svasdssvasds

ศูนย์พิษวิทยา เตือน อย่ากินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มา อาจคลื่นไส้ เวียนศีรษะ

ศูนย์พิษวิทยา เตือน อย่ากินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มา อาจคลื่นไส้ เวียนศีรษะ

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมีเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) ในหลายจังหวัด เนื่องมาจากมีประวัติกินไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ

ศูนย์พิษวิทยา เตือน อย่ากินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มา อาจคลื่นไส้ เวียนศีรษะ

ทางศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี จึงออกมาเตือนให้ระมัดระวังไม่ควรกินไส้กรอกที่ไม่รู้ที่มาที่ไป จากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือโดยอาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต

ภาวะ Methemoglobin เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดช์โดยสารออกซิแดนท์ต่างๆ กลายเป็นmethemoglobin ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ

ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจนเช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้

โดยสารออกซิแดนท์ที่อาจมีการเติมในไส้กรอกหรืออาหารแปรรูปคือสารตระกูล ไนเตรท และไนไตรท ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ. 2547) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้โซเดียมไนไตรทและโซเดียมไนเตรทในอาหารได้ไม่เกิน 125 และ 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนไตรต์และโซเดียมไนเตรตให้มีปริมาณรวมกันได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ในการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีการเติมสารไนเตรท-ไนไตรท เยอะกว่าปกติ หรืออาจผสมไม่ดีทำให้มีบางส่วนมีปริมาณสารสูงเกินกว่าที่ควรได้ โปรดเฝ้าระวังการบริโภคไส้กรอกจากแหล่งที่ไม่แน่ชัดหรือไม่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะในเด็กเนื่องจากเด็กจะไวต่อสารกลุ่มนี้มากกว่าผู้ใหญ่ หากมีอาการผิดปกติ ควรไปตรวจที่ รพ. หากทาง รพ. สงสัยภาวะ methemoglobinemia สามารถปรึกษา ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดีได้ที่ 1367 ตลอด 24 ชั่วโมง

ขณะนี้ทางศูนย์​ฯ​ ประสานกองระบาดวิทยา​ กรมควบคุมโรค​ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อดำเนินการสืบค้นแหล่งที่มาของการระบาดเพิ่มเติมแล้ว

ปกติร่างกายคนเราได้รับสารออกซิแดนต์ในขนาดน้อยๆจากแหล่งต่างๆอยู่แต่ไม่เกิดปัญหาเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติได้แต่หากมีปริมาณ methemoglobin สูงมากๆ (ได้รับสารออกซิแดนท์เยอะเกินไป) ร่างกายจะเปลี่ยน methemoglobin คืนเป็นฮีโมโกลบินปกติไม่ทัน นำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน

ในเด็กความสามารถในการเปลี่ยน methemoglobin กลับเป็นฮีโมโกลบินปกติจะน้อยกว่าในผู้ใหญ่ เด็กจึงเกิด methemoglobin ได้ง่ายกว่า 

การตรวจเบื้องต้นจะพบว่าระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วจะต่ำอาจต่ำ 80-85% ได้ แต่เมื่อเจาะตรวจ arterial blood gas จะพบว่าระดับออกซิเจนอยู่ในระดับปกติ เรียกความแตกต่างของการพบระดับออกซิเจนที่ต่างกันจาก การตรวจทั้งสองวิธีว่า oxygen saturation gap ซึ่งอาจพบในภาวะอื่นได้ด้วย

ในที่ๆ ตรวจ arterial blood gas ไม่ได้ สามารถทำ bedside test โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำของผู้ป่วยมาพ่นออกซิเจน 2 LPM นาน 2 นาที ในคนปกติเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อได้รับออกซิเจน แต่หากเป็นผู้มี methemoglobin เลือดจะยังคงเป็นสีดำ

การตรวจยืนยันจำเพาะ สามารถระดับ methemoglobin ด้วย co-oximeter (ในเครื่อง arterial blood gas บางรุ่นจะพัฒนาการตรวจส่วนนี้เข้าไปด้วย)  

การรักษาคือหยุดการได้รับสาร ให้ออกซิเจน และในรายที่รุนแรงอาจาพิจารณาใช้ยา methylene blue (มีในระบบยาต้านพิษ) ในผู้ป่วยบางรายอาจมีเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงจากการได้รับสารออกซิแดนท์ร่วมด้วยต้องมีการติดตามระดับเกลือแร่ ให้สารน้ำและเลือดทนแทน