นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตอนนี้ยังมีเตียงโควิดว่างสำหรับรองรับผู้ป่วยได้ 23,686 เตียง จากอัตราครองเตียงที่มีอยู่ อัตราครองเตียงทั้งหมดถูกใช้ไปแล้วร้อยละ 25.3
นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตอนนี้เหลือ เตียงว่าง สำหรับรองรับผู้ป่วยได้อีกกว่า 20,000 เตียง จาก อัตราครองเตียง ที่มีอยู่ อัตราครองเตียงทั้งหมดถูกใช้ไปแล้วร้อยละ 20
โดยตามนโยบายจะให้ผู้ป่วยอาการสีแดง และสีเหลืองก่อน ส่วนผู้ป่วยในกรณีสีเขียว คือผู้ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลย ไม่มีโรคประจำตัวและอายุน้อยกว่า 75 ปี ให้กักตัวรอดูอาการอยู่ที่บ้าน (home isolation) แทน ซึ่งในวันที่ 4 มกราคม ได้มีการให้คำแนะนำแนวทางการดูแลตัวเองที่บ้านไว้เพิ่มเติม ดังนี้
คำแนะนำการปฏิบัติตัว กรณะผู้ติดเชื้อ COVID-19 กักตัวที่บ้าน
-ไม่ให้บุคคลอื่นมาเยี่ยม
-อยู่ในห้องส่วนตัวตลอดเวลา
-หากจำเป็นต้องเข้าใกล้ผู้อื่น ต้องสวมหน้ากากอนามัยและอยู่ห่างอย่างน้อย 1 เมตร
-ไอจาม (กรณีสวมหน้ากากอนามัยอยู่ ไม่ต้องเอามือมาปิดปาก) หากไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก
-ถูมือด้วยเจลแอลกอฮอลล์หรือล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ
-ให้นมบุตรได้ (กรณีมารดาให้นม)
-ใช้ห้องน้ำแยกจากผู้อื่น
-การทำความสะอาดห้องน้ำและโถสุขภัณฑ์ ด้วยน้ำและ 5 % โซเดียมไฮโปคลอไลด์
-แยกสิ่งของส่วนตัวไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
-ไม่ร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น
-ซักเสื้อผ้า ผ้าปูเตียง ผ้าขนหนู ฯลฯ ด้วยน้ำและสบู่ หรือ ผงซักฟอก
-ทิ้งหน้ากากอนามัยและขยะปนเปื้อนในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้สนิทก่อนทิ้ง
สำหรับเกณฑ์ในการนำส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อเข้าโรงพยาบาล มีดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ระยะนานกว่า 24 ชั่วโมง
- หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่
- ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94
- มีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
- สำหรับเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ซึมลง ดื่มนมหรือทานอาหารได้น้อย
โดยผู้ที่ไม่สามารถกักตัวในบ้านได้ให้ติดต่อ community isolation หรือ ศูนย์พักคอยชุมชน ซึ่งในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตน์ และโรงพยาบาลเลิดสิน ที่มีการเปิดเป็นศูนย์ประสานงานสำรองของกรมการแพทย์