ศบค.เผย พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเสียชีวิตเป็นรายที่ 2 เป็นเพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา จ.อุดรธานี มีโรคประจำตัว มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน
หลังจากที่วานนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา รายงาน พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดโอไมครอนเสียชีวิตเป็นรายแรกของจังหวัด เป็นผู้ป่วยติดเตียงเพศหญิงวัย 86 ปี จากอำเภอหาดใหญ่ ติดเชื้อจากคนภายในครอบครัว มีประวัติการฉีดวัคซีนไฟเซอร์แล้ว 2 เข็ม
ไทม์ไลน์ผู้เสียชีวิต “โอไมครอน” รายที่ 1 จ.สงขลา
• ผู้ป่วยป่วยติดเตียง-อัลไซเมอร์
• ฉีดวัคซีน Pfizer 2 เข็ม
• รับเชื้อจากหลานชายมาจาก จ.ภูเก็ต ติดเชื้อโอไมครอน
• 6 ม.ค. มีไข้ เสมหะ เข้ารักษารพ.หาดใหญ่
• 7 ม.ค. ไข้สูง 38.5 องศา ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้แผนก CICU
• 12 ม.ค. เสียชีวิต ยืนยันสายพันธุ์โอไมครอน
ทั้งนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย รายงานข้อมูลเบื้องต้น สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันที่ 17 ม.ค. มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 6,929 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยจากในประเทศ 6,720 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 209 ราย
ผู้ป่วยสะสม 107,979 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้านเพิ่ม 5,255 ราย
หายป่วยสะสม 58,772 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 82,210 ราย
เสียชีวิตเพิ่ม 13 ราย
ด้านกรมควบคุมโรครายงานผลตรวจ ATK วันนี้เพิ่มเติมว่า พบผู้ติดเชื้อเข้าข่ายเพิ่ม 1,740 ราย รวมสะสม 404,794 ราย ร้อยละของการตรวจพบเชื้ออยู่ที่ 9.16% ส่วนผู้ป่วยกำลังรักษาตัวมีอยู่ 82,210 ราย อยู่ในโรงพยาบาล 45,771 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 36,439 ราย อาการหนักมีจำนวน 533 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 108 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• ผู้ป่วยโควิดโอไมครอน เสียชีวิตรายแรก!
• โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่ม 6,929 ราย เสียชีวิต 13 ราย
• "หมอเฉลิมชัย" เผย 9 ปัจจัย เหตุใดไทยเอาโควิด "โอไมครอน" อยู่ แตกต่างจากยุโรป
ล่าสุด ศบค.ได้รายงานเพิ่มเติมว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เสียชีวิตเป็นรายที่ 2 ของประเทศ เป็นเพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี มีโรคประจำตัว มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน ประวัติเสี่ยง เป็นผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19
ไทม์ไลน์ผู้เสียชีวิต “โอไมครอน” รายที่ 2 จ.อุดรธานี
• 9 ม.ค.2565 : ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR เนื่องจากเป็น HRC ของลูกชาย (รายที่ 21745)
• 10 ม.ค.2565 : ผลตรวจ Detected โรงพยาบาลประสานเพื่อ Admit ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล แพทย์อนุญาติให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ แพทย์ให้ start Favipiravir ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัด อุณหภูมิร่งกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้ ซึ่งก่อนติดเชื้อโควิดลูกชายที่ดูแลแจ้งว่าค่ออกซิเจนปลายนิ้วก็อยู่ระหว่างช่วงดังกล่าว ผู้ป่วยไม่มีเหนื่อย หายใจไม่หอบ
• 11-12 ม.ค.2565 : ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีใข้
• 13-14 ม.ค.2565 : ผู้ป่วยรับประทานได้น้อยลง ไม่มีหายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%
• 15 ม.ค.2565 : ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ ค่าออกชิเจนปลายนิ้ว <76% เปลี่ยนออกซิเจนจาก cannular เป็น mask c bag ให้ออกซิเจนปลายนิ้ว 90% ประสานผู้ป่วยนำส่งโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แพทย์ให้เพิ่ม favipiravir จาก 5 วันเป็น 10 วัน และเพิ่ม Morphine ให้เนื่องจากยาเดิมหมด
• เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยลง หายใจหอบลึก และคลำชีพจรไม่ได้ หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตเวลา 19.45 น. รวมระยะเวลารักษา Home Isolation 6 วัน