นักลงทุนทั้งหลายฟังทางนี้ วันนี้จะพามารู้จัก ภาษีคริปโทเคอร์เรนซี เก็บอย่างไร ใครมีหน้าที่เสีย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของไทยมาก ล่าสุดกรมสรรพากร ออกโรงชี้แจงแล้วว่า เงื่อนไขอะไร ยังไง ติดตามบทความ
ปี 2565 เรื่องของภาษีคริปโทเคอร์เรนซี มีการพูดถึงกันมาก โดยเฉพาะนักลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหลายต่างจับตามองว่า สรุปแล้วจะมีการเก็บภาษีในรูปแบบไหน เกณฑ์อะไร แล้วจะเยอะหรือน้อย คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ เชื่อว่านักลงทุนกำลังคิดอยู่ในหัว แต่ … ในแง่ของการจัดเก็บภาษีเข้ารัฐเพื่อนำเงินไปบริหารส่วนต่าง ๆ ของประเทศก็เป็นสิ่งที่ดี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กรมสรรพากร ให้ใส่ข้อมูลเงินได้จาก "คริปโทเคอร์เรนซี" ในแบบยื่นภาษีแล้ว
เทรนด์ใหม่มาแรง! วัยรุ่นเจน Z มอบ "คริปโท" เป็นของขวัญคริสต์มาส-ปีใหม่
รวมศัพท์ Defi การเงินดิจิทัลควรต้องรู้ ก่อนจะเทรดคริปโต Bitcoin Eth Mana ADA
ใครที่ต้องเสียภาษีคริปโทเคอร์เรนซี
ล่าสุด เรื่องของภาษีคริปโทเคอร์เรนซี ได้รับการชี้แจงจาก ‘นายมงคล ขนาดนิด’ ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมสรรพากร ออกมาชี้แจงว่า คริปโทเคอร์เรนซี หรือสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นทรัพย์สินอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง โดยผู้ที่เกี่ยวข้องจะเริ่มต้นจากคนทำเหมือง คนที่ได้เหรียญถือไว้แล้วนำไปฝาก เกิดผลตอบแทนกลับมา หรือแม้วกระทั่งนำเหรียญไปเปลี่ยนมือ ขายออกมา แล้วได้ทรัพย์สินมา โดยสรุปได้ว่ากลุ่มคนท่าจะเสียภาษีมีดังนี้
1.กลุ่มคนทำเหมือง หรือขุดบิทคอยน์
2.กลุ่มคนเทรดเหรียญ
ส่วนหลักการคำนวณภาษีเงินได้ภาษีคริปโทเคอร์เรนซี เป็นดังนี้
-คำนวณเหมือนภาษีอื่น
-หากมีกำไรจากการขายทั้งปี 200,000 บาท ไม่ได้มีรายได้อื่น ยื่นแบบเสียภาษี ไม่มีภาษีต้องจ่าย
-คำนวณภาษี นำเงินได้พึงประเมินตั้ง แล้วเอาผลตอบแทนกำไรจากการขาย หรือ 200,000 บาทตั้ง หักด้วยค่าใช้จ่าย
-หากค่าใช้จ่ายเป็น 0 สามารถหักลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ก็เหลือ 140,000 บาท
-หากเหลือเงินได้สุทธิต่ำกว่า 150,000 บาท จะได้รับการยกเว้นจากจ่ายภาษี
รูปแบบการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีคริปโทเคอร์เรนซี
-จากเดิมเงินได้ตามมาตรา 40 (8) เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (4)
-กำหนดให้คนที่จ่ายเงินค่าซื้อคริปโทฯมีหน้าที่ต้องหักภาษี อัตรา 15%
-หลักการการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย คือ
1.คนรับเงินมีหน้าที่เสียภาษี
2.ต้องมีเงินได้พึงประเมิน (หรือกำไร) ซึ่งเงินได้มาจากการจำหน่ายจ่ายโอนคริปโทฯ คือ เงินส่วนที่ตีราคาได้เกินกว่าทุน