svasdssvasds

เช็กที่นี่! วิธีรับเงินชดเชยโควิด-19 จาก "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40

เช็กที่นี่! วิธีรับเงินชดเชยโควิด-19 จาก "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40

อัปเดตล่าสุด! ประกันสังคม เปิดวิธีรับเงินชดเชยสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 แต่ละมาตราสามารถรับเงินชดเชยโควิด-19 ได้ตามช่องทางต่างๆ เช็กได้ครบจบที่นี่

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ เป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่อย่างโอไมครอน หรือ โควิดโอไมครอน (Omicron) ที่เป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงที่สุดในเวลานี้

โดยสถานการณ์ โควิดวันนี้ (16 ก.พ. 65) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 16,462 ราย ติดเชื้อสะสม 2,639,062 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 27  ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 22,516 ราย และผลตรวจจาก ATK / เข้าข่ายติดเชื้อ 11,816 ราย

ในช่วงที่ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิดยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ที่มีอาการโควิดหรือได้รับเชื้อโควิดจนต้องพักรักษาตัว หรือต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่ทำประกันสังคมไว้ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะสำนักงานประกันสังคม พร้อมจ่าย ชดเชย ให้ทุกมาตรา

 

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 33

  • กรณีลาป่วย : รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
  • หยุดรักษาตัว เกิน 30 วัน : สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคม นับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

มาตรา 39

  • รับเงินทดแทน ขาดรายได้ร้อยละ 50
  • คิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) : ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01)

* ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

 

มาตรา 40

  • รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1 - 2 - 3
  • ต้องนำส่งสมทบ 3 เดือน : ภายในระยะเวลา 4 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01/ม.40)

รายละเอียดจ่ายชดเชย

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดให้ ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 มีทางเลือกหลากหลายช่องทาง รับเงิน - จ่ายเงิน กองทุน "ประกันสังคม" และ กองทุนเงินทดแทน ดังนี้

  • ชำระทางเคาน์เตอร์
  • e-Payment
  • หักบัญชีเงินฝากธนาคาร
  • Mobile App
  • ผ่านช่องทางธนาคาร
  • หน่วยบริการต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า ไปรษณีย์ไทย แอปพลิเคชัน
  • จ่ายด้วยการโอนผ่านช่องทางธนาคารและบริการพร้อมเพย์

 

กองทุนประกันสังคม

สถานประกอบการ (ม.33)

  • เคาน์เตอร์ : Krungthai , Krungsri
  • e-Payment : Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank , citi , SMBC , MIZUHO , Deutsche Bank , BNP , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส

ผู้ประกันตน (ม.39)

  • เคาน์เตอร์ : Krungthai , Krungsri , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's , ไปรษณีย์ไทย , cen pay , Big C
  • หักบัญชีเงินฝากธนาคาร : Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank

ผู้ประกันตน (ม.40)

  • เคาน์เตอร์ : Krungthai , Krungsri , ธ.ก.ส. , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's ,  cen pay , บุญเติม , Big C
  • หักบัญชีเงินฝากธนาคาร : Krungthai , Krungsri , ttb , SCB , KBank , Bangkok Bank , ออมสิน , ธ.ก.ส.
  • Mobile App : Shopee

กองทุนเงินทดแทน

  • เคาน์เตอร์ : Krungthai , Krungsri , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส , Lotus's
  • e-Payment : Krungthai , ttb , Kbank , Bangkok Bank , Deutsche Bank , 7-11 เคาน์เตอร์เซอร์วิส

 

ช่องทางการจ่ายเงินสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนผ่านธนาคาร

  • ม.33 และ ม.39 (โอนผ่านธนาคาร) Krungthai , Krungsri , Bangkok Bank , ttb , SCB , Kbank , ธนาคารอิสลาม , CIMB Thai , ออมสิน , ธ.ก.ส. , PromptPay
  • ม.40 (โอนผ่านธนาคาร) Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.
  • ขอรับเงินทดแทนกองทุนเงินทดแทน (โอนผ่านธนาคาร) Krungthai , Krungsri , ออมสิน , ธ.ก.ส.

เช็กที่นี่! วิธีรับเงินชดเชยโควิด-19 จาก \"ประกันสังคม\" ม.33 ม.39 ม.40

related