ถอดไอเดีย 2 ประเทศในยุโรป อย่างสหราชอาณาจักรและสวีเดน ที่มีมุมมอง ขอเดินหน้าต่อไปข้างหน้า และขออยู่ร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ โดย รัฐบาลสวีเดนได้ยกเลิกมาตรการควบคุมการระบาดเกือบทั้งหมดลงแล้ว ขณะที่ อังกฤษ ก็ยืนยันว่า จะอยู่รวมกับโควิดให้ได้
ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในไทย มียอดสูงทะลุแสนราย นับแค่เฉพาะกุมภาพันธ์ 2022 อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่า มาตการจากรัฐจะมีทิศทางที่เดินสวนทางกลับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ขณะที่ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย และสามารถอยู่ในเกณฑ์การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้ มากขึ้น
.
สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก ณ ภาวะการณ์ของโลกในตอนนี้ เพราะในหลายๆประเทศ ก็ไม่ได้ วิตกกังวล หรือ ตกใจกับยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว อาทิ ในบางประเทศในยุโรป อย่าง สวีเดน โดย เลน่า ฮัลเลนเกรน รมว.สาธารณสุขสวีเดน มีมุมมอง ว่าโควิด-19 ไม่ถือเป็นโรคอันตราย สำหรับสังคมของประเทศสวีเดนอีกต่อไป และจะสิ้นสุดในบริบทของการยุติมาตรการควบคุมทางสังคมทั้งหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศปก.ศบค. จ่อเพิ่มมาตรการช่วงวาเลนไทน์-สงกรานต์ หลังยอดติดเชื้อทะลุหมื่น
ญี่ปุ่น เตรียมยื่นอนุมัติยารักษาโควิด-19 ชนิดรับประทาน ต้านโอไมครอนได้ดี
ในสวีเดนนั้น,ร้านอาหารและสถานประกอบกิจการกลางคืน สามารถให้บริการได้หลังเวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของแต่ละวัน และไม่มีการกำหนดจำนวนผู้ใช้บริการอีกต่อไปแล้ว
.
ขณะที่ การจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมงานในสถานที่ที่มีขนาดใหญ่ และการใช้บัตรผ่านวัคซีนโควิด-19 ตลอดจนการเข้ารับการตรวจคัดกรองตามสถานที่สาธารณะ ไม่มีความจำเป็นแล้ว เนื่องจากการตรวจเป็นวงกว้างทำให้รัฐบาลสูญเสียงบประมาณมากเกินความจำเป็น
.
โดย หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสวีเดนระบุว่า สวีเดนใช้เงินไปกว่า 1.8 พันล้านบาท ไปกับการตรวจหาเชื้อในช่วงห้าสัปดาห์แรกของปีนี้ และประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาทไปกับการตรวจหาเชื้อตลอดการระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา
ในเวลาเดียวกัน สหราชอาณาจักรเป็นอีกหนึ่งประเทศใหญ่และผู้นำของโลกที่พยายามสร้างมุมมอง ให้การอยู่ร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ และ การอยู่ร่วมกับโควิด-19 มันเป็นเรื่องปกติสามัญธรรมดา
.
เรื่องนี้ออกมาจากปากของ บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรที่เพิ่งประกาศว่า หลังจากปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นต้นไป ประชาชนในอังกฤษจะไม่จำเป็นต้องกักตัวอีกต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ ในช่วงต้นปี 2022 แม้โควิดโอไมครอนจะระบาดไปทั่วโลก และทำให้ อังกฤษต้องใช้ แผนรับมือ เคร่งครัดขึ้นมาอีกระดับ ซึ่งเรียกกันว่า Plan B แต่สุดท้ายในช่วงปลายเดือน มกราคม บอริส จอห์นสัน ผู้นำอังกฤษ ได้ยกเลิกมาตรการ Plan B ที่บังคับใช้ชั่วคราว ทั้งหมด เพราะต้องการชะลอการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนนั่นเอง
.
เวลานี้ อังกฤษ ยังได้ยกเลิกข้อกำหนดสำหรับนักท่องเที่ยวที่รับวัคซีนครบถ้วนที่ก่อนหน้านี้จะต้องตรวจโควิด-19 ออกไป โดยจะมีการประกาศข้อกำหนดสำหรับการท่องเที่ยวที่เหลือในวันที่ 21 ก.พ.นี้ นั่นหมายความว่า ประเทศผู้นำของโลกอย่างอังกฤษ มีวิสัยทัศน์ ในการต้อง ปรับตัวและปรับแนวคิด ให้อยู่ร่วมกับโควิด
.
ทั้งนี้ ไม่ใช่มีเพียงแค่ สวีเดน และ อังกฤษ ที่มีความชัดเจนในการมีมุมมองแบบใหม่ๆ ต่อโควิด-19 โดยมุ่งที่จะอยู่ร่วมกับโควิด-19 ให้ได้ เพราะยังมี ฝรั่งเศส , เดนมาร์ก ,โปรตุเกส , สเปน และ สวิตเซอร์แลนด์ ที่มีมาตรการผ่อนคลายต่อโควิด-19 อาทิ ใครอาการน้อยก็ทำการกักตัวที่บ้านได้ และแทบไม่สนตัวเลข ยอดผู้ติดเชื้ออีกแล้ว และพยายามมอง และ ปฏิบัติต่อโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น นั่นเอง
ปัจจุบัน ยอดรวมผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมทั่วโลก ทะลุ 400 ล้านคนแล้ว ขณะที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุ ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิดทั่วโลก เพิ่ม 500,000 คน และผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 130 ล้านคนทั่วโลก หลังจาก โอไมครอน ระบาด แม้ WHO พยายามเตือนทั่วโลกเสมอๆว่าอย่าประมาท แต่ดูเหมือน หลายๆประเทศ จะมีมุมมองที่เปลี่ยนไปแล้ว เพราะหาก กลัวมากเกินไป และมีมาตรการตึงเครียด รัดแน่นเกินไปต่อโควิด ในขณะที่ผู้คนก็รับวัคซีนไปจำนวนมากแล้ว ทุกอย่าง ทุกปัจจัย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ชีวิต และ ปากท้องของผู้คน ก็จะไม่ "ฟื้นตัว" เสียที