แทน ส่วนยูเครนนั้น ก็ยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต้ในเวลานี้ แต่ก็มีความพยายามอยู่เรื่อยมา
.
ในปี 1992 ยูเครนเริ่มสร้างความสัมพันธ์กับนาโต้อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะยังไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกก็ตาม โดยยูเครนในช่วงแรกจากยุค 90s จนถึงปี 2004 จึงอยู่ในระยะของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ และเป็นช่วงที่ยังไม่มีความขัดแย้งเด่นชัดกับรัสเซีย
.
อย่างไรก็ตาม สัญญาณแรกที่เป็นการบ่งบอกว่า รัสเซีย อยากจะแสดงอำนาจ และแผ่อิทธิพลมายังยูเครน ก็คือในช่วงปี 2004 ยูเครนมีการเลือกตั้งทั่วไป แล้วฝ่ายรัสเซีย หนุนหลัง วิกเตอร์ ยานูโควิช ที่เลือกตั้งครั้งนั้น ลงแข่งกับ วิกเตอร์ ยุชเชนโก้ จากฝ่ายที่สนับสนุนประชาธิปไตย
.
เป็นเรื่องที่น่าเหลือและกลายเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์การเมืองโลก เมื่อ วิกเตอร์ ยุชเชนโก้ (คนที่รัสเซียไม่ได้สนับสนุน) ถูกวางยาพิษจนล้มป่วย แต่ไม่เสียชีวิต ส่วนผลการเลือกตั้งวิเตอร์ ยานูโควิชเป็นฝ่ายชนะ แต่มีข้อกล่าวหาว่าเขาโกงผลการเลือกตั้ง ประชาชนในยูเครนจึงออกมาประท้วงครั้งใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ “Orange Revolution” หรือปฏิวัติสีส้ม จนท้ายที่สุดมีการเลือกตั้งซ่อม และประกาศให้ยุชเชนโก้ เป็นฝ่ายชนะเลือกตั้งจนได้
.
เมื่อ วิกเตอร์ ยุชเชนโก้ (คนที่รัสเซียไม่ได้สนับสนุน) ได้จัดตั้งรัฐบาล จึงมีการผลักดันให้ ยูเครน เข้าร่วมกับนาโต้ ซึ่งแม้จะยังไม่มีผลทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ แต่เป็นที่รู้กันดีว่า ยุชเชนโก้ อยากให้ยูเครนเข้าร่วมนาโต้ ขณะเดียวกัน ในทางกลับกัน รัสเซียก็ไม่อยากให้ยูเครนเข้าร่วมนาโต้ นับเป็นสภาพการเมืองที่คัดง้างกันอยู่
• เหตุการณ์วิกฤตพลังงาน ปี 2009 : รัสเซียภาพชัดมีอิทธิพลในยูเครน
.
อย่างไรก็ตาม ในปี 2009 มีเหตุการณ์ที่ทำให้ รัสเซีย ฉายแสงความมีอิทธิพลอยู่ในยูเครน เพราะเวลานั้นเกิดวิกฤตพลังงาน เมื่อแก๊ซพรอม Gazprom บริษัทก๊าซของรัฐบาลรัสเซีย หยุดส่งก๊าซไปยังยูเครนอย่างกะทันหันในวันที่ 1 ม.ค. จนเกิดวิกฤตพลังงานในยูเครนและประเทศโซนยุโรปตะวันออกและยุโรปกลางที่ต้องพึ่งพาท่อส่งก๊าซผ่านยูเครนเพื่อรับการนำเข้าก๊าซจากรัสเซีย
.
ในจุดนี้ มันแสดงให้เห็นว่า รัสเซีย มี "ตัวประกัน" ในการแสดงอิทธิพลในยูเครน หรือ แสดง อิทธิพลในยุโรปอยู่ นั้นคือ เรื่องของ ท่อส่งก๊าซ นั่นเอง.
.
ในช่วงเวลาปี 2009 มีแรงกดดันจากนานาชาติให้ยูเครนแก้ปัญหาเรื่องนี้ ซึ่งในภายในเวลา 2 สัปดาห์เศษ ยูเครนได้เจรจาข้อตกลงใหม่กับวลาดิเมียร์ ปูติน และยอมส่งก๊าซอีกครั้ง ซึ่งเหตุการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของรัสเซียต่อประเทศยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง ที่ยังคงต้องพึ่งพาก๊าซจากรัสเซีย
• รัสเซียในเกมการเมืองบวกไครเมีย
ในช่วงปี 2010 วิคเตอร์ ยานูโควิช คนที่รัสเซียสนับสนุน ได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดียูเครนและเขาเอนเอียงดำเนินนโยบายเข้าฝั่งรัสเซีย ด้วยการปฏิเสธความร่วมมือกับสหภาพยุโรปเพื่อนำยูเครนเข้าสู่ข้อตกลงการค้าเสรีในปี 2013 แต่สิ่งนี้ก็นำมาซึ่งการประท้วงครั้งใหญ่ในยูเครน เพราะประชาชนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงนี้ ออกมาประท้วงไม่พอใจที่วิคเตอร์ ยานูโควิชแสดงท่าทีอยู่ฝ่ายรัสเซีย
.
การประท้วงบานปลาย มาจนถึงปี 2014 และมีผู้เสียชีวิตจากการประท้วงที่ลากยาวเกินกว่า 100 คน และถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยูเครนมีการนองเลือดรุนแรงมากที่สุด และในช่วงเวลานี้ รัสเซีย อาศัยช่วงเวลาแห่งปัญหาของรัสเซีย เมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยูเครน ก็ออกมาประณามว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลยูเครน ถอดถอนวิคเตอร์ ยานูโควิช เป็นการรัฐประหารที่ผิดกฎหมาย และส่งทหารรัสเซียติดอาวุธมายังบริเวณคาบสมุทรไครเมียเกือบจะในทันทีที่เกิดเรื่องความขัดแย้ง
.
ในท้ายที่สุดแล้ว รัสเซีย ได้กลับมาควบรวม ไครเมีย กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย โดยในช่วงปี 2014 รัฐสภาไครเมียจึงมีมติให้แยกตัวจากยูเครนและเข้าร่วมกับรัสเซีย ทำให้รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศได้สำเร็จ
•ความขัดแย้งรัสเซีย ยูเครน ณ เข็มนาฬิกาปัจจุบัน
.
เวลานี้ กับดินแดนที่เป็นความขัดแย้งในพื้นที่โดเนตสก์และลูฮานสก์นั้น มีการคาดหมายว่า รัสเซียกำลังเดินเกม คล้ายๆกับช่วงเวลาที่ รัสเซีย ดึงไครเมีย กลับไปเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย จากการที่ ประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศตัดสินใจยอมรับสถานะของภูมิภาคโดเนตสก์ และลูฮานสก์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของยูเครน ว่าเป็นรัฐอิสระ
.
ทุกอย่างในเวลานี้ กำลังเดินตามรอยเส้นปะแบบที่รัสเซีย เคยทำไว้ กับยูเครน ในเหตุการณ์ ที่ดึง ไครเมีย กลับไปเป็นส่วนหนึ่ง เมื่อปี 2014
.
การที่ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ลงนามคำสั่งเคลื่อนกำลังทหารเข้าปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในภูมิภาคโดเนตสก์ และลูฮันสก์ ทันที ซึ่งขอบเขตของภารกิจนี้ยังไม่มีความชัดเจน
แต่หากทหารข้ามพรมแดน จะเป็นครั้งแรกที่ทหารรัสเซียเข้าสู่ดินแดนที่ยึดครองโดยฝ่ายกบฏยูเครนอย่างเป็นทางการ ส่วนในแง่ของประชาชนในใจกลางเมืองโดเนตสก์ ต่างพากันออกมาเฉลิมฉลองและโบกธงชาติรัสเซีย เพราะพวกเขาใช้ภาษารัสเซีย และมีความเป็นรัสเซียอยู่แล้ว
การเดินเกมการเมืองแบบนี้ ผลที่ตามมาคือ รัสเซีย อาจจะถูก คว่ำบาตรจาก 27 ประเทศสมาชิกอียู ทั้งเรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจต่างๆ หากรัสเซียผนวกหรือให้การยอมรับภูมิภาคโดเนตสก์ และลูฮันสก์ ที่ส่วนใหญ่ควบคุมโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในยูเครน