กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันยังไม่พบผู้สัมผัสใกล้ชิดชาวอเมริกันติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" ขณะที่ข้อมูลโอไมครอนนั้นมีระยะฟักตัวสั้นกว่า แพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า
จากกรณีที่เจ้าหน้าที่โรงแรมที่เป็นผู้ส่งอาหารให้กับชายต่างชาติที่ติดเชื้อโอไมครอน ได้ดำเนินการสอบสวนโรค กับเจ้าหน้าที่โรงแรมรายดังกล่าว พร้อมกับนำผลบวกนั้น ไปตรวจสอบว่าเป็นเชื้อโอไมครอนหรือไม่นั้น
ล่าสุด นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุถึงความคืบหน้าของผู้ติดเชื้อโควิดชาวอเมริกันสายพันธุ์โอไมครอนในไทย จากการสอบสวนโรค พบมีผู้สัมผัสเสี่ยง แบ่งเป็น จากโรงแรมที่ชายชาวอเมริกัน 17 คน ผลตรวจหาเชื้อเป็นลบ 16 คน ส่วนอีก 1 คน เป็นพนักงานเสิร์ฟอาหาร มีประวัติเดินทางไปจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้ให้พื้นที่ทำการตรวจเชื้อโควิด ส่วนกลุ่มผู้สัมผัสในสนามบิน ได้ตรวจเชื้อ พนักงานในสนามบิน 2 คน ผลตรวจหาเชื้อเป็นลบ 2 คน
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่เป็นพนักงานเสิร์ฟ พบว่าเป็นชายไทยอายุ 44 ปีสัญชาติไทยไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีอาการป่วยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนาก้าครบ 2 เข็ม
วันที่ 29 - 30 พ.ย. 64 หยุดอยู่บ้าน มีไปตลาดปากซอยหมู่บ้านที่กรุงเทพฯ
1 ธ.ค. 64 เวลา12.00 น. เดินทางไปทำงานที่โรงแรม เวลา 21.30 น เสริฟอาหารให้กับผู้เดินทางชาวอเมริกันและให้เซ็นเอกสารโดยใส่หน้ากากอนามัยทั้งคู่ หลังออกจากห้องกัก ได้ทำความสะอาดอุปกรณ์
2 ธ.ค. 64 เวลา 18.00 น ถึง 20:00 น ปฏิบัติงานด้านเอกสารที่โรงแรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
• “อนุทิน” แจง ผู้สัมผัสติดโอไมครอนเพิ่ม ชี้เป็นหางเชื้อ ขออย่าตระหนก
• ด่วน! เด็กเสิร์ฟสัมผัสผู้ป่วย "โอไมครอน" ติดโควิด 1 ราย รอผลสายพันธุ์
• หมอโอภาส เผย "โอไมครอน" ติดง่าย แต่เชื้ออ่อนแรง แนะ "ฉีดวัคซีน" ลดป่วย-ตายได้
3 ธ.ค. 64 เดินทางกลับบ้านจังหวัดอุบลราชธานีพร้อมครอบครัว 4 คนด้วยรถยนต์ส่วนตัว และรับญาติที่จังหวัดนครราชสีมา 1 คน มีแวะตลาดแถวบ้านใส่หน้ากากตลอดเวลา
4 ธ.ค. 64 อยู่บ้านตลอด และได้รับแจ้งว่าเป็นผู้สัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 เชื้อโอไมครอน
5 ธ.ค. 64 ถูกเก็บตัวอย่างเชื้อ และเลือดที่โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร และส่งตรวจเชื้อที่สถาบันบําราศนราดูรและกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
6 ธ.ค. 64 เดินทางกลับกรุงเทพฯ ทราบข่าวว่าผลตรวจหาเชื้อเบื้องต้นสงสัยเป็นบวก เข้ารับการรักษาที่สถาบันบําราศนราดูร และเข้ารับการตรวจด้วย RT-PCR
7 ธ.ค. 64 เมื่อ 12.00 น. ที่ผ่านมา ผลตรวจ RT-PCR ที่สถาบันบําราศนราดูร ยืนยันรอบ 2 ผลเป็นลบ ถือว่าไม่ติดเชื้อ แต่ก็ยังต้องกักตัว และรอทำการตรวจซ้ำอีกครั้ง
โดยผู้สัมผัสทั้งหมดจะถูกตรวจหาเชื้ออีกครั้งในวันที่ 13 -14 ธันวาคมนี้
ทั้งนี้สถานการณ์ติดเชื้อโควิค-19 ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา อยู่ในช่วงที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้โดยทางเข้าไทยตั้งแต่ 1 ถึง 6 ธันวาคม เข้ามาในระบบ Test and go จำนวน 110,079 มีรวมติดเชื้อ 18 คนอัตราการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 0. 2 เดินทาง ระบบ sandbox สะสมรวม 4,998 คนติดเชื้อ 1 คนอัตราการติดเชื้อ 0.02
ส่วนสถานการณ์ระบาดโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอน ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อ 54 ประเทศ ในจำนวนนี้ติดเชื้อในประเทศ 19 ประเทศ พบในผู้เดินทางเท่านั้น 35 ประเทศ และยังไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน รวมถึงยังไม่พบผู้ป่วยอาการ
ส่วนแนวโน้มโควิด-19 จะเปลี่ยนเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ นายแพทย์ จักรัฐ ระบุว่าโอไมครอนจะเป็นสัญญาณหนึ่งที่ดีว่า การติดเชื้ออาการจะไม่รุนแรง และจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์ที่เข้าไปสู่การเป็นโรคประจำถิ่นมากขึ้น ส่วนการป้องกัน การฉีดวัคซีนโควิดยังคงสำคัญที่จะต้องเร่งฉีดให้ครอบคลุม การใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และมาตรการสาธารณสุขต่างๆที่ยังคงต้องปฏิบัติไปก่อนจนกว่าสถานการณ์โรคจะเปลี่ยนไป
นายแพทย์จักรรัฐระบุเพิ่มเติม สำหรับสายพันธุ์โอไมครอนนั้นมีข้อมูลว่า สามารถแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลต้า ขณะที่มีระยะฟักตัวค่อนข้างสั้น 2-5 วัน แต่ก็ยังไม่มีข้อบ่งชี้ถึงอาการป่วยที่รุนแรงกว่าเดิม ส่วนของการเปิดรับนักท่องเที่ยวกลุ่ม Test and go ยังถือว่าเป็นมาตรการที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้
แต่ในอนาคตหากมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงมาตรการยกระดับเพิ่มเติมเนื่องจากการเปิดประเทศถือว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการับผู้เดินทางที่อาจมีการติดเชื้อได้