ไม่ยุติธรรมเอาซะเลย เสียงบ่นของนักวิจารณ์ในเมียนมา กล่าวถึงกรณีศาลพิจารณาคดีสั่งตัดสินโทษจำคุกแก่นาง อองซาน ซูจี ข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้ง
ศาลเมียนมาซึ่งปกครองโดยกองกำลังทหาร สั่งจำคุก 4 ปี ผู้นำอองซาน ซูจีที่ถูกโค่นอำนาจลงในวันจันทร์นี้ ด้วยข้อหายุยงปลุกปั่นให้เกิดความขัดแย้งและฝ่าฝืนมาตรการด้านการป้องกันไวรัสโคโรนาภายใต้กฎหมายภัยธรรมชาติ แหล่งข่าวที่ประจำอยู่ที่ศาลพิจารณาคดีระบุว่า ในกรณีนี้นักวิจารณ์มองว่าเป็นเรื่องที่น่าตลก
นางอองซาน ซูจีเผชิญความผิดทั้งหมด 11 กระทง ซึ่งถูกประฌามกันเป็นวงกว้างว่ามันไม่ยุติธรรมเอาซะเลย และเธอเองก็ปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด เธอถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านของเธอตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งทำให้เกิดการล้มล้างรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของเธอเอง ผู้ที่สนับสนุนเธอไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการรัฐประหารนี้แต่ยังไม่แน่ชัดว่านางอองซาน ซูจีจะถูกจำคุกเมื่อไหร่หรือจำคุกหรือไม่ นอกจากนี้จำเลยร่วม วิน มินต์ (Win Myint) อดีตประธานาธิบดีแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซาน ซูจี ก็ถูกจำคุกด้วยเช่นกันและพร้อมกันในเวลา 4 ปี ภายใต้ข้อกล่าวหาเดียวกันทั้งหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตัดสินแล้ว! นักข่าวชาวอเมริกันถูกสั่งจำคุก 11 ปีโดยกองทัพเมียนมาร์
จับ 2 เมียนมา ถูกพ่อค้าอาวุธในไทยจ้างวาน คิดลอบสังหารทูต U.N. ที่เคยชู 3 นิ้ว
ไทยแจงงดออกเสียง มติUN ห้ามค้าอาวุธให้เมียนมา ชี้อยากให้เปิดโต๊ะเจรจา
สหประชาชาติร่วมร้องขอให้กองทัพเมียนมาร์ปล่อยตัว "อองซาน ซูจี"
ลิซ ทรัส (Liz Truss) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของสหราชอาณาจักรได้ออกมาประฌามการพิจารณาคดีดังกล่าว และเรียกร้องให้เมียนมาปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด และอนุญาตให้กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยได้แล้ว
“การกักขังนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งตามอำเภอใจ ยิ่งจะสร้างความเสี่ยงต่อความไม่สงบมากขึ้นเท่านั้น”
และกลุ่มสิทธิมนุษยชนแอมเนสตี้ (Amnesty International) เรียกข้อกล่าวหาดังกล่าวว่า “หลอกลวง” โดยกล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างล่าสุดของความมุ่งมั่นของทหารที่พยายามจะขจัดการต่อต้านของประชาชนและเสรีภาพในเมียนมาให้หมดสิ้นไป
ทั้งนี้ นางอองซาน ซูจี มีกำหนดขึ้นศาลในวันที่ 14 ธันวาคมนี้ ซึ่งเธอจะต้องเผชิญกับข้อหาครอบครองเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุที่ผิดกฎหมายด้วย
เมียนมาอยู่ในความสับสนอลหม่านนับตั้งแต่การทำรัฐประหารต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนางอองซาน ซูจี ซึ่งได้จุดฉนวนให้เกิดการประท้วงที่รุนแรงไปทั่วประเทศและก่อให้เกิดความกังวลด้านการต่างประเทศเกี่ยวกับการยุติการปฏิรูปการเมืองเบื้องต้น ภายหลังการปกครองโดยทหารที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมานานหลายทศวรรษ
นางอองซาน ซูจี เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ด้วยวัย 76 ปี ที่ถูกควบคุมตัวไว้ตั้งแต่เกิดรัฐประหารพร้อมกับผู้นำสูงสุดของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของเธอ ซึ่งมีคนอื่นๆกำลังอาศัยหรือหลบซ่อนอยู่ต่างประเทศ อีกทั้งยังไม่มีโฆษกพรรคไหนแสดงความคิดเห็น
ริชาร์ด ฮอร์ซี (Richard Horsey) ผู้เชี่ยวชาญชาวเมียนร์มาจาก International Crisis Group Think Tank กล่าวว่า
“ข้อหาดังกล่าวเป็นเรื่องน่าหัวเราะ มันถูกออกแบบมาเพื่อแก้แค้นผู้นำที่ได้รับความนิยมชมชอบ ดังนั้น คำตัดสินว่ามีความผิดและโทษจำคุกที่ได้รับมานั้น มันไม่น่าแปลกใจเลย”
โฆษกกองทัพไม่ตอบสนองต่อความพยายามของสำนักข่าว Reuters ที่พยายามจะติดต่อเพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการพิจารณาคดี ที่กำลังมีการรายงานอย่างกว้างขวางในสื่อต่างประเทศหลายสำนัก
กองทัพไม่ได้ให้รายละเอียดว่าอองซาน ซูจีถูกควบคุมตัวที่ไหนและไม่ชัดเจนในทันทีว่าการพิจารณาคดีจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทันที
การพิจารณาคดีในกรุงเนปิดอว์ เมืองหลวงของเมียนมา และสื่อถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงและช่องข้อมูลสาธารณะของรัฐบาลทหารไม่ได้กล่าวถึงการดำเนินการดังกล่าว รวมทั้งทนายความของอองซาน ซูจีถูกห้ามไม่ให้สื่อสารกับสื่อและสาธารณชน
อองซาน ซูจีต้องเผชิญกับคดีหลายสิบคดี ซึ่งรวมถึงข้อหาคอรัปชั่นหลายกระทง บวกกับการละเมิดกฎหมายความลับของรัฐ กฎหมายโทรคมนาคม และระเบียบเกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดมากกว่า 1 ศตวรรษ
ที่มาข้อมูล